Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กฎ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กฎ, 819 found, display 351-400
  1. พนักงานอัยการ : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่น ผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้; ข้าราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดผู้มี อำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ในฐานะทนาย แผ่นดิน, อัยการ ก็เรียก.
  2. พยานบอกเล่า : (กฎ) น. พยานบุคคลซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้เรื่องมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น. (อ. hearsay evidence).
  3. พยานบุคคล : (กฎ) ดู พยาน.
  4. พยานวัตถุ : (กฎ) น. วัตถุที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. material evidence).
  5. พยานหลักฐาน : (กฎ) น. บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยัน หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง. (อ. evidence).
  6. พยานเอกสาร : (กฎ) น. เอกสารที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. documentary evidence).
  7. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร ศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาล ยุติธรรมต่าง ๆ.
  8. พระราชกฤษฎีกา : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.
  9. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  10. พระราชบัญญัติ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย คําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา.
  11. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่ รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวน การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการ ตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
  12. พระราชาคณะ : (กฎ) น. พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มี สมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ.
  13. พรากเด็ก : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอัน สมควร.
  14. พรากผู้เยาว์ : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน ๑๕ ปี แต่ยังไม่เกิน ๑๘ ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย.
  15. พฤตินัย : (กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure).
  16. พันธบัตร : (กฎ) น. เอกสารหลักทรัพย์ชนิดหนึ่งที่ออกโดยรัฐบาล หรือนิติบุคคล แสดงการเป็นหนี้ระยะยาวที่กู้จากบุคคลทั่วไป. พันธมิตร น.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่จะช่วยเหลือกันตาม สนธิสัญญาที่ทําไว้ เพื่อร่วมรบหรือเพื่อการป้องกันร่วมกัน.
  17. พิกัดอัตราศุลกากร : (กฎ) น. กําหนดจํานวนเงินอากรที่เรียกเก็บจาก ของที่ส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาออก หรือของที่นําหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาเข้า.
  18. พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  19. พิธีสาร : (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตราสารอันบรรจุไว้ซึ่งความตกลงที่มีความสําคัญรองลงมาจาก สนธิสัญญาและอนุสัญญา โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายหรือแก้ไข เพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา. (อ. protocol).
  20. พินัยกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งบุคคลแสดงเจตนากําหนดการเผื่อ ตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็น ผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).
  21. พิพากษา : (กฎ) ก. ตัดสินคดีโดยศาล, เรียกตุลาการผู้ทำหน้าที่ตัดสินดังกล่าว ว่า ผู้พิพากษา, เรียกคำตัดสินนั้นว่า คำพิพากษา. (ส. วิวกฺษา ว่า ความสำคัญ).
  22. ฟ้องแย้ง : (กฎ) ก. การที่จําเลยฟ้องโจทก์มาในคําให้การในเรื่องที่ เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมของโจทก์. น. คําฟ้องแย้ง.
  23. ภาระจำยอม : (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จําต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้อง งดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจํายอม.
  24. ภาษีบำรุงท้องที่ : (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของ เอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ ทางราชการได้ประกาศกําหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.
  25. ภาษีมูลค่าเพิ่ม : (กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคล ที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นใน แต่ละขั้นตอนของการผลิต การจําหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจํานวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).
  26. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มี กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตาม ค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
  27. มอบอำนาจ : (กฎ) ก. มอบหมายให้มีอํานาจจัดการหรือทําการแทน.
  28. มัดจำ : (กฎ) น. สิ่งที่ให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทําสัญญา กันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย.
  29. มูลคดี : (กฎ) น. เหตุแห่งคดี; เหตุที่ทำให้คดีเกิดขึ้น.
  30. มูลประกันภัย : (กฎ) น. ราคาทรัพย์ที่กำหนดในการเอาประกันภัย.
  31. โมกษะพยาน : (กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรใน พระพุทธศาสนาซึ่งไม่จําต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยาน ก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบ คําถามใด ๆ ก็ได้.
  32. โมฆกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่า ขึ้นกล่าวอ้างก็ได้, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.
  33. โมฆียกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่ เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.
  34. ยกฟ้อง : (กฎ) ก. พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคําฟ้อง ของโจทก์.
  35. ยอมความ : (กฎ) ก. ตกลงระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อน คดีถึงที่สุด.
  36. ยาเคี้ยว : (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว.
  37. ยาแผนโบราณ : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรค ศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
  38. ยาแผนปัจจุบัน : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์.
  39. ยาสมุนไพร : (กฎ) น. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ.
  40. ยาสามัญประจำบ้าน : (กฎ) น. ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน.
  41. ยาเส้นปรุง : (กฎ) น. ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ.
  42. ยาเสพติดให้โทษ : (กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้า สู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสําคัญ เช่นต้องเพิ่ม ขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดย ทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือ ให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่.
  43. ยาอัด : (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยาสูบซึ่งได้ป่นหรือย่อยและ ทําเป็นแผ่นโดยมีวัตถุอื่นเจือปนด้วยหรือไม่ก็ตาม.
  44. ยึดทรัพย์ : (กฎ) ก. การที่เจ้าพนักงานเอาทรัพย์สินไปจากการครอบครอง ของบุคคล เพราะเหตุที่กระทําการฝ่าฝืนกฎหมายหรือเพื่อบังคับคดี.
  45. ยุทธภัณฑ์ : (กฎ) น. อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สาร รังสี หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนําไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้.
  46. เยาวชน : (กฎ) น. บุคคลอายุเกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์.
  47. รถฉุกเฉิน : (กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหาร ส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟ สัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณ อย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกําหนด.
  48. รถโดยสารประจำทาง : (กฎ) น. รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่ กําหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็น ระยะทางหรือตลอดทาง.
  49. รถไฟฟ้า : (กฎ) น. รถที่พ่วงกันเป็นขบวนยาวโดยขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แล่นไปตามราง.
  50. ร้องสอด : (กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาล ด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมาย เรียกให้เข้ามาในคดี.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-819

(0.0351 sec)