Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แสดง , then สดง, แสดง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แสดง, 830 found, display 51-100
  1. กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
  2. กลอนบทละคร : น. กลอนเล่าเรื่อง ใช้เป็นบทแสดง วรรคแรกจะต้อง ขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น หรือ มาจะกล่าวบทไป.
  3. กลอนเพลงยาว : น. กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรัก หรือเล่าสู่กันฟัง เป็นต้น ขึ้นต้นด้วยวรรครับหรือวรรคที่ ๒ ของบท.
  4. กลางแปลง : ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง.
  5. กล้ำกลืน : ก. ฝืนใจ, อดกลั้นไม่แสดงให้เห็น.
  6. ก้อ ๑ : ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ.
  7. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  8. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้.
  9. ก่อหวอด : ก. เริ่มจับกลุ่มเพื่อทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมี เนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ. (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน). ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ). ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ.
  10. กะแต่ว : ว. แสดงลักษณะของการร้องหรือการทวงสิ่งของบ่อย ๆ ว่า ร้องกะแต่ว ๆ.
  11. กะลิ้มกะเหลี่ย : ว. แสดงอาการให้รู้ว่าอยากได้.
  12. กะโล่ : น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้น้ารั่วออก สําหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้น แล้วหุ้มผ้าหรือทําด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่. (รูปภาพ กะโล่)
  13. กะหลีกะหลอ : ก. แสดงกิริยาท่าทางหรือพูดจาประจบประแจงเกินงาม.
  14. กัณฑ์เทศน์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือ สิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.
  15. กัดฟัน : ก. เอาฟันต่อฟันกดกันไว้แน่น เป็นอาการแสดงถึง ความอดกลั้น, โดยปริยายหมายความว่า มานะ; ขบฟันใน เวลานอนหลับ.
  16. กัน ๒ : ว. คําประกอบท้ายกริยาของผู้กระทําตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงการกระทําร่วมกัน อย่างเดียวกันหรือต่อกัน เช่น คิดกัน หารือกัน.
  17. กันท่า : (ปาก) ก. แสดงกิริยาอาการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นกระทําการ อย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก.
  18. การ์ตูน ๑ : น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจ ล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆมีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.
  19. การเปรียญ : [-ปะเรียน] น. เรียกศาลาวัดสําหรับพระสงฆ์แสดงธรรมว่า ศาลาการเปรียญ.
  20. การละเล่น : น. มหรสพต่าง ๆ, การแสดงต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง.
  21. การิตวาจก : [การิดตะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นการิตการกหรือผู้รับใช้, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็นการิตการก คือ เป็นผู้ถูกใช้ กริยาของการิตวาจกใช้กริยานุเคราะห์ ''ถูก'' ''ถูก-ให้'' หรือ ''ถูกให้'' เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างให้ทํางาน.
  22. กาลจักร : [กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา กินเนื้อสัตว์ พร่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).
  23. กิตติกรรมประกาศ : น. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและ แสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements).
  24. กินปูนร้อนท้อง : (สํา) ก. ทําอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง.
  25. เกม ๑ : น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วย การแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. (อ. game).
  26. เกรี้ยวกราด : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, กราดเกรี้ยว ก็ใช้.
  27. เกรี้ยว, เกรี้ยว ๆ : [เกฺรี้ยว] ว. อาการที่แสดงความเดือดดาลหรือโกรธมาก เช่น อนิจจามาร้องอยู่เกรี้ยว ๆ. (มโนห์รา).
  28. เกล้า : [เกฺล้า] น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย.
  29. เก้อ : ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่ เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
  30. เกินไป : ว. คําประกอบท้ายคําวิเศษณ์ เพื่อเน้นความหมาย แสดงว่าเกินกําหนด เกินพอดี เช่น กินมากเกินไป ดีเกินไป สุกเกินไป.
  31. เกินเลย : ก. แสดงกิริยาวาจาต่อผู้อื่นโดยขาดสัมมาคารวะ, เหลื่อมล้ำทางจํานวน.
  32. เกี่ยวก้อย : (สำ) ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่.
  33. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  34. โก้ ๒, โก้หร่าน : ว. หรูหราภูมิฐาน (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ).
  35. โก๋เก๋ : ว. หรูหรางามเข้าที (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ).
  36. โกง : ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อไม่ยอมทําตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง. ว. โค้ง, ไม่ตรง, เช่น หลังโกง.
  37. ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้.
  38. ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
  39. ขยาย : [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยาย เข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทําให้กว้างใหญ่ ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทําให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์. ขยายขี้เท่อ (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
  40. ขยุกขยิก : [ขะหฺยุกขะหฺยิก] ก. ไม่อยู่นิ่ง ๆ ขยับไปขยับมา (ใช้ในอาการที่แสดง ถึงความไม่เรียบร้อย) เช่น นั่งขยุกขยิก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่เขียนไม่เรียบร้อย อ่านยากหรืออ่านไม่ออก เช่น เขียนลายมือขยุกขยิก.
  41. ขว้างข้าวเม่า : น. ประเพณีอย่างหนึ่ง เอามะพร้าวทั้งผลโยนไปยัง ที่เขากําลังทําข้าวเม่ากันอยู่ เพื่อแสดงว่าเอามะพร้าวมาขอแลกข้าวเม่า ไปกินบ้าง.
  42. ของไหว้ : น. ของที่ผู้น้อยนําไปให้ผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความคารวะ ในบางโอกาส; เครื่องเซ่น.
  43. ขอบคุณ, ขอบพระคุณ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคําที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).
  44. ขอบใจ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคํา ที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).
  45. ขายตามตัวอย่าง : (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขาย ทรัพย์สินตามที่ผู้ขายได้แสดงไว้.
  46. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  47. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  48. ขีด : ก. ใช้ของแหลมหรือมีดเป็นต้นทําให้เป็นเส้นหรือรอยยาว. น. แนวเส้น; ระดับ เช่น เกินขีด, ขีดขั้น ก็ว่า; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นเส้นหรือรอยยาว ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น มีรอย ๓ ขีด; (ปาก) เรียกเครื่องหมาย แสดงระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน เช่น ข้าราชการชั้นตรีที่บ่ามีขีดใหญ่ ๑ ขีด; เรียกน้ำหนัก ๑ ใน ๑๐ ของกิโลกรัมว่า ขีดหนึ่ง.
  49. ขึ้นทะเบียนทหาร : ก. แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุ ย่างเข้า ๑๘ ปี, ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกิน.
  50. ขึ้นนวล : ก. เกิดละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่า แก่จัด เช่น ใบตองขึ้นนวล มะม่วงขึ้นนวล ฟักขึ้นนวล.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-830

(0.0927 sec)