Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตั้งเค้า, เค้า, ตั้ง , then คา, เค้า, ตง, ตงคา, ตั้ง, ตั้งเค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตั้งเค้า, 837 found, display 151-200
  1. คอตั้ง : น. คอเสื้อที่มีขอบตั้งแนบไปกับลําคอ.
  2. คอนแวนต์ : น. สํานักชีในคริสต์ศาสนา, เรียกโรงเรียนซึ่งชีในสํานักนั้น ๆ ตั้งขึ้น และเป็นผู้ดําเนินการสอนว่า โรงเรียนคอนแวนต์. (ฝ. convent).
  3. คันฉ่อง : น. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับ ส่องหน้า; ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สําหรับเอนเข้าออกได้ ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.
  4. คันธารราษฎร์ : [-ทาระราด] น. ชื่อแคว้นโบราณ อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง สําหรับตั้งในพิธีขอฝนและแรกนาเป็นต้น. (ป., ส. คนฺธาร = ชื่อแคว้น + ส. ราษฺฏฺร = รัฐ, แคว้น).
  5. คั่ว ๑ : ก. เอาสิ่งของใส่กระเบื้องหรือกระทะตั้งไฟให้ร้อนแล้วคนไปจนสุก หรือเกรียม เช่น คั่วถั่ว คั่วงา, เรียกของที่คั่วแล้ว เช่น ข้าวคั่ว ถั่วคั่ว; เรียกแกงกะทิชนิดหนึ่งคล้ายแกงเผ็ด แต่มีรสออกเปรี้ยว ว่า แกงคั่ว เช่น แกงคั่วผักบุ้ง แกงคั่วมะระ.
  6. คา ๒ : ก. ค้างอยู่, ติดอยู่, เช่น ข้าวคาปาก คาถ้วยคาชาม. ว. ยังไม่พ้นไป จากที่นั้น ๆ เช่น ยืนคาประตู สุกคาต้น ตายคาที่.
  7. ค่าย : น. (โบ) ที่ตั้งกองทหาร มีรั้วล้อมรอบ; ที่ตั้งกองทหาร, ที่พักกองทัพ; ที่พักแรมชั่วคราวของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ค่ายลูกเสือ ค่ายผู้อพยพ; ฝ่ายที่มีความคิดเห็นแนวเดียวกัน เช่น ค่ายโลกเสรี. (อะหมว่า ล้อม).
  8. ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
  9. ค่ายอาสาพัฒนา : น. ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ ส่งเสริมหรือฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันบําเพ็ญประโยชน์ ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน.
  10. คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
  11. คำตั้ง : น. คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทําพจนานุกรม; คําที่เป็นหลักให้คําอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคําติดต่อ.
  12. คำเติม : น. คําที่เติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลัง ของคําตั้งใน ภาษาคําติดต่อ.
  13. คำทาย : น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคําว่า อะไรเอ่ย อยู่ข้างหน้าเสมอ เช่นอะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย.
  14. คืน ๑ : น. ระยะเวลาตั้งแต่ยํ่าคํ่าถึงยํ่ารุ่ง, เวลากลางคืน. คืนยังรุ่ง ว. ตลอดคืน.
  15. คุณนาม : [คุนนะ-] น. ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยถือเอาความดีเป็นหลัก เช่น พระปิยมหาราช; (ไว; เลิก) คําคุณที่มาใช้เป็นนาม เช่น ความดีความชอบ.
  16. คุณสมบัติ : [คุนนะสมบัด, คุนสมบัด] น. คุณงามความดี, คุณลักษณะ ประจําตัวของบุคคล เช่น คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง.
  17. คุมกำเนิด : ก. ควบคุมการเกิด, ป้องกันการตั้งครรภ์.
  18. คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
  19. คูหา : น. ถํ้า; สิ่งก่อสร้างเป็นห้อง ๆ อย่างตึกแถว แต่ละห้องเรียกว่า คูหา, ลักษณนามเรียกสิ่งก่อสร้างเช่นนั้น เช่น ตึกแถวนี้มี ๑๐ คูหา; โดย อนุโลมใช้เรียกช่องที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น คูหาลงคะแนนในที่เลือกตั้งสำหรับใช้ในการกาบัตร ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง.
  20. เครื่องเคียง : (ราชา) น. ของเคียง, ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกิน ประกอบกับอาหารบางชนิด.
  21. เครื่องทองทิศ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.
  22. เครื่องทองน้อย : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย.
  23. เครื่องห้า ๑ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้ บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า.
  24. เครื่องอังทราย : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถาดบรรจุ ทราย ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยวิธีตั้งสิ่งนั้น บนถาดทราย แล้วเผาก้นถาดให้ร้อนจัด. (อ. sand bath).
  25. เครื่องอังน้ำ : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้า ทําด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อน เหลื่อมกัน ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดย วิธีตั้งสิ่งนั้นบนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อน ส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
  26. เคี้ย : (ถิ่น; กลอน) ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวาร ทุกแห่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร).
  27. โคตรภู : [โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับ อริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนามีขนบธรรมเนียมห่าง จากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).
  28. โคน ๒ : น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้น บริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึง นํ้าตาลดํา ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไป ถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosus Heim.
  29. โคม : น. เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ, ตะเกียงเครื่อง ตามไฟ หรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับ แสงไฟเช่นนั้น ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า, ลักษณนามว่า โคม, ดวง, ใบ, ลูก, เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคม ว่า ชามโคม, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
  30. โครงเรื่อง : น. เค้าเรื่องที่กําหนดขึ้น.
  31. โคล ๑ : [โคน] น. ชนกลุ่มหนึ่งในประเทศอินเดียฝ่ายใต้ เช่น ผู้สืบสัมพันธ์ โคตรเค้าโคลตระกูล ทิชาเชื้อชาติธชีชูชก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  32. ฆ้องโหม่ง : น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ ในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลา กลางวันเป็นสัญญาณบอก ''โมง'' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลา กลางคืนบอก ''ทุ่ม''.
  33. งง : ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติ ไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างแรงเป็นต้น.
  34. ง่อน : น. ก้อนดินหรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป เช่น เงื้อมง่อน ว่า เงื้อมแห่งก้อนดิน หรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป.
  35. งอย ๑ : ก. อยู่หมิ่น, ตั้งอยู่หมิ่น, ห้อย.
  36. งัวเลีย ๑ : น. เรียกผมที่หน้าผากซึ่งตั้งชันขึ้นไปแล้วปลายย้อนกลับลงมา.
  37. งาแซง : น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปัก ตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นสําหรับตั้งกีดขวางทางเข้า ประตูค่ายเป็นต้น.
  38. โงง, โงงเงง : ก. โคลง, ไหว, ตั้งไม่ตรง, โยกโคลง, ตั้งอยู่ด้วยอาการไม่มั่นคง.
  39. จงกล : [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้าน ของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป. (รูปภาพ จงกล)
  40. จดจ้อง, จด ๆ จ้อง ๆ : ก. ตั้งท่าจะทําแล้วไม่ลงมือทําเพราะไม่แน่ใจ.
  41. จดหมัด : ก. ตั้งท่ามวย.
  42. จตุสดมภ์ : น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดย ตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  43. จบ ๑ : น. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน.
  44. จราง : [จะราง] (แบบ) ก. ผุดขึ้น เช่น ลางส่ำจรางมันผัน ม่ายม้า. (ยวนพ่าย). (ข. จฺรางว่า ตั้งขึ้น, ขนชัน).
  45. จอกหูหนู : น. ชื่อผักกูดนํ้าชนิด Salvinia cucullata Roxb. ในวงศ์ Salviniaceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า มีรากเป็นฝอยยาวคล้ายจอก ที่ต่างกับจอก คือ มีใบ ๒ ใบอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ตัวใบกลม สีเขียวแก่ โคนใบเว้าเข้า เล็กน้อย ตั้งชูขึ้นคล้ายหูหนู.
  46. จักรยาน : น. รถถีบ, ยานพาหนะประเภทรถที่มีล้อ ๒ ล้อ ล้อหนึ่งอยู่ข้างหน้า และอีกล้อหนึ่งอยู่ข้างหลัง มีโครงเหล็กเชื่อมล้อหน้ากับล้อหลัง มีคันบังคับ ด้วยมือติดตั้งอยู่บนล้อหน้า ขับเคลื่อนด้วยกำลังคนผู้ขี่ซึ่งใช้เท้าถีบบันไดรถ ให้วิ่ง เรียกว่า จักรยานสองล้อ, ถ้ามี ๓ ล้อ เรียกว่า จักรยานสามล้อ.
  47. จังก้า : ว. ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้, ลักษณะที่ตั้งปืนกลเป็นต้นเตรียม พร้อมที่จะยิง.
  48. จัตุสดมภ์ : [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัย โบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  49. จำแทง : (โบ) ก. เผ่นขึ้น, โผขึ้น, ตั้งขึ้น, ชูขึ้น, งอกขึ้น; ถืออาวุธร่ายรําท่าแทง, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง รำจำแทงองอาจ เผ่นผงาดขับสารสีห์. (ลอ).
  50. จิรัฐิติกาล : [จิรัดถิติ-] น. เวลายั่งยืน, เวลาที่ตั้งอยู่นาน. (ป. จิร + ??ติ + กาล).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-837

(0.0986 sec)