Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตั้งเค้า, เค้า, ตั้ง , then คา, เค้า, ตง, ตงคา, ตั้ง, ตั้งเค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตั้งเค้า, 837 found, display 251-300
  1. ฐิตะ : [ถิตะ] (แบบ) ก. ยืนอยู่, ตั้งอยู่แล้ว. (ป.).
  2. ฐิติ : [ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดํารงอยู่; การเป็นไป, ความมีชีวิต อยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่; ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).
  3. ดง ๒ : ก. เอาหม้อข้าวที่เช็ดนํ้าข้าวแล้วขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เพื่อให้ระอุ.
  4. ดล ๓ : [ดน] ก. ให้เป็นไป, ทําให้แล้ว, ตั้งขึ้น, เผอิญให้เป็นไป, บันดาลให้เป็นไป.
  5. ดะ ๒ : ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว ด ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับ คําเดิมนั้น เช่น ดะด่อน ดะดัก ดะดุ่ม.
  6. ดะโต๊ะยุติธรรม : (กฎ) น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม.
  7. ดั้ง ๑ : ด้าง ก็มี; เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับ อกไก่ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสําหรับรับอกไก่ว่า ดั้งแขวน; เรียก เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบ เรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งไชยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ ก็ได้ ว่า เรือดั้ง; ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและ, ล้อมทัพ ช้างกัน ก็เรียก. ก. ป้องกัน.
  8. ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
  9. ดิฐ ๑ : ก. ตั้งอยู่, คงอยู่, เหลืออยู่, พักอยู่, หยุดอยู่. (ป. ติฏฺ?).
  10. ดีดดิ้น : ก. เล่นตัว, ตั้งแง่ไม่ยอมทำหรือไม่ยอมให้ทำง่าย ๆ.
  11. ดุกลำพัน : น. ชื่อปลาชนิด Prophagorus nieuhofii ในวงศ์ Clariidae ครึ่งบน ของลําตัวมีจุดสีขาวเรียงอยู่ในแนวตั้ง ๑๓-๒๐ แถว พบทางภาคใต้ของ ประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร.
  12. เด่ : ว. ใช้ประกอบคํากริยาบางคําเพื่อเน้นความหมายว่า ตรง เช่น ชี้เด่ ตั้งเด่.
  13. โด่ : ว. ใช้ประกอบคํากริยาบางคําเพื่อเน้นความหมายว่า ตรงขึ้นไป หรือเด่น ตําตาอยู่ เช่น นั่งหัวโด่ ตั้งโด่.
  14. โดด ๒, โดด ๆ : ว. อันเดียวเด่น เช่น ตั้งอยู่โดด ๆ ลูกโดด.
  15. โด่เด่ : ว. อาการที่ตั้งตรงแล้วโย้ไปโย้มา.
  16. โด่ไม่รู้ล้ม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Elephantopus scaber L. ในวงศ์ Compositae ใบ แนบอยู่กับพื้นดิน ดอกสีม่วงอ่อน ก้านช่อดอกตั้งตรงขึ้นไป ใช้ทํายาได้.
  17. ต๋ง ๒ : ก. อาการที่เอาเชือกผูกของหนัก ๆ เช่นเรือนแพ แพซุง ยึดหรือพันไว้ กับหลักเป็นต้นแล้วค่อย ๆ ผ่อนไป, เอาเชือกเป็นต้นผูกของหนัก ๆ เช่นเสาไว้แล้วค่อย ๆ พยุงให้ตั้งขึ้นแล้วผ่อนลงหลุม, ขัดไว้ไม่ให้เลื่อน หลุดออกอย่างขัดไม้ขันชะเนาะ.
  18. ต้นแบบ : น. แบบดั้งเดิม, แบบที่มีมาแต่แรก, แบบที่ทําขึ้นไว้แต่แรก, สิ่งที่ สร้างขึ้นเป็นแบบฉบับ ใช้เป็นต้นเค้าสําหรับสร้างสิ่งอื่นให้มีลักษณะ เดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน.
  19. ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง : น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี; เครื่องสักการะ ที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้า แผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับ พระราชทานตั้งยศ.
  20. ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
  21. ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
  22. ตรา : [ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทําเป็นรูปต่าง ๆ สําหรับประทับเป็น ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ ประดับในจําพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สําหรับเป็นเครื่องหมาย เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสําคัญ เช่น ตราไว้; กําหนดไว้, จดจําไว้, เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
  23. ตลาดนัด : น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจํา จัดให้มีขึ้น เฉพาะในวันที่กําหนดเท่านั้น.
  24. ต่อโทรศัพท์ : ก. เดินสายเพื่อติดตั้งโทรศัพท์; ติดต่อสื่อสารโดยการหมุนหรือกด เลขหมายบนหน้าปัดเครื่องโทรศัพท์.
  25. ตะเกียบ : น. เครื่องใช้สําหรับคีบอาหารทําด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ; ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ ตั้งตรงมีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสา กลางลงมาได้; โดยปริยายใช้เรียก ของที่เป็นคู่สําหรับคีบ เช่น ตะเกียบรถ จักรยาน; ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก; เรียกขาคนที่ ลีบเล็กว่า ขาตะเกียบ; ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง; กระดูกอ่อน ๒ อันที่ก้น ของสัตว์ปีกมีนก เป็นต้น.
  26. ตังเก : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง ใช้จับปลาตามชายฝั่งทะเล ทางด้านค่อนมาทางหัวเรือมีเก๋ง ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ชั้นบนเป็นที่สําหรับผู้ควบคุมเรือใช้ดูทิศทาง มีเสากระโดง บนเสากระโดงมีแป้นกลมสําหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์ เรียกว่า รังกา ด้านท้ายเรือมีที่ สําหรับโรยอวน และด้านหัวเรือมีที่สําหรับกว้านอวน.
  27. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  28. ตัว ๒ : (คณิต) น. เรียกเลขในวิธีทําว่า ตัว เช่น ตัวบวก ตัวลบ ตัวคูณ ตัวหาร. ตัวคูณร่วมน้อย น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนําไปหารด้วยจํานวน เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น. ตัวตั้ง ๒ น. จํานวนเลขที่ตั้งไว้ก่อนสําหรับบวกลบคูณหาร. ตัวประกอบ ๒ น. จํานวนที่เมื่อคูณกันแล้วทําให้เกิดอีกจํานวนหนึ่ง เช่น ๒ x ๓ = ๖ ๒ และ ๓ ต่างเป็นตัวประกอบของ ๖. ตัวแปร น. จํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อนที่มีค่าได้หลาย ๆ ค่าในช่วงหรือ เซตที่กําหนดให้. (อ. variable). ตัวเลข น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง เช่น ๑๒ 53 VIII. (อ. numeral). ตัวหารร่วมมาก น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนําไปหารจํานวน undefined เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหาร ร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
  29. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  30. ถอยกรูด : ก. ถอยอย่างรวดเร็วไม่มีระเบียบ, ถอยอย่างตั้งตัวไม่ติด.
  31. ถั่วแปบช้าง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia sericea Craib ในวงศ์ Leguminosae พบทางภาคอีสาน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย หลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีขาวเป็นมันเลื่อม ดอกเป็นช่อตั้ง สีชมพู ฝักสั้นป้อม แบน ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน.
  32. เถาดาน : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นลําแข็งตั้งขึ้นที่ยอดอกแล้ว ลามลงไปถึงท้องน้อย ทําให้เจ็บปวด จุกเสียด แน่นหน้าอก.
  33. ทบวง : [ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดย สภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.
  34. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  35. ทรงลังกา : ว. เรียกเจดีย์รูปทรงกลม มีฐานล่างเป็นฐานบัวลูกแก้ว องค์ครรภธาตุมีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของ รัตนบัลลังก์ มียอดประดับด้วยปล้องไฉน.
  36. ทรัพยสิทธิ : [ซับพะยะสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้น ได้แต่ด้วยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น สิทธิ ครอบครอง กรรมสิทธิ์.
  37. ทลอึง : [ทนละ-] (กลอน) ก. ตั้งมั่น, มั่นคง.
  38. ทวน ๑ : น. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดานต่อ ขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทําด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสําหรับ ยึดรูปพรรณอีกข้างหนึ่งสําหรับยึดกับฐานที่ทําไว้โดยเฉพาะเพื่อ นั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่ง ติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำ ไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลาย คันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสําหรับรองตะคัน อบนํ้าหอม.
  39. ทวน ๒ : ก. ฝ่ากระแสนํ้าหรือกระแสลม ในคําว่า ทวนนํ้า ทวนลม, เอาใบพาย รานํ้าไว้เพื่อชะลอให้เรือหยุด; กลับมาตั้งต้นใหม่, กลับซํ้าใหม่, เช่น อ่านทวน ทวนเพลง; ย้อนทาง เช่น ทวนเข็มนาฬิกา ทวนแสง; เฆี่ยนตีด้วยลวดหนัง; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทวนกระแสจิต ทวนกระแสโลก.
  40. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  41. ทองเนื้อเก้า : น. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  42. ท้องร่อง. : ก. มีลูกอยู่ในท้อง, ตั้งครรภ์.
  43. ทองหยิบ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่แดงตีให้ขึ้นเล็กน้อย หยอด เป็นแผ่นเล็ก ๆ ในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ ตั้งไฟให้สุก แล้วช้อน ออกมาหยิบเป็นกลีบ ๆ ๕ หรือ ๗ หยิบ ใส่ถ้วยตะไลทิ้งไว้ให้ คงรูป, ลักษณนามว่า ดอก.
  44. ทองเอก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เคี่ยวน้ำกะทิกับน้ำตาลจนเหนียว ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่ไข่แดง แป้งสาลี ตั้งไฟกวนจนแป้งร่อน อัด ใส่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ แต่งหน้าด้วยทองคำเปลวแผ่นเล็ก ๆ.
  45. ทอยกอง : น. ชื่อการเล่นพนันอย่างหนึ่ง ใช้สตางค์หรือสิ่งอื่นตั้ง ซ้อน ๆ กันแล้วทอยให้ล้ม.
  46. ทำเล : น. ถิ่นที่, ตำบล, ภูมิที่ตั้ง, (มักใช้แก่แหล่งทำมาหากิน) เช่น ทำเลการค้า.
  47. ทินาท : (โหร) น. เวลาตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงเที่ยงวัน.
  48. ที่มั่น : น. ที่ตั้งสําหรับต่อสู้.
  49. ที่มา : น. ต้นเค้า, ต้นกําเนิด.
  50. ที่วัด : (กฎ) น. ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-837

(0.1096 sec)