Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตั้งเค้า, เค้า, ตั้ง , then คา, เค้า, ตง, ตงคา, ตั้ง, ตั้งเค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตั้งเค้า, 837 found, display 401-450
  1. ผู้ปกครอง : น. ผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองดูแล; (กฎ) บุคคลซึ่งศาลตั้ง ให้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดา มารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง.
  2. ผู้พิทักษ์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแล คนเสมือนไร้ความสามารถ.
  3. ผู้พิพากษาสมทบ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย จัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็น ข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษา สมทบในศาลแรงงาน.
  4. ผู้อนุบาล : (กฎ) น. บุคคลซึ่งศาลมีคําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครอง ดูแลคนไร้ความสามารถ.
  5. เผดิม : [ผะเดิม] ก. ประเดิม, เริ่มแรก, ตั้งต้น, ลงมือก่อน.
  6. ฝรั่งเศส : น. ชาวยุโรป มีประเทศตั้งอยู่ทิศตะวันตกภาคพื้นยุโรป, ชื่อภาษาของชนชาตินั้น. (ฝ. Fran?aise).
  7. ฝังรกฝังราก, ฝังรกราก : ก. ตั้งถิ่นฐานประจํา.
  8. ฝากครรภ์ : ก. ฝากตัวให้อยู่ในความดูแลของแพทย์หรือผดุงครรภ์ ในระหว่างตั้งครรภ์, ฝากท้อง ก็ว่า.
  9. แฝดน้ำ : น. ภาวะการตั้งครรภ์ที่มีปริมาณนํ้าครํ่ามากกว่าปรกติ.
  10. พงศกร : [สะกอน] น. ผู้ตั้งวงศ์, บรรพบุรุษ. (ส.).
  11. พรรคการเมือง : น. กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียว กัน ร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย.
  12. พรหมจารี : น. ผู้ศึกษาปรมัตถ์, นักเรียนพระเวท; ผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้นจากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ; หญิงที่ยังบริสุทธิ์. (ป.; ส. พฺรหฺมจารินฺ).
  13. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่ รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวน การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการ ตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
  14. พระราชาคณะ : (กฎ) น. พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มี สมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ.
  15. พรายตานี : น. ผีผู้หญิงที่สิงอยู่ในต้นกล้วยตานีที่กำลังตั้งท้อง.
  16. พรึง : น. ไม้กระดานหน้าใหญ่ตั้งอยู่บนหัวรอด รัดรอบเสาทั้ง ๔ ด้าน.
  17. พลัดถิ่น : ว. อยู่ไกลจากถิ่นที่อยู่ของตน เช่น เรียกรัฐบาลที่ตั้งศูนย์ บัญชาการอยู่นอกประเทศของตนว่า รัฐบาลพลัดถิ่น.
  18. พวน ๓ : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว ส่วนหนึ่ง ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย.
  19. พอง : ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่า ปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้นเช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.
  20. พ่อพวงมาลัย : (สํา) น. ชายที่ปล่อยชีวิตตามสบาย ไม่ยอมตั้งตัว หรือทําการงานเป็นหลักฐาน.
  21. พะ ๒ : ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย.
  22. พะเนียง ๑ : น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินดํา ใช้ตั้งจุด ไฟให้ลุกเป็นช่องาม เรียกว่า ไฟพะเนียง.
  23. พิกัด ๒ : (คณิต) น. จํานวนจริง ๒ จํานวนซึ่งเป็นคู่ลําดับ ที่แทนจุดจุดหนึ่ง บนระนาบ จํานวนแรกของคู่ลําดับเรียกว่า พิกัด x เป็นระยะตั้งฉาก ที่จุดนั้นห่างจากแกนดิ่ง ส่วนจํานวนที่ ๒ ของคู่ลําดับเรียกว่า พิกัด y เป็นระยะตั้งฉากที่จุดนั้นห่างจากแกนนอน. (อ. coordinates).
  24. พุ่มกัณฑ์เทศน์ : น. ดอกไม้ที่จัดเป็นพุ่มบนพาน ตะลุ่ม หรือ โตก มีเทียนขี้ผึ้งซึ่งติดเงินเหรียญโดยรอบตั้งอยู่ตรงกลาง ปัจจุบันมักใช้ ก้านธูปคีบธนบัตรปักไว้ที่ต้นเทียน.
  25. พุ่มทรงข้าวบิณฑ์ : น. เครื่องบูชาทำด้วยข้าวบิณฑ์ ตั้งบนภาชนะ เช่นพาน, เรียกรูปทรงที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ทรงข้าวบิณฑ์ หรือ พุ่มข้าวบิณฑ์; เรียกลายไทยแบบหนึ่งผูกเขียนในรูปทรงเช่นนั้นว่า ลายทรงข้าวบิณฑ์ หรือ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์.
  26. แพ : น. ไม้ไผ่หรือซุงเป็นต้นที่ผูกมัดเรียงติดกันมาก ๆ สําหรับใช้เป็น พาหนะทางนํ้า หรือล่องมาขาย เช่น แพไม้ไผ่ แพซุง แพหยวกกล้วย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ติดเนื่องกันเป็นตับอย่างแพ เช่น ธูปแพ เทียนแพ สวะลอยเป็นแพ; เรือนที่ตั้งอยู่บนแพในนํ้าหรือเรือนเช่นนั้น ที่ยกเอามาปลูกบนบกว่า เรือนแพ; ลักษณนามเรียกของที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ธูป ๓ แพ ข้าวเม่าทอด ๒ แพ.
  27. แพ้ท้อง : ว. อาการของผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อแรกตั้งครรภ์ มี อาการคลื่นเหียนอาเจียนเป็นต้น.
  28. ไพ่ไฟ : (ปาก) น. บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ลงด้วยวิธีการทุจริต; อาวุธสงครามชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นบรรจุสารเคมีซึ่งติดไฟง่าย.
  29. ภาคตัดกรวย : (คณิต) น. ระบบเส้นโค้งซึ่งกําหนดขึ้นโดยอัตราส่วนระหว่าง ระยะจากจุดบนเส้นโค้งไปยังจุดโฟกัสกับระยะตั้งฉากจากจุดนั้นไปยังเส้น ไดเรกตริกซ์ อัตราส่วนดังกล่าวมีค่าคงตัวเสมอ.
  30. ภาพเสมือน : (แสง) น. ภาพที่เกิดจากกระจกนูน กระจกเงาพื้นราบ หรือ เลนส์เว้า ลักษณะเป็นภาพหัวตั้ง ใช้จอรับไม่ได้.
  31. ภาวนา : [พาวะ–] น. การทําให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่ เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่ง ภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).
  32. ภาษาศาสตร์ : น. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.
  33. มดลูก : น. อวัยวะภายในอันเป็นที่ตั้งครรภ์.
  34. มทนียะ : [มะทะ-] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ควรเมา. (ป.).
  35. มหาศักราช : น. ศักราชที่ไทยใช้ในสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๖๒๑ เท่ากับ มหาศักราช).
  36. มัชฌิมชนบท : น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  37. มัทนียะ : [มัดทะนียะ] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ชวนให้เมา. (ป. มทนีย).
  38. มัธยัสถ์ : [มัดทะยัด] ก. ใช้จ่ายอย่างประหยัด. (ส. มธฺยสฺถ ว่า ปานกลาง, ตั้งอยู่ในท่ามกลาง).
  39. มาตรการ : [มาดตฺระ-] น. วิธีการที่ตั้งเป็นกฎ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือกฎหมายเป็นต้น เช่น ใช้มาตรการเด็ดขาด วางมาตรการในการ ปราบโจรผู้ร้าย; วิธีการที่จะปรับเข้าไปสู่ผลสําเร็จ เช่น วางมาตรการ ในการดําเนินงาน.
  40. มาน ๔ : (ถิ่น) ก. ตั้งท้อง เช่น มานลูก ข้าวมาน.
  41. ม้าน้ำ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลําตัวอ้วน หัวพับเข้าหาลําตัว ปากเป็นท่อยาวรวมกัน ทําให้ส่วนหัว ดูคล้ายม้า ส่วนท้ายของลําตัวเรียวยาว มีครีบหลังขนาดใหญ่ที่ โคนหาง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้อง ตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดํา บางส่วนของลําตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการัง ลําตัวตั้ง ใช้ส่วน หางพันเกาะวัตถุใต้นํ้า ตัวผู้ทําหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร.
  42. มุ่ง : ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี.
  43. มูลฐาน : [มูนละ-, มูน-] น. พื้นฐาน, รากฐาน, เค้ามูล.
  44. เม็ด ๑ : น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง, เมล็ด ก็ว่า; ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็น ก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด; ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมี ยอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุก, ที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี, เรียกว่า หัวเม็ด; ตัวหมากรุก ที่เวลาตั้งกระดานใหม่วางอยู่ข้างขวาขุน.
  45. เม็ดมะยม : น. ปุ่มสําหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย; ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.
  46. เมรุ, เมรุ- : [เมน, เม-รุ-] น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่; ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอดว่า เมรุ. (ป.).
  47. เมษายน : น. ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งตั้งต้นด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ. (ส. เมษ + อายน).
  48. เมือง : น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน กําแพงเมือง.
  49. เมืองท่า : น. เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ริมทะเลหรือแม่น้ำซึ่งใช้เป็นที่ให้ความสะดวกต่าง ๆ ในการขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสารขึ้นหรือลงเรือเดินทะเล; (กฎ) ทําเลหรือถิ่นที่ จอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสารหรือของ.
  50. เมืองหลวง : น. เมืองเป็นที่ตั้งรัฐบาล.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-837

(0.0917 sec)