Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตั้งเค้า, เค้า, ตั้ง , then คา, เค้า, ตง, ตงคา, ตั้ง, ตั้งเค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตั้งเค้า, 837 found, display 451-500
  1. แมวป่า : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis chaus ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่ กว่าแมวบ้าน สีนํ้าตาลอมเทาหรือนํ้าตาลอมเหลือง หูตั้งชัน มีพู่ขนสีดําที่ปลายหู, เสือกระต่าย หรือ เสือบอง ก็เรียก.
  2. โมเมนต์ : น. เรียกอาการที่วัตถุหมุนรอบจุดหนึ่งที่ตรึงอยู่กับที่ว่าเกิดโมเมนต์ขึ้นที่วัตถุนั้น, ทางวิทยาศาสตร์กําหนดว่า โมเมนต์ของแรงใดแรงหนึ่งรอบจุดใดจุดหนึ่งซึ่งตรึง อยู่กับที่ ก็คือผลคูณระหว่างแรงนั้นกับระยะทางที่ลากจากจุดนั้นไปตั้งฉาก กับแนวทิศของแรงนั้น. (อ. moment).
  3. ไม่ทัน : ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทําให้ พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
  4. ไม่มีปี่มีกลอง, ไม่มีปี่มีขลุ่ย : (สํา) ก. ไม่มีเค้า เช่น การที่เจ็บนั้นก็ไม่มีปี่มีกลอง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๗).
  5. ไม้ลื่น : น. กระดานที่ตั้งสูงทอดต่ำลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่งไถลตัวลง, กระดานลื่น ก็เรียก.
  6. ยกหยิบ : (กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง).
  7. ยะ ๑ : คําประกอบข้างหน้าคําที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียว กับคําเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.
  8. ยักเอว : ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.
  9. ยัดข้อหา : ก. ยัดความผิดให้แล้วตั้งข้อหา.
  10. ยัน ๑ : ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้า ยันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพ ยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยัน เปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  11. ยาตั้ง : น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่ทําเป็นตั้ง.
  12. ยิงลม : น. เรียกตัวไม้ประกอบเครื่องบนหลังคาเรือน ทำหน้าที่ยันอยู่ข้างหลังจั่ว ตั้งทแยงปลายข้างหนึ่งยันกับขื่อเพื่อเสริมให้จั่วมั่นคง.
  13. ยืน : ก. ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว, เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรง ขึ้นไป. ว. นาน, ยาว เช่น อายุยืน, ยืด เช่น คบกันยืนนาน; คงอยู่, อยู่ กับที่ ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ยืนคํา; คงเดิม เช่น พิพากษายืน; ยาวเป็น แนวตรงเข้าไป เช่น ที่ดินยืนเข้าไป ๓ เส้น.
  14. ยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นําของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน เช่น ยืมคําในภาษาบาลีมาใช้ ยืม วัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ยืมความคิด; (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลข ตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนํามาลบ ให้นําเลขจากหลักสูงถัดไป มาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ขอยืม ก็ว่า.
  15. ยุวราช, ยุวราชา : น. พระราชกุมารที่ได้รับอภิเษกหรือทรงรับแต่งตั้งอยู่ ในตําแหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป. (ป., ส.).
  16. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  17. โย้ : ว. เอนเพราะไม่ตั้งตรงทรงตัวตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น เรือนโย้ เขียน หนังสือโย้; ยื่นออกกว่าปรกติ เช่น ท้องโย้ พุงโย้.
  18. รณรงค์ : น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์ หาเสียงในการเลือกตั้งรณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).
  19. รถแข่ง : น. รถยนต์มีที่นั่งตอนเดียว ติดตั้งเครื่องยนต์กำลังแรงม้าสูง ใช้แข่งประลองความเร็ว.
  20. รถปรับอากาศ : น. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ.
  21. รถวิทยุ : น. รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารที่ติดตั้งวิทยุ เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารหรือรายงานให้ศูนย์บัญชาการ ทราบเป็นระยะ ๆ.
  22. รถสปอร์ต : น. รถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องยนต์มีแรงขับเคลื่อนสูง มักเป็น รถตอนเดียว.
  23. รถหวอ : (ปาก) น. รถดับเพลิง รถตำรวจ หรือรถพยาบาลเป็นต้นที่ติดตั้ง ไซเรนเพื่อเตือนให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้.
  24. ร่องรอย : น. เค้าเงื่อนหรือเบาะแสที่ปรากฏเป็นแนวบอกให้รู้.
  25. รอยร้าว : น. เค้าหรือท่าทีแห่งการแตกแยก.
  26. ร้อยเอ็ด : ว. ร้อยกับหนึ่ง (๑๐๑); เป็นจํานวนมากตั้งร้อย เช่น ร้อยเอ็ด พระนคร.
  27. ระเค็ดระคาย : น. เค้าเงื่อนที่ทราบมานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยันให้แน่นอนไม่ได้, ระแคะระคาย ก็ว่า.
  28. ระแคะระคาย : น. เค้าเงื่อนที่ทราบมานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยันให้แน่นอนไม่ได้, ระเค็ดระคาย ก็ว่า.
  29. ระดับ : น. ลักษณะของพื้นผิวตามแนวนอนระหว่างจุด ๒ จุดที่มีความสูงเสมอกัน โดยปรกติใช้ระดับนํ้าทะเลเป็นมาตรฐานในการวัด, เรียกเครื่องวัดความ เสมอของพื้นผิวว่าเครื่องวัดระดับ. ก. ปูลาด, แต่งตั้ง.
  30. ระนาดเอก : น. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมาก ทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง โดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัด มีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือ ไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบา และนุ่มนวล.
  31. ระเบิดเวลา : น. ลูกระเบิดที่มีอุปกรณ์ตั้งกําหนดเวลาให้ระเบิด.
  32. รังเกียจรังงอน : ก. ตั้งแง่ตั้งงอนทำเป็นรังเกียจเพราะไม่ชอบใจ.
  33. รังคัดรังแค, รังแครังคัด : ก. ตั้งข้อรังเกียจ เช่น ต่างฝ่ายต่างก็คอยแต่จะรังคัดรังแคกัน ลูกคนละแม่ มักจะรังแครังคัดกัน.
  34. รังแรก : ว. แรกตั้ง, ก่อน, แรกเริ่ม, เป็นเอก.
  35. รังวัด : ก. สํารวจพื้นที่กว้างยาว, วัดที่ดิน; (กฎ) วัดปักเขตและทําเขต จดหรือ คํานวณเนื้อที่เพื่อให้ทราบที่ตั้งแนวเขตที่ดิน หรือทราบที่ตั้งและเนื้อที่ ของที่ดิน.
  36. รังสรรค์ : ก. สร้าง, แต่งตั้ง.
  37. รังสรัง : [–สัง] ก. ตั้งหน้าวิ่ง, ออกวิ่ง.
  38. รังสฤษฏ์ : [–สะหฺริด] ก. สร้าง, แต่งตั้ง.
  39. รัฐทูต : [รัดถะทูด] น. ทูตที่ประมุขของรัฐหนึ่งแต่งตั้งไปประจํา สํานักประมุขของอีกรัฐหนึ่งเพื่อไปปฏิบัติภารกิจทางการทูต มีฐานะตํ่ากว่าเอกอัครราชทูตแต่สูงกว่าอุปทูต.
  40. รัตนโกสินทรศก : [รัดตะนะโกสินสก] น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับ รัตนโกสินทรศก).
  41. ราก ๑ : น. ส่วนของต้นไม้ ตามปรกติอยู่ในดิน มีหน้าที่ดูดอาหารเลี้ยงลำต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รากผม รากฟัน; เรียกฐานที่อยู่ใต้ดินทำหน้าที่รองรับอาคารว่า รากตึก หรือ ฐานราก; ต้นเดิม, เค้าเดิม, เช่น รากศัพท์.
  42. ร้านรวง : น. ร้านขายของที่ตั้งอยู่ติด ๆ กันหรือใกล้ ๆ กันหลาย ๆ ร้าน.
  43. ราวเทียน : น. เครื่องประกอบการบูชา ลักษณะเป็นคานโลหะแบนทอด ขวาง มีเสาคู่หนึ่งตั้งขึ้นรับหัวและท้ายคาน บนหลังคานติดบัวจงกลหรือ ลูกถ้วยรายเป็นระยะห่างกันพองามสำหรับปักเทียน.
  44. ราวพระแสง : น. เครื่องสอดเก็บอาวุธอย่างหอก ลักษณะเป็นคานไม้แบน ทอดขวาง มีเสาคู่หนึ่งตั้งขึ้นรับหัวและท้ายคาน บนหลังคานเจาะรูกลม ๆ รายเป็นระยะห่างกันพอควรสำหรับสอดด้ามหอก ง้าว ทวน ให้ตั้งเรียง เป็นแถว.
  45. รำรำ, ร่ำร่ำ : ก. คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่ เช่น รำรำว่าจะไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็ ไม่ได้ไปเสียที ร่ำร่ำจะไปเที่ยวภูกระดึงก็ไม่ได้ไปเสียที. ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่นรำรำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, ลําลํา ก็ว่า.
  46. รุก ๑ : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตของผู้อื่น เช่น รุกที่ดิน ทำไร่รุกเข้าไปในเขตหวง ห้าม, โดยปริยายหมายถึงคุกคามให้ถอยร่นหรือต้อนให้จนมุม เช่น เขา ถูกนายรุกเสียจนตั้งตัวไม่ติด; เดินตัวหมากรุกเข้าไปกระทบตาขุนของ อีกฝ่ายหนึ่ง.
  47. รู้ตัว : ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับ แต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
  48. รูปการณ์ : น. ลักษณะของเรื่องราว, เค้ามูลของเรื่องราว, เช่น คดีนี้ดูรูป การณ์แล้วจะต้องแพ้ รูปการณ์บอกว่าบริษัทนี้จะเจริญต่อไปภายหน้า.
  49. เริ่ม : ก. ตั้งต้นมี เป็น หรือลงมือกระทํา.
  50. เริ่มต้น : ก. ตั้งต้น, ขึ้นต้น, เช่น เขาเริ่มต้นถักเสื้อตัวใหม่แล้ว ครูเริ่มต้น แต่งคำประพันธ์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-837

(0.1062 sec)