Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าง , then ขาง, ข้าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าง, 886 found, display 651-700
  1. ยักเอว : ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.
  2. ยัดไส้ : ว. ที่มีสิ่งอื่นบรรจุอยู่ข้างใน เช่น เป็ดยัดไส้. ก. สอดของปลอม ไว้ข้างใน เช่น ธนบัตรยัดไส้.
  3. ยางนอก : น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอก หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. ยางน่อง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ ยิงสัตว์.
  4. ยามสามตา : น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก๓หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวัน จับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและ จันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร.
  5. ย้าย : ก. เปลี่ยนที่ เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง. ว. อาการที่ร่างกายบางส่วนเช่น พุง เอว เคลื่อนไหวไปมาข้างโน้นทีข้างนี้ทีตามจังหวะขณะเดินเป็นต้น (มักใช้แก่คนอ้วน) เช่น เดินย้ายพุง เดินย้ายเอว.
  6. ย้ำหัวเห็ด : ก. สอดนอตที่ปลายข้างหนึ่งบานลงในรูแผ่นโลหะ ๒ แผ่นที่ ซ้อนให้รูตรงกัน ทำให้นอตร้อนจัดแล้วตอกย้ำให้ปลายบานอย่างดอกเห็ด ซึ่งเมื่อปล่อยให้เย็น นอตจะหดตัวรัดโลหะ ๒ แผ่นนี้ให้แนบกันสนิท.
  7. ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  8. ยิงลม : น. เรียกตัวไม้ประกอบเครื่องบนหลังคาเรือน ทำหน้าที่ยันอยู่ข้างหลังจั่ว ตั้งทแยงปลายข้างหนึ่งยันกับขื่อเพื่อเสริมให้จั่วมั่นคง.
  9. ยิน ๒ : น. ส่วนหนึ่งของขอช้างที่ยื่นออกจากตัวขออีกข้างหนึ่ง.
  10. ยิ้มมุมปาก : ก. ยิ้มที่มุมปากข้างใดข้างหนึ่งโดยไม่เปิดปาก.
  11. ยี่สก : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาว เพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดําเด่นพาด ตามยาวเฉพาะบนลําตัว ๗๘ แถบ ขนาดยาวกว่า ๙๐ เซนติเมตร, ยี่สก ทอง ก็เรียก.
  12. ยืนค้ำหัว : ก. ยืนชิดอยู่ข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ ถือว่าแสดงอาการไม่เคารพ เช่น อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่.
  13. ยุติธรรม : น. ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. ว. เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม.
  14. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  15. เยภุยสิกา : น. ความเห็นข้างมาก. (ป. เยภุยฺยสิกา).
  16. เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
  17. แย้ ๑ : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Agamidae ลําตัวแบนราบ ข้างตัวมีสีสวย ไม่มีหนามสันหลัง อาศัยขุดรูอยู่ในดิน หากินตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ แย้เส้น (Leiolepis belliana belliana) และ แย้จุด (L. b. rubritaeniata).
  18. โยง ๑ : ก. ผูกให้ติดกันเพื่อลากหรือจูงไป เช่น โยงเรือ, เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การ โยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้า พ้นพื้นหรือเรี่ย ๆ พื้นว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจําแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสําหรับลากจูงเรืออื่นว่า เรือโยง และ เรียกเรือที่ถูกลากจูงไปนั้นว่า เรือพ่วง.
  19. รกบิน : น. รกที่ไม่ออกมาตามปรกติภายหลังคลอด แต่กลับตีขึ้นข้างบน.
  20. รถจักรยานยนต์ : น. รถจักรยานที่มีเครื่องยนต์; (กฎ) รถที่เดินด้วยกําลัง เครื่องยนต์กําลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกิน ๒ ล้อ ถ้ามีพ่วง ข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกิน ๑ ล้อ.
  21. รถบดถนน : น. รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้ง ขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ ข้างหลัง.
  22. รถแวน : น. รถยนต์ส่วนบุคคล มีที่นั่งมากกว่า ๒ ตอน ตอนท้ายมีประตู ข้างหลังสำหรับบรรทุกคนหรือของ.
  23. รถสิบล้อ : น. รถบรรทุกขนาดใหญ่ข้างหน้ามี ๒ ล้อ ข้างหลังมี ๘ ล้อ.
  24. รวบ : ก. อาการที่เอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อน เป็นมัด เป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นต้น, เอามือทั้ง ๒ ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า หาตัว เช่น รวบตัว รวบเอว รวบขา; (ปาก) จับ เช่น ขโมยถูกตำรวจรวบ.
  25. รองทรง : น. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวง ฉบับรองทรง.
  26. รอบคอบ : ว. ทั่ว, ถ้วนถี่, เช่น พิจารณาอย่างรอบคอบ, ระวังเหตุการณ์ ข้างหน้าข้างหลังเสมอ, ไม่เผอเรอ, เช่น ดูแลให้รอบคอบ.
  27. ระดูขาว : น. สิ่งที่ถูกขับถ่ายออกมาทางช่องคลอด ลักษณะข้นหรือ ค่อนข้างข้น สีขาวหรือสีเหลืองปนเขียว มีกลิ่นเหม็น เกิดจากสาเหตุ หลายประการ เช่น ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อพยาธิชนิด Trichomonas vaginalis เนื้องอก, ตกขาวหรือมุตกิด ก็เรียก.
  28. ระเบียง : น. พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง มีหลังคาคลุม; โรงแถวที่ล้อมรอบ อุโบสถหรือวิหาร, ถ้าเป็นอารามหลวง เรียกว่า พระระเบียง. ว. เรียง, เคียง, ราย.
  29. ระวิง ๒ : น. เครื่องคล้องโคนหางช้าง ทำด้วยโลหะรูปโค้ง ปลายทั้ง ๒ ข้างงอ เป็นขอและติดห่วงไว้สำหรับคล้องกระวินต่อกับปลายสายสำอาง.
  30. รังผึ้ง : น. รังที่ผึ้งทําสําหรับอยู่อาศัยและทํานํ้าผึ้ง, รังที่คนทําให้ผึ้งอาศัย ทํารวงข้างใน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; เครื่องสําหรับระบาย ความร้อนของหม้อนํ้ารถยนต์ มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง; ดินเผาหรือเหล็ก เป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สําหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตก ลงข้างล่าง โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น, ตะกรับ ก็ว่า.
  31. รัฐวิสาหกิจ : [รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด] น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุน หรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐ เป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวม อยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐.
  32. รากกล้วย : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymoneri และชนิด G. pennocki ในวงศ์ Gyrinocheilidae มีหัวยาว ลำตัวยาวเพรียว ที่สำคัญคือมีปากซึ่ง ใช้ดูดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้ดีไม่มีหนวด พื้นลำตัวสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัว มีจุดดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว พบทั่วไปตามลำธารบนภูเขา และที่ลุ่ม กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, ผึ้ง น้ำผึ้ง ลูกผึ้ง หรือ สร้อยน้ำผึ้ง ก็เรียก.
  33. ราโท : น. ไม้กระดานเรียบที่ประกบบนกราบเรือบางชนิด เช่น เรือเอี้ยมจุ๊น เรือโป๊ะจ้าย เรือกลไฟ สําหรับกันนํ้าเข้าเรือหรือเดินเลียบข้างเรือ.
  34. ร้าน : น. ที่ที่ปลูกยกพื้นขึ้นสําหรับนั่งหรือขายของเป็นต้น, สถานที่ขายของ, เรียกสิ่งที่ปักเสามีไม้พาดข้างบนให้ต้นไม้เลื้อยว่า ร้าน เช่น ร้านบวบ ร้านองุ่น.
  35. ราหู ๒ : น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไป คล้ายปลากระเบนนกมีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลาย สุดของหัวข้างละอันใช้โบกพัดอาหารเข้าปากด้านบนลําตัวสีดํา เช่น ชนิด M. japonicus, M. diabolus เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้าน ซ้ายของส่วนหัว.
  36. รำแพน : ก. แผ่หางกระดกขึ้นหรือแผ่ปีกแล้วเดินกรีดกรายไปมา (ใช้แก่ นกยูง นกหว้า และนกแว่น). น. การเล่นอย่างโบราณชนิดหนึ่งในการ พระราชพิธี ผู้เล่นนุ่งผ้าหยักรั้งสวมเสื้อคอกลม มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูง ข้างละกำ รำออกท่าต่าง ๆ เลี้ยงตัวอยู่บนราวลวด.
  37. รุน : ก. ดุนไปเรื่อย, ไสไปเรื่อย, เช่น รุนหลังให้รีบเดินไปข้างหน้า; ระบาย ท้อง. น. เครื่องช้อนกุ้งชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายชนาง แต่เล็กกว่า มีด้ามยาว ใช้ช้อนกุ้งหรือปลาเล็กปลาน้อยตาม ชายเฟือย.
  38. รู้สึก : ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุก เท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึก สนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่า จะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไร เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้อง ยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
  39. เรไร ๑ : น. ชื่อจักจั่นสีนํ้าตาลหลายชนิดในสกุล Pomponia, Tosena และสกุล อื่น ๆ ในวงศ์ Cicadidae ส่วนใหญ่ตัวค่อนข้างโต ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษ ทําให้เกิดเสียงสูงและตํ่ามีกังวานสลับกันไปได้หลายระดับ ชนิดที่โต ที่สุดซึ่งพบได้ง่ายในประเทศไทย คือ ชนิด P. intermedia.
  40. เรือกราบ : น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลม และเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณใน กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลองเรือแซง หรือเรือกันได้.
  41. เรือกุแหละ : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและ ท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากน้ำ สำหรับ บรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น.
  42. เรือโขมดยา : น. เรือขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้าง เพรียว หัวและท้ายเรียว บนหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยน้ำยาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับ คนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนิน พยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองในกระบวน พยุหยาตราทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้.
  43. เรือฉลอม : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้.
  44. เรือแซง : น. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้าย กระบวน.
  45. เรือดั้ง : น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
  46. เรือประกอบ : น. เรือชนิดที่ท้องเรือทำด้วยปีกไม้ซุง ขุดเป็นรางแล้วต่อ ข้างขึ้นเป็นตัวเรือโดยอาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึดแล้วเสริมกราบ ได้แก่ เรือยาว เรือเพรียว เรือแซ.
  47. เรือประตู : น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำ หน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือ ประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่งกับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อน ถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้าย กระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูในกับ หมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือ ที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
  48. เรือผีหลอก : น. เรือแจวชนิดหนึ่ง สำหรับจับสัตว์น้ำในลำคลองและลำน้ำ ในเวลากลางคืน กราบเรือทางขวาติดแผ่นกระดานทาสีขาวปล่อยริมข้าง หนึ่งให้ลงน้ำ กราบซ้ายมีตาข่ายกันมิให้ปลาและกุ้งกระโดดข้าม ปลา ตกใจจะกระโดดเข้ามาหาเรือเอง.
  49. เรือพิฆาต ๑ : น. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้า กระบวนเรือเสด็จทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์.
  50. เรืออีโปง : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ วา ทำจากโคนต้นตาล ผ่าซีก แล้วขุดเอาเนื้อข้างในออก และปิดท้ายด้วยไม้ ท้ายเรือเล็กกว่า หัวเรือ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-886

(0.0616 sec)