Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทำ, 908 found, display 851-900
  1. หากิน : ก. ทํางานเลี้ยงชีวิต, หาเลี้ยงชีพ, เช่น เขาหากินด้วยการประกอบ อาชีพสุจริต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทำมา เป็น ทำมาหากิน, หาอาหาร เช่น ให้แต่ที่พัก หากินเอาเอง. ว. ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี ในคำว่า หญิงหากิน.
  2. หากินตัวเป็นเกลียว : (สำ) ก. ขยันทำมาหากินจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน.
  3. ห้ามไม่ให้ : (สำ) ก. เป็นการย้ำไม่ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ห้ามไม่ให้ เขียน ห้ามไม่ให้พูด.
  4. หามรอก : น. ชื่อต้นไม้ชนิด Miliusa velutina Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae ใบป้อม ขนนุ่ม ดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นพวง ทุกส่วนใช้ทำยา.
  5. หาเรื่อง : ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้.
  6. หินเหล็กไฟ : น. หินสำหรับใช้เหล็กตีให้เกิดประกายไฟเพื่อให้ติดชุดซึ่ง ทำด้วยด้ายหรือนุ่นเป็นต้น.
  7. หุ่นกระบอก : น. หุ่นชนิดหนึ่ง มีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้างลำตัวทำด้วย ไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอก นั้นเชิด.
  8. หุ่นขี้ผึ้ง : น. หุ่นที่ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นต้น มักทำเป็นรูปคนที่มีชื่อเสียง สวม ใส่เสื้อผ้า มองดูคล้ายคนจริง ๆ.
  9. หุ่นจีน : น. หุ่นชนิดหนึ่ง ทำเป็นตัวละครในวรรณกรรมจีน มีทั้งชนิด ครึ่งท่อนและเต็มตัว ใช้คนเชิดคนเดียว.
  10. หุ่นยนต์ : น. หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงาน หลายอย่างแทนมนุษย์ได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่ง โดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล.
  11. หุ่นไล่กา : น. หุ่นที่มักทำเป็นรูปคนสวมเสื้อผ้าสําหรับลวงนกกาให้กลัว ทำให้ไม่กล้าลงมากินพืชผลในไร่นา.
  12. หุ่นใหญ่ : น. หุ่นชนิดทำจำลองย่อส่วนตัวละครขนาดสูงประมาณ ๒ ศอก ตัวหนึ่งใช้คนเชิด ๓ คน ใช้แสดงละครเล็ก.
  13. หูกระต่าย : น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูก เป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วย ผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรือ อันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหิน ที่ กระทง๑). (รูปภาพ เงื่อนหูกระต่าย) (รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)
  14. หูเข้าพรรษา : ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
  15. หูช้าง ๑ : น. แผ่นกระดานที่ทําเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสําหรับติดกับ มุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือ พลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สําหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.
  16. เหน็บ ๑ : น. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สัน ค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยม เหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.
  17. เหยง, เหยง ๆ : [เหฺยง] ว. อาการที่ทำซ้ำ ๆ อย่างเร็ว เช่น ขุดดินเหยง ด่าเหยง ๆ, (ปาก) ใช้ว่า เหย็ง หรือ เหย็ง ๆ ก็มี.
  18. เหลอ : [เหฺลอ] ว. ทำหน้าเซ่อ ๆ ทำนองว่าไม่รู้เรื่อง เช่น ทำหน้าเหลอ.
  19. เหลียน : [เหฺลียน] น. ชื่อมีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนา และโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถาง ป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, อีเหลียน ก็เรียก. (จ.).
  20. แหวกแนว : ก. ทําไม่ซํ้าแบบใคร เช่น เขาชอบแหวกแนว. ว. ที่ชอบทำใน สิ่งที่ไม่ซ้ำแบบใคร เช่น เขาเป็นคนแหวกแนว.
  21. แหวกประเพณี : ก. ทำผิดประเพณีที่เคยกระทำกันมา.
  22. แหะ, แหะ ๆ : ว. เสียงคนหัวเราะมีเสียงเช่นนั้น. ก. ทำเสียงดังเช่นนั้น เช่น เขาไม่พูดอะไร ได้แต่แหะ ๆ.
  23. โห่ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนําเพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทําเสียงเช่นนั้น; โดยปริยาย หมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
  24. โหย่ง ๑ : [โหฺย่ง] ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยาย ตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, หย่ง ก็ว่า.
  25. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  26. ให้หน้า : ก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้ สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
  27. ไหมพรม : น. ด้ายที่ทำด้วยขนสัตว์หรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  28. ไหมหน้า : (กลอน) ก. หมายหน้า, ตราหน้า, เช่น ไหมหน้าว่าเบียนเมือง ข้าคิดเปลื้อง ทานทำแห่งหอคำข้าดอก. (ม. ร่ายยาว).
  29. ไหว้ครู : ก. ทำพิธีแสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความ สำนึกในพระคุณของท่าน.
  30. อกตเวทิตา : [อะกะตะ] น. ความเป็นผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ความเป็นผู้ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญุตา. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ + ตา ว่า ความเป็น].
  31. อกตเวที : [อะกะตะ] น. ผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ผู้ไม่ ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญู. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
  32. องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  33. อนุประโยค : น. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.
  34. อเนกคุณ : [อะเหฺนกคุน] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำยาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  35. อมภูมิ : [พูม] ก. ไม่ยอมแสดงความรู้ทั้ง ๆ ที่มีความรู้ บางทีใช้ หมายถึงทำท่าทางคล้าย ๆ รู้ แต่ความจริงไม่รู้ เช่น ทำเป็นอมภูมิ.
  36. อมยิ้ม : ว. ยิ้มน้อย ๆ โดยไม่เผยอริมฝีปาก. น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยน้ำตาล มีสีต่าง ๆ เป็นรูปกลม ๆ หรือแบน ๆ เสียบไม้.
  37. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  38. อยู่ดีไม่ว่าดี : (สำ) ว. แทนที่จะอยู่เฉย ๆ กลับทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ตน เช่น อยู่ดีไม่ว่าดีขอลูกเขามาเลี้ยง.
  39. อยู่ไปมา : ว. อาการที่ทำต่อเนื่องกันหลายหนหรือเรื่อย ๆ ไป เช่น ยิ้มอยู่ไปมา โบกมืออยู่ไปมา.
  40. ออกตัว : ก. พูดกันตัวหรือแก้ตัวไว้ก่อน; ปลดเปลื้องสิ่งที่ตกหนัก แก่ตัว; เริ่มเคลื่อนที่ครั้งแรก (ใช้แก่การแข่งขัน); เอาไปทำผล ประโยชน์ได้ เช่น ซื้อทองดีกว่าเพราะออกตัวได้ง่าย.
  41. ออกหาก : ก. อาการที่ทำห่างเหินไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม ในคำว่า ตีตัวออกหาก เอาใจออกหาก.
  42. อาถรรพ์, อาถรรพณ์, อาถรรพณะ : [ถัน, ถัน, ถับพะนะ] น. สิ่งสืบเนื่องจากคัมภีร์อถรรพเวท, การทํา พิธีตามตำราไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันภยันตราย หรือ ทำอันตรายผู้อื่น เช่น ทําพิธีฝังเสาหินหรือฝังบัตรพลี ซึ่งเรียกว่า ฝังอาถรรพ์; อํานาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ เสานี้มีอาถรรพ์. (ส. อาถรฺวณ; ป. อาถพฺพณ).
  43. อาภัพเหมือนปูน : (สำ) ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใคร มองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่าง ประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึง ปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก.
  44. อาสา : ก. เสนอตัวเข้ารับทำ. น. ความหวัง เช่น นิราสา = ความหวัง หมดแล้ว คือ ความหมดหวัง, ความต้องการ, ความอยาก. (ป.; ส. อาศา).
  45. อำนาจมืด : น. อิทธิพลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือระเบียบเป็นต้น ที่บังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม.
  46. อุก ๒ : (กลอน) ก. หักหาญด้วยพลการ, บังอาจ, เช่น ทำอุกสนุกเสน่หา สองราช.
  47. อุดเตา : น. เตารีด, เครื่องทำด้วยโลหะ สำหรับรีดผ้าให้เรียบโดยอาศัย ความร้อนเช่นถ่าน หรือ ไฟฟ้า.
  48. อุปกรณ์ : [อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่อง ประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจําอยู่ กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นํามา สู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนํามาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำ โดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็น ประธานนั้น. (ป., ส.).
  49. อุลกมณี : [อุนละกะมะนี] น. อุกกาบาตที่นำมาเจียระไนทำเป็นเครื่อง ประดับ เชื่อว่าเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง.
  50. อู้ ๑ : ว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สาย ชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนัง แพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรือ งา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-908

(0.0696 sec)