Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียง , then สยง, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียง, 963 found, display 151-200
  1. กลมกล่อม : ว. ที่เข้ากันพอดี (ใช้แก่รสหรือเสียง).
  2. กล้ำ : [กฺล้ำ] ก. ควบ เช่น กล้ำอักษร อักษรกล้ำ, ทําให้เข้ากัน, กลืนกัน, เช่น กล้ำเสียง เสียงกล้ำ, มีโทษอันหนึ่งไซร้ กลบกล้ำพันคุณ. (โลกนิติ), คือดั่งปากเว้นกล้ำ แกล่เหมี้ยงหมากพลู. (โลกนิติ), กัลยาจะกล้ำอําความตาย. (อิเหนา).
  3. กวน ๑ : (ถิ่น-อีสาน) (ปาก) น. กวาน, ชื่อตําแหน่งขุนนางในภาคอีสาน สมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่น บ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่.
  4. กวะกวัก : [กฺวะกฺวัก] ก. กวัก เช่น กวะกวักคือกวักทักถาม. (สรรพสิทธิ์). ว. กวัก ๆ, เป็นเสียงนกกวักร้อง, เช่น นกกวักลักแลเพื่อนพลาง กวักปีกกวักหาง ก็ร้องกวะกวักทักทาย. (สมุทรโฆษ).
  5. กวัก ๑ : [กฺวัก] น. ชื่อนกชนิด Amaurornis phoenicurus ในวงศ์ Rallidae ลําตัวสั้น ขาและนิ้วยาว หน้าผากและ ลําตัวด้านล่างสีขาว อาศัยอยู่ตามหนองน้ำ เดินหากินบนใบพืชน้ำ เช่น บัว จอก แหน ในตอนเช้าหรือพลบค่ำ ร้องเสียงดัง ``กวัก ๆ''.
  6. ก้อง ๑ : ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง.
  7. กองหนุน : น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  8. กะ ๒ : ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคําว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
  9. กะกร้าว : (กลอน) ว. มีเสียงอย่างขบฟันดังกร้วม ๆ, (โบ) เขียนเป็น กกร้าว ก็มี เช่น กเกรอกขบฟนนก็ดูร้าว กกร้าวขบฟนนกดูแรง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  10. กะเกาะ : (กลอน) ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เคาะพระทวารดังกะเกาะก้องกึก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  11. กะต๊าก : ว. เสียงไก่ตัวเมียร้องเมื่อตกใจหรือออกไข่.
  12. กะตุ๊ก, กะตูก : ก. ร้องกระแทกเสียงที่ริมหูคนอื่นว่า ''กะตุ๊ก'' จนหูอื้อ เป็นการล้อกันเล่น เรียกว่า กะตูกที่หู.
  13. กะโต๊ก : ว. เสียงไก่ตัวผู้ร้อง.
  14. กะโต้งโห่ง : ว. เสียงนกยูงร้อง.
  15. กะปูด : น. ชื่อนกในวงศ์ Centropodidae ขนปีกสีน้ำตาลแดง ลําตัวสีดํา ร้องเสียง ''ปูด ๆ'' เดินหรือวิ่งหากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ ในระยะทางสั้น ๆ มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ (Centropus sinensis) กะปูดเล็ก (C. bengalensis) และกะปูดนิ้วสั้น (C. rectunguis), ปูด ก็เรียก, พายัพเรียก ก้นปูด.
  16. กะเปิ๊บกะป๊าบ : (ปาก) ว. พูดเสียงดังเอะอะและไม่ระมัดระวังวาจาหรือท่าทาง, มีกิริยาท่าทางหรือแต่งตัวรุงรังไม่เรียบร้อย.
  17. กะพรูดกะพราด : [-พฺรูด-พฺราด] ว. มีเสียงดังพรูดพราด.
  18. กะหนอกะแหน : [-หฺนอ-แหฺน] ว. เสียงพูดอย่างน่าเอ็นดูเหมือนเสียงเด็กพูด.
  19. กะหนุงกะหนิง : ว. เสียงพูดจู๋จี๋ระหว่างคู่รักเป็นต้น.
  20. กะหือ : ว. เสียงครวญคราง.
  21. กะแอ ๒ : ว. อ่อน, เล็ก, เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกกะแอ, ลูกแหง่ ก็ว่า.
  22. กังวาน : ว. ก้องอยู่ได้นาน เช่น เสียงระฆังกังวาน, มีกระแสเสียงก้องและแจ่มใส.
  23. กังสดาล : [-สะดาน] น. ระฆังวงเดือน เช่น แว่วสําเนียงเสียงระฆังกังสดาล. (อิเหนา).
  24. กัณฐชะ : (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีเสียงเกิดจากเพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค กคือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. (ป.; ส. กณฺ?วฺย).
  25. กันเอา : ว. กรรเอา, กลมกล่อม, เช่น สรวญเสียงกันเอาเอา มโนเทพรังรักษ์. (อนิรุทธ์).
  26. กัมปนาท : น. เสียงสนั่นหวั่นไหว. (ป. กมฺป + นาท).
  27. กัลโหย : [กัน-] ก. กรรโหย เช่น สารเสียงหงสกัลโหย. (สมุทรโฆษ).
  28. กากบาท : [กากะบาด] น. ชื่อเครื่องหมายอย่างตีนกา มีรูป + หรือ x ; ใช้ + เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา.
  29. ก้าบ ๆ : ว. เสียงร้องของเป็ด.
  30. การันต์ : [การัน] น. ``ที่สุดอักษร'', ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกํากับไว้ เช่นตัว ''ต์'' ในคําว่า ``การันต์'', (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์.
  31. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  32. กำทวน : ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกําธร กําทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).
  33. กำธร : [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
  34. กำพวด ๑ : น. ส่วนประกอบของปี่ซึ่งทําให้เกิดเสียงเวลาเป่า สอดติดอยู่กับเลาปี่.
  35. กิก, กิ๊ก : ว. เสียงของแข็งกระทบกัน.
  36. กิดาการ : น. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ. (ตะเลงพ่าย). (ป. กิตฺติ + อาการ).
  37. กิ๋ว ๑, กิ๋ว ๆ : ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ ตรงไปที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กุ๋ย หรือ กุ๋ย ๆ ก็ว่า.
  38. กึก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน; ทันที เช่น หยุดกึก; (กลอน) ดังก้อง เช่น กึกฟ้าหล้าหล่มธรณี. (สมุทรโฆษ).
  39. กึกกัก : ว. เสียงดังเช่นนั้น, ติด ๆ ขัด ๆ.
  40. กึง : ว. เสียงดังเช่นนั้น, ดังก้อง.
  41. กึงกัง : ว. เสียงดังอย่างล้อเกวียนกระทบพื้นที่แข็ง.
  42. กุก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหกลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
  43. กุกกัก, กุก ๆ กัก ๆ : ว. กึกกัก, ติด ๆ ขัด ๆ, ไม่สะดวก; เสียงดังเช่นนั้น.
  44. กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะ เมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
  45. กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
  46. กุญแจเสียง : น. เครื่องหมายอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกเสียง ดนตรีสากล เขียนไว้ตอนหน้าของบรรทัด ๕ เส้น เพื่อกําหนด ระดับเสียงของตัวโน้ต, กุญแจประจําหลัก ก็เรียก. (รูปภาพ กุญแจเสียง)
  47. กุบกับ : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  48. กุ๋ย, กุ๋ย ๆ : ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ตรงไป ที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กิ๋ว หรือ กิ๋ว ๆ ก็ว่า.
  49. กู่ ๒ : ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
  50. กู้หน้า : (ปาก) ก. ช่วยทําให้ชื่อเสียงคงดีอยู่.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-963

(0.0618 sec)