Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียง , then สยง, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียง, 963 found, display 601-650
  1. ฟิด : ว. เสียงอย่างเสียงจาม.
  2. ฟี่, ฟี้ : ว. เสียงอย่างเสียงลมรั่วออกจากที่อัดลมไว้ เช่น เสียงปล่อยลมดังฟี้ นอนกรนฟี้.
  3. ฟืดฟาด : ว. เสียงอย่างเสียงหายใจแรง ๆ เวลาเหนื่อยมาก ๆ, ฟูดฟาด ก็ว่า.
  4. ฟุ่บ : ว. เสียงดังอย่างเสียงดินปืนที่จุดแล้วลุกไหม้ทันทีทันใด.
  5. ฟู่ : ว. เสียงดังเช่นนั้น. น. เรียกเตาที่ใช้สูบลมพ่นน้ำมันให้ขึ้นไปถูก ไฟลุกเป็นเปลวว่า เตาฟู่.
  6. ฟูด : ก. อูดขึ้น, ล้นขึ้น. ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  7. ฟูดฟาด : ว. เสียงอย่างเสียงหายใจแรง ๆ เวลาเหนื่อยมาก ๆ, ฟืดฟาด ก็ว่า.
  8. เฟื่อง ๒ : ก. เจริญรุ่งเรือง, รุ่งโรจน์, มีชื่อเสียงโด่งดัง, เช่น เขากำลังเฟื่อง ความคิดเฟื่อง ชื่อเสียงเฟื่อง; คล่องแคล่ว, แม่นยำ, เช่น จบปริญญาเอก มาใหม่ ๆ ความรู้กำลังเฟื่อง.
  9. แฟ่ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงจุดไม้ขีดไฟติด; (ปาก) มาก ในคำว่า หรูแฟ่.
  10. มธุสร : [-สอน] น. เสียงหวาน. (ป.; ส. มธุสฺวร).
  11. มอ ๓ : น. วัวตัวผู้. ว. เสียงอย่างเสียงวัวร้อง.
  12. มอม ๑ : ว. เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดํา ๆ เช่น หน้ามอม. ก. ทําให้เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดํา ๆ เช่น มอมหน้า; ทําให้เสียชื่อเสียง, ทําให้มัวหมอง; ทําให้เสีย สติด้วยของมึนเมามีเหล้าเป็นต้น เช่น มอมเหล้า มอมกัญชา.
  13. มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
  14. มาตราพฤติ : น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยมาตรา คือ กําหนดคําในฉันท์ แต่ละคําเป็นมาตราส่วน เช่น คําครุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คําลหุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.
  15. มาธุสร : [มาทุสอน] น. มธุสร, เสียงหวาน.
  16. ม้าล่อ : น. แผ่นโลหะสัมฤทธิ์ รูปคล้ายถาด ตีให้มีเสียงดัง เป็นของจีนใช้.
  17. มี่ : ว. อึกทึก, เสียงแซ่.
  18. มุทธชะ : [มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการ ม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่ พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).
  19. มุย : ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง, หมุ่ย ก็ว่า.
  20. มุหงิด : [-หฺงิด] น. ชื่อชนชาติชวามลายูในเกาะเซลีเบส, เรียกเพี้ยนเสียงเป็น ยุหงิด ก็มี.
  21. มูก, มูกะ : ว. ใบ้, เงียบ, ไม่มีเสียง. (ส.; ป. มูค).
  22. มูคะ : ว. ใบ้, เงียบ, ไม่มีเสียง. (ป.; ส. มูก).
  23. เมาะตาโยกัก : ว. มีชื่อเสียงโด่งดัง, เลื่องลือไม่มีใครเสมอ. (ช.).
  24. แม่เจ้า : ส. คําเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. แม่เจ้าประคุณ คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น แม่เจ้าประคุณของยายสบายดีหรือ ดึกแล้วแม่เจ้าประคุณ ยังไม่กลับบ้านเลย.
  25. แม่ม่ายลองไน : น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีลําตัวและปีกสีฉูดฉาด เช่น ดํา ขาว เหลือง หรือส้ม สีเหล่านี้เป็นลายหรือเป็นแถบพาดตามหัว ลําตัว หรือปีก มีอวัยวะทําเสียงซึ่ง เสียงจะเป็นเสียงห้าว ก้องกังวานได้ยินไปไกล ๆ มีหลายชนิด ชนิดที่โตที่สุดใน ประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera, ลองไน ก็เรียก.
  26. แมว ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์ เดียวกับเสือ ขนยาวนุ่ม มีหลายสี เช่น ดํา ขาว นํ้าตาล ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ เพื่อความสวยงามและใช้จับหนู แมววิเชียรมาศ และแมวสีสวาด เป็นแมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
  27. แมวเซา ๒ : น. ชื่องูพิษชนิด Daboia russellii ในวงศ์ Viperidae หัวสามเหลี่ยม ตัวอ้วนสั้นสีนํ้าตาลอมเทา ลายสีนํ้าตาลเข้ม เขี้ยวพิษยาว เมื่อถูกรบกวน มักทําเสียงขู่ฟู่ยาวคล้ายเสียงยางรถรั่ว.
  28. โม้ ๆ, โม่ะ : ว. เสียงอย่างเสียงเรียกสุนัขมากินข้าว.
  29. ไม้ ๒ : น. ชื่อเครื่องหมายกํากับตัวอักษร เพื่อบอกระดับเสียง เช่น ? เรียกว่า ไม้จัตวา, เพื่อบอกชนิดสระ เช่น ไ เรียกว่า ไม้มลาย, เพื่อให้อ่านซํ้า คือ ๆ เรียกว่า ไม้ยมก, หรือเพื่อไม่ให้ออกเสียงอ่าน คือ ?เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต.
  30. ไม้แข็ง : น. ไม้ตีระนาดที่ไม่ได้พันด้วยนวม ทำให้มีเสียงกร้าว, โดยปริยาย หมายความว่า วิธีการเฉียบขาด, อำนาจเด็ดขาด, เช่น เด็กคนนี้ต้องใช้ไม้แข็ง จึงจะปราบอยู่.
  31. ไมโครโฟน : [-โคฺร-] น. เครื่องที่ใช้สําหรับขยายเสียงให้ดังขึ้น, เครื่องที่ใช้สําหรับเปลี่ยน คลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นในการส่งวิทยุ โทรศัพท์, มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า ไมค์. (อ. microphone).
  32. ไม้ทัณฑฆาต : น. เครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรตัวที่ไม่ต้องออกเสียง รูปดังนี้ ?.
  33. ไม้นวม : น. ไม้ตีระนาดที่พันด้วยนวมทำให้มีเสียงทุ้ม, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน.
  34. ยะ ๒ : ว. คําออกเสียงลงท้ายวลีหรือประโยค ถือว่าไม่สุภาพ เช่น ของกินนะยะ ของถวายพระนะยะ จะรีบไปไหนยะ.
  35. ยานคาง : ว. อาการที่พูดลากเสียง.
  36. ยิน ๑ : ก. รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคําอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี.
  37. ยี่ห้อ : น. เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอก ยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).
  38. ยืมชื่อ : ก. อาศัยชื่อผู้อื่นไปเป็นประโยชน์ตน เช่น ยืมชื่อคนมีชื่อเสียง ไปอ้างเพื่อให้คนเชื่อถือ.
  39. เย ๆ : ว. เสียงร้องไห้ของเด็ก ๆ ที่ทอดเสียงยาว ๆ และไม่ใคร่หยุด เรียกว่า ร้องเย ๆ.
  40. เย็นหู : ว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวล ฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.
  41. เยอว : คําต้นเสียงสําหรับบอกจังหวะพายเรือ.
  42. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  43. รณรงค์ : น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์ หาเสียงในการเลือกตั้งรณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).
  44. รณ, รณ– : [รน, รนนะ–] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).
  45. รถฉุกเฉิน : (กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหาร ส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟ สัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณ อย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกําหนด.
  46. รพ, รพะ, รพา : [รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
  47. ร่วน : ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตก ละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.
  48. รวะ : น. เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก, เสียงอึง, เสียงร้องครํ่าครวญ. ก. ร้อง, ร้องไห้. (ป., ส.).
  49. ร้อง : ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คํา แวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
  50. ร้องบอก : ก. เปล่งเสียงบอกให้รู้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-963

(0.0710 sec)