Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียง , then สยง, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียง, 963 found, display 751-800
  1. แว่ว : ก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น, ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.
  2. โวย : (ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิด เดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวย เรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.
  3. โวยวาย : ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่ พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า.
  4. โว้เว้ : ก. พูดเสียงเอ็ดอึง, พูดหาเรื่อง, พูดเหลวไหล; ทําเหลวไหล.
  5. ไว้ชื่อ : ก. แสดงความรู้ความสามารถเป็นการฝากชื่อเสียงไว้ให้ปรากฏ เช่น ชาติชายต้องไว้ชื่อ.
  6. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  7. ศรุตะ : [สะรุตะ] ก. ได้ยิน, ได้ฟัง; มีชื่อเสียง, มีผู้รู้จัก. (ส.).
  8. ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  9. ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
  10. โศลก : [สะโหฺลก] น. คําประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
  11. สงบเงียบ : ก. ปราศจากเสียงรบกวน เช่น เด็ก ๆ ไม่อยู่บ้าน ทำให้บ้าน สงบเงียบ.
  12. สงัด : [สะหฺงัด] ก. เงียบสงบ เช่น คลื่นสงัด ลมสงัด. ว. เงียบเชียบ, สงบเงียบ เพราะปราศจากเสียงรบกวน, เช่น ดึกสงัด ยามสงัด.
  13. สงัดคลื่น : ก. ไม่มีเสียงคลื่น.
  14. สดับ : [สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคํา ตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).
  15. สนธิ : น. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียง ให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็นพจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).
  16. สนั่น : [สะหฺนั่น] ว. กึกก้อง, ดังลั่น, ดังมาก, เช่น ฟ้าผ่าเสียงดังสนั่น.
  17. สรพะ : [สะระพะ] ว. เสียงดัง, เอ็ดอึง. (ป.; ส. ศรว).
  18. สร้อย ๓ : [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญา สุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัย ราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.
  19. สร้าง ๑ : [ส้าง] ก. เนรมิต, บันดาลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยฤทธิ์อำนาจ, เช่น พระพรหมสร้างโลก, ทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน (ใช้ทั้ง ทางรูปธรรมและนามธรรม) เช่น สร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างศัตรู สร้างชื่อเสียง.
  20. สวบ, สวบ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือ สิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละ ตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ.
  21. สะดุ้ง ๑ : ก. ไหวตัวขึ้นทันทีด้วยความตกใจ เพราะไม่ทันรู้ตัวหรือไม่ได้นึก คาดหมายไว้เป็นต้น เช่น เมื่อได้ยินเสียงระเบิดก็สะดุ้งสุดตัว.
  22. สะดุดหู : ก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.
  23. สะท้อน ๑ : ก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยาย หมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.
  24. สะท้าน : ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือน จะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง.
  25. สะเทือน, สะเทื้อน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่ แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกสะเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านสะเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็สะเทือนไปถึง แม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่สะเทือน, กระเทือน ก็ว่า.
  26. สะบัด ๆ : ว. อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียง แสดงความไม่พอใจ เช่น แม่ค้าไม่พอใจที่ลูกค้าต่อราคามากไป จึงพูดสะบัด ๆ.
  27. สะอึก : ก. อาการที่หายใจชะงักเนื่องจากกะบังลมหดตัว และช่องสายเสียง ก็ปิดตามมาทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน; โดยปริยายหมายความว่า ชะงักงัน เช่น พอถูกถามปัญหาแทงใจดำเข้าก็สะอึกทันที.
  28. สะอึกสะอื้น : ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลัง จากหยุดร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียง สะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
  29. สั่ง ๑ : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
  30. สังเกตการณ์ : ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
  31. สัญญาณจราจร : (กฎ) น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น.
  32. สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).
  33. สัทวิทยา : [สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษา โดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).
  34. สัทศาสตร์ : [สัดทะ] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติของการออกเสียงและ การเปล่งเสียงพูด. (อ. phonetics).
  35. สัทอักษร : [สัดทะอักสอน] น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียง ประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. (อ. phonetic alphabet).
  36. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  37. สัมผัสใน : น. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มีได้ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร เช่น (รูปภาพ ถึงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา). (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวม ถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข. (ตะเลงพ่าย).
  38. สัมผัสสระ : น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตรา เดียวกัน เช่น (รูปภาพ อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ. (เพลงยาวถวาย โอวาท), คนใจจืดชืดชื้อเหมือนชื่อบาง ควรตีห่างเหินกันจนวันตาย). (นิ. วัดสิงห์).
  39. สัมผัสอักษร : น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
  40. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  41. : พยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นําอักษรตํ่าที่เป็น อักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.
  42. หงส-, หงส์ ๑ : [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูล สูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดิน ของหงส์. (ป., ส. หํส).
  43. หง่อง ๆ : ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึง เดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
  44. หงับ ๆ : ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงโดยไม่มีเสียง เช่น ทำปากหงับ ๆ, อาการที่ เคี้ยวของ เช่น เคี้ยวขนมหงับ ๆ.
  45. หง่าง : ว. เสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  46. หง่าว : ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียก ว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.
  47. หงิง ๆ : ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
  48. หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ : ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ.
  49. หงุบหงับ : ว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยว อาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  50. หนวก : [หฺนวก] ว. อาการที่หูขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-963

(0.0429 sec)