Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียง , then สยง, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียง, 963 found, display 801-850
  1. หนวกหู : ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉัน หนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรําคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.
  2. หนอ : [หฺนอ] อ. คําออกเสียงแสดงความรําพึง เช่น ชีวิตนี้ไม่เที่ยงหนอ น่าอนาถจริงหนอ.
  3. หนังเงียบ : (ปาก) น. ภาพยนตร์ที่ไม่มีเสียงในฟิล์ม.
  4. หนังเรียด : น. หนังที่ทําเป็นเส้นแบน ๆ เล็ก ๆ สําหรับใช้โยงเร่งเสียง โดย สอดเข้าไปกับไส้ละมานที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของตะโพน เปิงมาง กลองสองหน้า เป็นต้น มักร้อยถี่จนมองแทบไม่เห็นตัวหุ่นกลอง ถ้าเร่งหนังเรียดให้ตึงขึ้นเท่าใด หน้ากลองก็ตึงยิ่งขึ้นเท่านั้น.
  5. หนังสือ : น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียน หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมาย ที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.
  6. หนับ : ว. มาก เช่น เหนียวหนับ, มีเสียงดังอย่างดึงของเหนียวจนขาดหรือปล่อย เช่น ดึงหนังสติ๊กดังหนับ.
  7. หน้าฉาก : (สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก.
  8. หน้าตา : น. เค้าหน้า เช่น เด็กคนนี้หน้าตาเหมือนแม่; เกียรติยศชื่อเสียง เช่น นักกีฬาไปแข่งขันชนะเลิศในต่างประเทศก็เป็นหน้าตาให้กับประเทศ ของตน.
  9. หน้าทับ : น. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกตะโพนหรือกลองแขก ซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่าง ๆ ใช้บอก สัดส่วนและประโยคของเพลงนั้น ๆ เช่น หน้าทับปรบไก่.
  10. หนุบ, หนุบ ๆ : ว. ลักษณะอาการตอด, อาการที่เจ็บในกายรู้สึกเต้นกระเทือนแต่น้อย ๆ; อาการที่ติดแน่นอยู่แล้วดึงออกมามีเสียงดังเช่นนั้น.
  11. หมดกัน : คําออกเสียงแสดงความเสียดายหรือผิดหวังเป็นต้น.
  12. หมาก ๒ : น. ผลไม้ เช่น หมากขาม แต่เสียงมักกร่อนเป็น มะ เช่น มะขาม.
  13. หมาถูกน้ำร้อน : (สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่าน ไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่าน ไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.
  14. หมาเห่าไม่กัด : (สำ) น. คนที่ดีแต่ส่งเสียงเอะอะอวดเก่ง แต่ไม่ยอมต่อสู้ หรือตอบโต้.
  15. หมิ่นประมาท : ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อ ความผิดทางอาญาฐานใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่า จะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง.
  16. หมุบหมิบ : ว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของ ปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า.
  17. หมุ่ย : ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง, มุย ก็ว่า.
  18. หย่ง ๒, หย่ง ๆ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการ ที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  19. หย่อง : น. สิ่งสําหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทําด้วย ทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบ ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียง กังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
  20. หริ่ง ๆ : ว. เสียงร้องของเรไร.
  21. หลง : [หฺลง] ก. สําคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออก ไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทางเหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝน หลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.
  22. หลอกหลอน : ก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอก หลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจ ที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมา คอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
  23. หลิ่ว : ว. เดี่ยว, หนึ่ง, เช่น นกเขาหลิ่ว คือ นกเขาขันเสียงเดียว.
  24. หลีบ : น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งมีเสียงสูง เรียกว่า ขลุ่ยหลีบ.
  25. ห้วน, ห้วน ๆ : ว. สั้น ๆ, ไม่มีหางเสียง, เช่น พูดห้วน ๆ, มีลักษณะที่จบลงอย่างรวบรัด เช่น บทความเรื่องนี้จบลงอย่างห้วน ๆ.
  26. หวย ก ข : น. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะ ในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง ๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃ เจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีน มาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก.
  27. หวอ : [หฺวอ] ว. เปิดเป็นช่องเป็นโพรง เช่น นั่งอ้าปากหวอ; ให้สัญญาณเสียงดัง เช่นนั้น.
  28. หวอด : น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.
  29. หวัด ๑ : น. อาการที่เยื่อของอวัยวะที่เป็นเครื่องหายใจอักเสบ มักทําให้เสียงแห้ง และนํ้ามูกไหล.
  30. หวั่นไหว : ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์, ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือน มาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.
  31. หวาก : ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้องไห้, ว้าก ก็ว่า.
  32. หวาน ๑ : ว. มีรสอย่างรสนํ้าตาล; เพราะ เช่น หวานหู เสียงหวาน, ชุ่มชื่น, ที่รัก เช่น หวานใจ; น่ารักชวนมอง เช่น หน้าหวาน; อ่อนสดใส ในคำว่า สีหวาน; (ปาก) ที่ทำได้ง่าย, ที่ทำได้สะดวก, เช่น เลขข้อนี้หวานมาก. ก. ชำรุด ไม่กินเกลียวกัน ในคำว่า เกลียวหวาน.
  33. หวิว, หวิว ๆ : ว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม, มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ; มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.
  34. หวี่ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Drosophilidae ตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร มักมีสีนํ้าตาลอมแดง ตาสีแดง มีปีกใสคู่เดียว มักตอมผลไม้ หรือผักเน่าเปื่อย ที่พบมากที่สุดเป็นชนิด Drosophila melanogaster นิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ของสัตว์. ว. มีเสียงอย่างเสียงแมลงหวี่กระพือปีก.
  35. หวีด : น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังเช่นนั้น เรียกว่า นกหวีด. ว. มีเสียงร้อง ดังเช่นนั้น โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง.
  36. หวือ : ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงสะเก็ดไม้กระเด็นอย่างแรง.
  37. หวูด : น. เครื่องเปิดไอนํ้าให้มีเสียงดังเช่นนั้น. ว. มีเสียงดังเช่นนั้น อย่างเสียงเปิดหวูด.
  38. หอน : ก. ร้องเสียงยาวโหยหวน (ใช้แก่หมา), (ปาก) เสียงวี้ดหรือกรี๊ดจากเครื่องยนต์ หรือเครื่องขยายเสียงเป็นต้น.
  39. หอบหืด : ก. อาการหายใจไม่สะดวก มีเสียงหวีดหวือ เนื่องจากหลอดลม หดเกร็ง มักเกิดในผู้ป่วยโรคหืด.
  40. หะ : ว. เสียงเปล่งเพื่อให้ลงมือพร้อมกัน.
  41. หะหาย, หะห้าย : ว. เสียงเยาะ เช่น หะหายกระต่ายเต้น ชมแข. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์).
  42. หะแห้น : (วรรณ) ว. เสียงร้องของสัตว์ดังเช่นนั้น.
  43. หันอากาศ : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทน เสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
  44. หัว ๓ : (โบ) ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ หรือ หัวร่อ ก็ว่า, ใช้ว่า หวัว หวัวเราะ หรือ หวัวร่อ ก็มี.
  45. หัวขวาน ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Picidae ไต่ตามต้นไม้ โดยใช้ปากเจาะต้นไม้เพื่อหากิน แมลง ขนหางแข็งช่วยพยุงตัวขณะไต่ต้นไม้ในแนวตั้ง เจาะต้นไม้เสียงดัง มาก ทํารังในโพรงไม้ สีสวย มีหลายชนิด เช่น หัวขวานสี่นิ้วหลังทอง (Chrysocolaptes lucidus) หัวขวานสีตาล (Celeus brachyurus).
  46. หัวคะแนน : (ปาก) น. ผู้รับหาคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง.
  47. หัวร่อ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวร่อ ก็มี.
  48. หัวเราะ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคํา หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี.
  49. หา ๒ : ว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.
  50. หางกังหัน : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า หางกังหัน ใช้แทนเสียง สระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-963

(0.0730 sec)