Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียง , then สยง, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียง, 963 found, display 851-900
  1. ห้าว : ว. แก่จัด ในคำว่า มะพร้าวห้าว; กล้าทางมุทะลุ เช่น คนห้าวมักไม่กลัวตาย; มีเสียงใหญ่.
  2. หีบเพลง : น. เครื่องอัดลมทําด้วยไม้หุ้มกระดาษมีรู มีลิ้นใช้นิ้วปิดเปิดให้ เป็นเสียงเพลง.
  3. หีบเพลงชัก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบ ส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือ มีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียง ประสาน. (อ. accordion).
  4. หีบเพลงปาก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ใช้ปากเป่า ลักษณะแบน ยาวประกอบด้วยลิ้นเสียง ๒ แถว แถวหนึ่งดังเมื่อเป่าลมออก อีกแถวหนึ่ง ดังเมื่อดูดลมเข้า. (อ. harmonica, mouth organ).
  5. หึ, หึ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  6. หุ่นขี้ผึ้ง : น. หุ่นที่ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นต้น มักทำเป็นรูปคนที่มีชื่อเสียง สวม ใส่เสื้อผ้า มองดูคล้ายคนจริง ๆ.
  7. หุยฮา : ว. เสียงหัวเราะเยาะเย้ย (มักใช้ในการละเล่น).
  8. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  9. หูดับ : ว. อาการของหูที่อื้อไปพักหนึ่งเนื่องจากได้ยินเสียงดังมาก.
  10. หูดับตับไหม้ : ว. ลักษณะเสียงที่ดังมากจนกลบเสียงอื่น.
  11. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  12. หูฝาด, หูเฝื่อน : ก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป.
  13. หูแว่ว : ก. ได้ยินเสียงแผ่ว ๆ ไม่ชัดเจน; ได้ยินไปเอง.
  14. หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
  15. หูหนวก : น. หูที่ขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง, โดยปริยายหมายความ ว่า ฟังอะไรไม่ได้ยิน.
  16. หูอื้อ : ว. อาการที่รู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในหูทำให้ไม่ค่อยได้ยินเสียง.
  17. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  18. เหง่ง : [เหฺง่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  19. เหน่ง ๒ : [เหฺน่ง] ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงระนาดเป็นต้น.
  20. เหน่อ : [เหฺน่อ] ว. มีเสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสําเนียงมาตรฐาน.
  21. เหม่ง ๒ : ว. มีเสียงดังเช่นนั้น.
  22. เหม่, เหม่ ๆ : [เหฺม่] (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. ว. เสียงดังเช่นนั้น แสดงความโกรธ.
  23. เหมียว ๑ : น. คำใช้เรียกแทนคำว่า แมว ตามเสียงร้องของมันในคำว่า อ้ายเหมียว อีเหมียว.
  24. เหมียว ๒, เหมียว ๆ : ว. มีเสียงอย่างเสียงแมวร้อง, เสียงร้องเรียกแมว.
  25. เหรอ, เหรอะ : (ปาก) คำที่มีเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า หรือ.
  26. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  27. เหะหะ : ว. มีเสียงอึกทึกอย่างคนเมาเหล้า.
  28. เห่า ๑ : ก. อาการส่งเสียงสั้น ๆ ของหมา.
  29. แห้ : ว. เสียงอย่างเสียงหมาคําราม, เขียนเป็น แฮ่ ก็มี.
  30. แหกปาก : (ปาก) ก. ตะเบ็งเสียง.
  31. แหง่ : [แหฺง่] น. เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกแหง่, ลูกกะแอ ก็ว่า; เรียกเด็กตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, (ปาก) เรียกเหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, โดยปริยายเรียกคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้นหรือยัง ทําอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่.
  32. แหบ : ว. ลักษณะของเสียงที่แห้งไม่แจ่มใส, เรียกชื่อของกลุ่มเสียงที่บีบให้สูง เป็นพิเศษของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉพาะปี่ในว่า เสียงแหบ.
  33. แหม่ : [แหฺม่] ว. เสียงขู่เด็กเล็ก ๆ ให้กลัว.
  34. แหม ๒ : [แหฺม] ว. เสียงที่เปล่งออกมาให้รู้สึกว่าเป็นการแปลกเป็นต้น.
  35. แหมะ ๒, แหมะ ๆ : [แหฺมะ] ว. เสียงดังอย่างเสียงน้ำหยด.
  36. แหลม : [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดิน หรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
  37. แหว : [แหฺว] ว. ลักษณะของเสียงดังที่แสดงอาการดุ. ก. แผดเสียงดุ.
  38. แหะ, แหะ ๆ : ว. เสียงคนหัวเราะมีเสียงเช่นนั้น. ก. ทำเสียงดังเช่นนั้น เช่น เขาไม่พูดอะไร ได้แต่แหะ ๆ.
  39. โห่ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนําเพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทําเสียงเช่นนั้น; โดยปริยาย หมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
  40. โหน่ง : [โหฺน่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงตีฆ้องวง.
  41. โหม่ง ๒ : [โหฺม่ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ฆ้องคู่. ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง.
  42. โหย่ง ๒, โหย่ง ๆ : [โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตน สูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้า ที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.
  43. โหยหวน : ว. ลักษณะของเสียงที่คร่ำครวญด้วยความเสียใจหรือเจ็บปวด เป็นต้น ทำให้รู้สึกวังเวงใจ.
  44. โหวกเหวก : [โหฺวกเหฺวก] ว. มีเสียงดังเอะอะโวยวาย เช่น เรียกกันโหวกเหวก ตะโกน โหวกเหวก.
  45. โหวด ๑ : [โหฺวด] (โบ) น. เครื่องเปิดไอนํ้าให้มีเสียงดังเช่นนั้น. ว. เสียงดังเช่นนั้น อย่างเสียงเปิดโหวด.
  46. โหวต : [โหฺวด] (ปาก) ก. ออกเสียงลงคะแนน. (อ. vote).
  47. อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  48. อปยศ, อัปยศ : [อะปะยด, อับปะยด] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอายขายหน้า. (ส.).
  49. อภิรุต : น. เสียง, เสียงร้อง. (ป., ส.).
  50. อรรธสระ : [อัดทะสะหฺระ] น. เสียงกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-963

(0.0931 sec)