Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียง , then สยง, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียง, 963 found, display 901-950
  1. อ้วก : ก. ราก, อาเจียน. ว. เสียงราก, เสียงอาเจียน.
  2. ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่า และออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ออกยักษ์ เป็น ออกยักษ์ ออกโขน.
  3. ออกงิ้ว : ก. แสดงอาการโกรธโดยทําท่าทางและส่งเสียงเอะอะตึงตัง อย่างเล่นงิ้ว.
  4. ออกยักษ์ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่าง เล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.
  5. ออกวิทยุ : ก. กระจายเสียงทางวิทยุ.
  6. ออกอากาศ : ก. กระจายเสียงทางวิทยุ, กระจายเสียงและแพร่ภาพ ทางโทรทัศน์.
  7. ออด ๑ : ก. พรํ่าอ้อนวอน, พรํ่ารําพัน. (ปาก) น. เครื่องบอกสัญญาณที่มี เสียงดังเช่นนั้น.
  8. ออด ๒, ออด ๆ : ว. ไม่หยุดหย่อน (มักใช้แก่กริยาบ่น); เสียงดังเช่นเสียงของแข็ง ๆ เสียดสีกัน.
  9. อ๊อดแอ๊ด, อ๊อด ๆ แอ๊ด ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงเปิดปิดประตูที่บานพับฝืดเป็นต้น.
  10. อ่อย ๒, อ่อย ๆ : ว. ค่อย ๆ เบา ๆ, เช่น เสียงอ่อยพูดอ่อย ๆ.
  11. อ้อแอ้ : ว. อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการพูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
  12. อะเอื้อย : ว. เจื้อยแจ้ว, เอื่อย ๆ, (ใช้แก่เสียง).
  13. อักขรวิบัติ : น. การเขียน อ่าน หรือออกเสียงไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี.
  14. อั้ก, อั้ก ๆ, อั๊ก, อั๊ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกําปั้นหรือเสียง ดื่มนํ้าอย่างเร็วเป็นต้น.
  15. อังกะลุง : น. ชื่อเครื่องดนตรีอย่างหนึ่งของชวา ใช้เขย่าให้เกิดเสียง.
  16. อัปยศ : [อับปะ] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอาย ขายหน้า; อปยศ ก็ว่า. (ส. อปยศสฺ).
  17. อา ๒ : (กลอน) ว. คําออกเสียงท้ายคําพูดในความรําพึงหรือวิตกเป็นต้น เช่น แม่อา พี่อา.
  18. อ้า ๒ : ว. คำออกเสียงขึ้นต้นประโยคในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง หรือพรรณนาวิงวอนอย่างเดียวกับคำ โอ้ หรือ โอ้ว่า.
  19. อาณัติสัญญาณ : น. เครื่องหมายตามที่กําหนดรู้กันโดยอาศัยรูปหรือ เสียงเป็นต้น.
  20. อ่าน : ก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้า ไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้ เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).
  21. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  22. อินทรวงศ์ : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสําเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๗ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลัง เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๓ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช).
  23. อินทรียสังวร : น. ความสํารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).
  24. อิเล็กโทน : น. เครื่องดนตรีไฟฟ้าชนิดหนึ่ง สามารถทําเสียงเครื่องดนตรี หลายชนิดได้ในเวลาเดียวกัน. (อ. electone).
  25. อี๊ด : ว. เสียงร้องดังเช่นนั้น.
  26. อึ๊ก ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงสะอึก.
  27. อึก ๑, อึ้ก, อึ้ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกำปั้นหรือเสียงดื่มน้ำ อย่างเร็วเป็นต้น.
  28. อึก ๒ : น. ลักษณนามเรียกอาการกลืนของเหลวหรือเสียงทุบแผ่นหลังด้วย กำปั้นครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ดื่มน้ำ ๓ อึก เขาถูกทุบไป ๓ อึก.
  29. อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
  30. อึ่งยาง, อึ่งอ่าง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาว ประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน ร้อง เสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ ชนิด K. pulchra และอึ่งอ่างหลังขีด (K. mediolineata).
  31. อึงอล : ว. ดังลั่น เช่น เสียงคลื่นลมอึงอล.
  32. อื้อ : ว. อาการที่รู้สึกมีเสียงดังอยู่ในหู, ไม่ได้ยิน; (ปาก) มาก เช่น รวยอื้อ บ่นกันอื้อ.
  33. อุก ๑ : น. ชื่อเรียกปลากดหลายชนิดในวงศ์ Ariidae ซึ่งเมื่อถูกจับขึ้นมา พ้นนํ้าจะร้องเสียงอุก ๆ.
  34. อุทาน ๑ : น. เสียงหรือคําที่เปล่งออกมาเวลาตกใจ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น; ในไวยากรณ์เรียกคําหรือเสียงที่เปล่งออกมาเช่นนั้นว่า คําอุทาน. (ป., ส.).
  35. อุปฮาด : [อุปะ, อุบปะ] น. (โบ; ถิ่นอีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองใน ภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้ว ผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่นพายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจาก ตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.
  36. อุ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจ มักเป็นเสียงผู้หญิง.
  37. อุแว้ : ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ) เช่น เด็กคนนี้ พออุแว้ออกมาก็มีเงิน เป็นล้านแล้ว, แว้ ก็ว่า. ว. เสียงอย่างเสียงเด็กแดง ๆ ร้อง เช่น เสียงลูกร้องอุแว้, แว้ ก็ว่า.
  38. อู้ ๑ : ว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สาย ชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนัง แพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรือ งา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.
  39. อูด ๑ : น. เครื่องที่ทําให้ว่าวมีเสียงดังเมื่อถูกลมพัด เช่น อูดที่หัวว่าวจุฬา.
  40. อู้อี้ : ว. มีเสียงไม่ชัดเจนอย่างเสียงคนจมูกบี้หรือคนบ่น.
  41. อู๋อี๋ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงชักคันซอ.
  42. เอกโทษ : [เอกโทด] น. คําที่เคยใช้ไม้โทโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ ไม้เอกเสียงเดียวกันในบทร้อยกรองประเภทโคลงที่บังคับใช้ไม้เอก เช่น เข้า เป็น เค่า, ถ้า เป็น ท่า.
  43. เอก, เอก : [เอกะ, เอกกะ] ว. หนึ่ง (จํานวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้น หรือขั้นของยศ ตําแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สําคัญ เช่น ตัวเอก; เรียก ระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง ๒ อันสําหรับตี ว่า ระนาดเอก. (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). (ป., ส.).
  44. เอ๋ง : ว. เสียงอย่างเสียงหมาร้องเมื่อถูกตีเป็นต้น.
  45. เอ็ด ๒ : ก. ทําเสียงดัง, ดุ, ดุเสียงดัง; แพร่งพราย; มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่าเอ็ดไป. ว. เอะอะ, อึกทึก.
  46. เอ็ดตะโร : ก. ทําเสียงอึกทึกครึกโครม, ดุด้วยเสียงดังลั่น. ว. อึกทึกครึกโครม.
  47. เอ่ย ๒ : ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. ว. คําออกเสียงใช้ในความเพื่อให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย.
  48. เอะอะ : ก. อึกทึก, ทําเสียงดังโวยวาย; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น เอะอะก็ไป เอะอะก็ด่า, อึกอัก ก็ว่า.
  49. เอะอะมะเทิ่ง : (ปาก) ก. ส่งเสียงดัง, เอ็ดตะโรโดยไม่เกรงใจผู้อื่น.
  50. เอาชื่อ : ว. มุ่งให้ได้ชื่อเสียง เช่น ทำงานเอาชื่อ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-963

(0.0898 sec)