Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กรา , then กร, กระ, กรา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กรา, 694 found, display 1-50
  1. กรลุมพาง : [กระ] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรใน ใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
  2. ศรรกรา : [สักกะรา] น. ก้อนกรวด; นํ้าตาลกรวด. (ส. ศรฺกรา; ป. สกฺกร). [สะระวะนะ, สาวะนะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๒ มี ๓ ดวง เห็นเป็น รูปหามผีหรือโลง, ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี ก็เรียก. (ส.).
  3. กระกร : (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
  4. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  5. กร ๒ : [กอน] น. มือ (มักใช้ในบทประพันธ์); แขน เช่น เจ้างามกรอ่อน ดังงวงเอราวัณ. (กลบท). (ป., ส.).
  6. กร ๓ : [กอน] น. แสง, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น รัชนีกร. (ป.).
  7. กระ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคล้ำ เกือบดํา เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม ภายในมี เนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้ว กินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
  8. กรัม : [กฺรํา] น. หน่วยมาตราชั่งน้ำหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา = ๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑,๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, ตามมาตราประเพณี อัตรา ๖๐๐ กรัม = ๑ ชั่งหลวง, อักษรย่อว่า ก. (ฝ. gramme).
  9. กรำ : [กฺรํา] ว. ตรํา, ฝ่า, ทนลําบาก, เช่น กรําแดด กรําฝน, เคี่ยวเข็ญเย็นค่ากรําไป. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
  10. กามสมังคี : ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกาม สมังคีศรีสุขุมสุข. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป. กาม + สมงฺคี = มีความพร้อมเพรียง).
  11. กราะ ๑ : [เกฺราะ] น. เครื่องสวมใส่หรือเครื่องหุ้มสําหรับป้องกันอาวุธ หรืออันตราย เช่น เสื้อเกราะ รถเกราะ.
  12. กราะ ๒ : [เกฺราะ] น. เครื่องสัญญาณทําด้วยไม้ ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง.
  13. กราะ ๓ : [เกฺราะ] ว. แห้งจนกรอบในลักษณะอย่างหญ้าแห้งหวายแห้งเป็นต้น เช่น ฟางแห้งเกราะ มะขามเกราะ.
  14. กราะ ๔ : [เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะ ให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).
  15. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  16. ซั้ง : น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่นํ้า เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อปลาให้เข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับ ก็เอาเฝือกหรืออวนล้อมแล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, กรํ่า หรือ กลํ่า ก็ว่า.
  17. ตร่ำ : [ตฺรํ่า] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน, กรํ่า ก็ว่า.
  18. สรุกเกรา : [เกฺรา] น. บ้านนอก. (ข. สฺรุกเกฺรา).
  19. กร ๑ : [กอน] น. ผู้ทํา, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น กรรมกร เกษตรกร. (ป.).
  20. กระ ๑ : น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Eretmochelys imbricata ในวงศ์ Cheloniidae หลังเป็นเกล็ดแผ่นโต ๆ ดูเหมือนซ้อนเหลื่อมกันอย่างกระเบื้องมุง หลังคาสีน้ำตาลลายเหลือง ปากงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว ขาแบนเป็นพาย มีไข่กลมเปลือกนิ่มเหนียว ไข่ตามหาดทรายครั้งละ ๑๕๐-๒๕๐ ฟอง. (ข. กราส่).
  21. กระ ๓ : น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
  22. กระทุ่ม ๒ : ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ ร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
  23. กระสานติ์ : (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรงกรษัตร ให้กรสานต์. (ยวนพ่าย). (กระ + ป. สนฺติ; ส. ศานฺติ).
  24. กรกัติ : [กฺระกัด] (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น กรกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
  25. กรรดิ : [กัด] ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี. (ยวนพ่าย). (เลือนมาจาก ป. กตฺถติ ว่า ยกย่อง, สรรเสริญ).
  26. กรรุณา : [กฺระ-] (โบ) น. กรุณา เช่น ถ้าทรงพระกรรุณา. (สามดวง).
  27. กรสานต์ : [กฺระ-] (โบ; กลอน) ว. กระสานติ์, สงบ, ราบคาบ, เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย).
  28. กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
  29. กระกรับกระเกรียบ : (โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คําหลวง กุมาร).
  30. กระกลับกลอก : (กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตําราช้างคําฉันท์).
  31. กระกัติ : (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
  32. กระเกรอก : [-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).
  33. กระเกริ่น : (กลอน) ว. ระบือ เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
  34. -กระเกรียบ : ใช้เข้าคู่กับคำ กระกรับ เป็น กระกรับกระเกรียบ.
  35. กระเกรียม : (โบ; เลิก) ก. ตระเตรียม, จัดไว้ให้บริบูรณ์, เช่น กระเกรียมพร้อมเสร็จสําเร็จการ. (คาวี).
  36. กระเกรียว : (โบ; กลอน) ว. เสียงดังเกรียว ๆ เช่น ก็ร้องกระเกรียวเฉียวฉาว. (สุธน).
  37. กระเกรี้ยว : (โบ; กลอน) ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  38. กระเกลือก : (โบ; กลอน) ก. เกลือกไปมา เช่น กล่ำตากระเลือก กระเกลือก กลอกตากลม. (ลอ).
  39. กระงกกระงัน : (โบ) ว. งก ๆ งัน ๆ เช่น ถึงว่าจะกระงกกระงันงมเงื่อนเหงาหง่อย พี่ก็ไม่คิด. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  40. กระจ้อย : ว. จ้อย, เล็กน้อย, เช่น เดินร่อยเรี่ยงามตรูกระจ้อย. (ประพาสธารทองแดง).
  41. -กระจิ๋ง : ใช้เข้าคู่กับคํา กระจุ๋ง เป็น กระจุ๋งกระจิ๋ง.
  42. -กระจิ๋ม : ใช้เข้าคู่กับคํา กระจุ๋ม เป็น กระจุ๋มกระจิ๋ม.
  43. กระเจอะกระเจิง, กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น เฒ่าก็เที่ยวสัญจร กระเจอะกระเจิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กองทัพข้าศึกถูกตีแตก กระเจิดกระเจิงไป.
  44. กระแฉ่น : (โบ) ก. ดังสนั่น เช่น ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู. (แช่งน้ำ).
  45. กระช้อย : ว. ชดช้อย เช่น ดูเราะรายเรียบร้อยกระช้อยชด. (นิ. เดือน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระชด เป็น กระชดกระช้อย.
  46. กระช่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น เวหาเห็นกระช่าง. (ม. คําหลวง กุมาร), กระซ่าง ก็ว่า.
  47. กระชุน : ดู กระทุน.
  48. กระซ่องกระแซ่ง : ว. กระย่องกระแย่ง, ซ่องแซ่ง ก็ว่า.
  49. กระซ่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น กระซ่างฟ้าเห็นกัน. (ม. คําหลวง สักบรรพ), กระช่าง ก็ว่า.
  50. กระเซอะกระเซอ : ก. เซ่อเซอะ เช่น ชังน้ำหน้าบ้าเคอะกระเซอะกระเซอ. (คาวี).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-694

(0.1779 sec)