Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คบค้าสมาคม, สมาคม, คบค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คบค้าสมาคม, 29 found, display 1-29
  1. คบค้า, คบค้าสมาคม : ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบหา ก็ว่า.
  2. สมาคม : [สะมา] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า; แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.
  3. คบหา : ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบค้า หรือ คบค้าสมาคม ก็ว่า.
  4. สมาคมการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจอันมิใช่ เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
  5. ขาดกัน : ก. แยกจากกัน ไม่คบค้าสมาคมกันต่อไป เช่น แม้นมิยก พลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ ขาดกันจนบรรลัย. (อิเหนา).
  6. คว่ำบาตร : (สํา) ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่ พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น.
  7. ออกมหาสมาคม : ก. ออกที่ประชุมใหญ่ในพระราชพิธีสำคัญ, ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ ว่า เสด็จออกมหาสมาคม.
  8. ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
  9. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  10. นายก : [นายก] น. ผู้นํา, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น นายกราชบัณฑิตยสถาน นายก สมาคม นายกสโมสร. (ป., ส.).
  11. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  12. สหพันธ์ : น. สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ ๒ สหภาพหรือ ๒ สมาคม ขึ้นไปที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหพันธ์กรรมกร. สหพันธรัฐ น. รัฐหลายรัฐที่รวมกันเป็นรัฐรวม โดยมีรัฐบาลกลาง เป็นผู้ดําเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมตามที่กําหนด ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ละรัฐมีอํานาจเฉพาะกิจการภายในรัฐของตน เท่านั้น. (อ. federal state).
  13. องค์การ : น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็น หน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. (อ. organization).
  14. กรรมสัมปาทิก : [กํามะสําปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการ ของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).
  15. เก็บตัว ๒, เก็บเนื้อเก็บตัว : ก. สงวนตัวไม่ไปงานสังคม, ไม่ออกสังคม, ไม่คบหาสมาคมกับใคร.
  16. เกลือก ๑ : [เกฺลือก] ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา. เกลือกกลั้ว ก. คบหาสมาคม, คลุกคลี, เช่น เกลือกกลั้วกับคนพาล; ทําให้มัวหมอง, ทําให้มีมลทิน, เช่น ไม่มีอะไรมาเกลือกกลั้ว. เกลือกกลิ้ง ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้หรือด้วย ความทุกข์ทรมาน เช่น นอนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.
  17. เข้าไหนเข้าได้ : ก. สามารถติดต่อหรือคบหาสมาคมกับใคร ๆ ได้.
  18. จะกละ ๒ : น. ชื่อผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีรูปเป็นแมว อยู่ในจําพวกผีป่า หมอผี ชาวป่าเลี้ยงไว้ใช้ไปทําร้ายศัตรู. (สยามสมาคม).
  19. เปรี้ยว : [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
  20. เปิด : ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์ กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด ไปไกลแล้ว.
  21. เลขาธิการ : น. ผู้ดํารงตําแหน่งบริหารระดับสูงตําแหน่งหนึ่ง เช่น เลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เลขาธิการ รัฐสภา เลขาธิการสมาคม. (ส. เลขาธิการี ว่า เสมียนของพระเจ้า แผ่นดิน).
  22. สกลมหาสังฆปริณายก : [สะกนมะหาสังคะปะรินายก] (กฎ) น. ตําแหน่งของสมเด็จพระสังฆราช ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง ทรงมีอํานาจบัญชาการ คณะสงฆ์ ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับ กฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม.
  23. สมัคร : [สะหฺมัก] ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้า ทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการ เน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ; ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).
  24. สมาชิก ๑ : [สะมา] น. ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือกิจกรรม ใด ๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสมาคมศิษย์เก่า สมาชิก วารสาร, (ปาก) ลูกค้า, ขาประจำ, เช่น หมู่นี้สมาชิกไม่ค่อยมาอุดหนุน ที่ร้านเลย. (ป., ส.).
  25. สังคม, สังคม : [คมมะ] น. คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการ หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับ การพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).
  26. หมาขี้เรื้อน : (สำ) น. คนที่น่ารังเกียจ ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย (ใช้กล่าว ถึงผู้อื่นด้วยความดูถูกเหยียดหยาม).
  27. หันหลังให้กัน : (สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน.
  28. เหรัญญิก : น. ตําแหน่งกรรมการเจ้าหน้าที่ของสมาคมเป็นต้น ทําหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน.
  29. อั้งยี่ : น. สมาคมลับของคนจีน; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานเป็นสมาชิก ของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดําเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อ การอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่. (จ.).
  30. [1-29]

(0.0153 sec)