Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเบื่อหน่าย, เบื่อ, หน่าย, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเบื่อหน่าย, 3329 found, display 1-50
  1. หน่าย : ก. เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความพัวพัน, คลายจากความรัก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบื่อ เป็น เบื่อหน่าย.
  2. ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
  3. เบื่อ : ก. รู้สึกอิดหนาระอาใจ เหนื่อยหน่าย หรือไม่อยาก เช่น เบื่องาน เบื่อโลก เบื่ออาหาร.
  4. นิพพิทา : [นิบพิทา] น. ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
  5. นิพพิทาญาณ : น. ความรู้ที่ทําให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
  6. แววตา : น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).
  7. สยิ้ว : [สะยิ่ว] ก. ทําหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์.
  8. เบื่อ : ก. วางยาพิษเป็นต้นให้เมาหรือให้ตาย เช่น เบื่อหนู เบื่อปลา. ว. เมา. น. เรียกสารที่ทําให้เมาหรือให้ตายว่า ยาเบื่อ.
  9. รำคาญ : ก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่น ทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกัน ทำให้รำคาญ.
  10. เหม็นเบื่อ : ก. เบื่อหน่ายเพราะจําเจ.
  11. ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  12. ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
  13. ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
  14. ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
  15. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  16. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
  17. ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  18. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  19. ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  20. เบื่อเป็นยารุ : ว. เบื่อมากเหมือนกับยารุที่ไม่มีใครอยากกิน เพราะ มีกลิ่นเหม็นและรสขมเฝื่อน.
  21. หน่ายหนี : ก. จากไปเพราะเบื่อหรือทนไม่ไหวเป็นต้น.
  22. หน่ายแหนง : [หฺน่ายแหฺนง] ก. ระอาเพราะหมางใจหรือแคลงใจเป็นต้น, แหนงหน่าย ก็ว่า.
  23. ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
  24. ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
  25. กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
  26. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  27. ระอมระอา : (กลอน) ก. เบื่อหน่ายเต็มที.
  28. ระอา : ก. เบื่อหน่ายหรือหมดกําลังใจเพราะถูกรบกวน, ทําให้เกิดรําคาญหรือ มีเหตุติดขัดบ่อย ๆ, ระอิดระอา ก็ว่า.
  29. รำคาญใจ : ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้ พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.
  30. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  31. วิราคะ : น. ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; พระนิพพาน. (ป., ส.).
  32. เว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
  33. โว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า.
  34. หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
  35. อิดหนาระอาใจ : ก. เบื่อหน่าย, เอือมระอา.
  36. เอือม : ว. เบื่อหน่ายในสิ่งที่ซํ้า ๆ ซาก ๆ มากเกินไป.
  37. กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
  38. กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
  39. กินความ : ก. หมายความไปถึง, ได้ความครบอย่างกะทัดรัด.
  40. เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
  41. ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
  42. คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
  43. คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
  44. คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
  45. คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
  46. คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
  47. จับความ : ก. จับใจความ, เข้าใจความหมาย.
  48. จำกัดความ : ก. ให้ความหมายอย่างกะทัดรัด, กําหนดความหมาย.
  49. จำกัดความรับผิดชอบ : น. บริษัทจำกัดซึ่งจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น ไว้ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่ารวมของหุ้นที่ตนถือ.
  50. แจ้งความ : ก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3329

(0.1400 sec)