Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชุม , then ชม, ชุม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชุม, 76 found, display 1-50
  1. ชุม : ก. มารวมกันจากที่ต่าง ๆ เช่น ชุมพล; ดาษดื่น, มีมาก, เช่น ขโมยชุม ยุงชุม.
  2. ชุมเห็ด : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Senna วงศ์ Leguminosae คือ ชุมเห็ดไทย [S. tora (L.) Roxb.] ใบเล็ก และ ชุมเห็ดเทศ [S. alata (L.) Roxb.]ใบใหญ่, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทํายาได้.
  3. ชุมทางรถไฟ : น. สถานีที่รวมทางแยกรถไฟ.
  4. ชุมเพ็ด : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  5. ชม ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ชม เช่น ชมดง ชมตลาด.
  6. กระทุ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลา ขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.
  7. กะดี : น. โรงที่ประชุมทําพิธีฝ่ายศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็น เช่น กะดีเจ้าเซ็นแขกเต้น ตีอก. (นิ. ประธม). (เทียบ ฮินดี คัดดี ว่า พระแท่น).
  8. ขมอย : [ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่า ฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่ หรือของน้อง).
  9. ฉ่า : ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลง แม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงน้ำดัง เช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  10. ชม ๑ : ก. สรรเสริญ, ยกย่อง; ดู (ใช้ในที่สุภาพ) เช่น เชิญชมของ ในร้าน, ดูเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจหรือชื่นใจ เช่น ชมสวน ชมนกชมไม้.
  11. ทั้ง : ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อม ด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กําหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา, ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด; ทั้งที่ เช่น ทําทั้งรู้ ๆ กินทั้งจืด ๆ ล้มทั้งยืน; มิหนําซํ้า เช่น ของนี้คุณภาพตํ่า ทั้งราคาก็แพง ยานี้จะทําให้ท้องผูกทั้งจะทําให้ใจสั่นอีกด้วย.
  12. ทุกพาย : (โบ) ว. ทุกแห่ง เช่น กระทำพุทธประติมาทุกแห่งทุกพาย. (จารึกวัดศรีชุม).
  13. โบสถ์ : น. สถานที่สําหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวด พระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลม เรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคําว่า อุโบสถ). (ป. อุโปสถ).
  14. มหาธาตุ : น. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ ก็เรียก; เรียกพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า มหาธาตุ เช่น เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพล ขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลัง พระมหาธาตุนี้. (ศิลาจารึกนครชุม), เรียกวัดที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ ที่บรรจุพระบรมธาตุว่า วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีมหาธาตุบ้าง วัดพระศรี รัตนมหาธาตุบ้าง.
  15. ยมนา : [ยมมะนา] น. แม่นํ้าใหญ่, ชื่อแม่นํ้าสายหนึ่งในอินเดีย คือ แม่นํ้ายมุนา ซึ่งเรียกเพี้ยนเป็น ชุมนา ก็มี. (ป., ส. ยมุนา).
  16. สังคายนา, สังคายนาย : [คายะ, คายยะ] น. การซักซ้อม, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบ เดียวกัน, การประชุมชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ปาก) ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. (ป. สงฺคายน).
  17. อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
  18. ชมสวนสวรรค์ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  19. กระต่ายชมจันทร์ : น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน); เพลงเสภา ๒ ชั้น ของเก่าพวกเพลงเกร็ด.
  20. ชะแม่ : น. หัวหน้าโขลน.
  21. ชุ่ม : ก. มีนํ้าหรือของเหลวซึมซาบเอิบอาบอยู่ เช่น ชุ่มคอ.
  22. แช่ม : ว. แจ่มใส, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น แช่มช้อย แช่มชื่น.
  23. นางจุม, นางชม : ดู กะทกรก(๑).
  24. ชอม ๑ : ก. ชม.
  25. ชมนาด : [ชมมะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด Vallaris glabra Kuntze ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาวเป็นช่อ กลิ่นเหมือนข้าวใหม่, ดอกข้าวใหม่ ก็เรียก, เขียนเป็น ชํามะนาด ก็มี.
  26. กะทกรก : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Olax scandens Roxb. ในวงศ์ Olacaceae ตามลําต้นมีหนามห่าง ๆ ใบรูปไข่หรือรี ๆ ดอกเล็ก สีขาว อยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่า เม็ดบัวเขื่อง ๆ เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป, น้ำใจใคร่ นางจุม หรือ นางชม ก็เรียก, อุดรเรียก เยี่ยวงัว. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลือง มีกาบเป็นฝอยหุ้ม ยอดนํามาต้มใช้เป็นผัก, เถาเงาะ เงาะป่า หญ้ารกช้าง เถาสิงโต ถลกบาตร หรือ กระโปรงทอง ก็เรียก.
  27. กะเผ่น : (กลอน) ว. เผ่น, ลอย, เช่น ชมบรรพตเสลาสูงกะเผ่น. (พงศ. เหนือ).
  28. กะระหนะ : น. ชื่อเพลงไทยของเก่า เป็นเพลงเครื่องสายประสมปี่พาทย์ ทําตอนชมสวนหรือเล่นสนุก เช่น ในเรื่องอิเหนาตอนอุณากรรณ เล่นมโหรีกับพวกในสวนดอกไม้เมืองกาหลัง.
  29. โกศ ๒ : [โกด] น. ฝัก, กระพุ้ง; ดอกไม้ตูม เช่น ชมช่อไม้เหมือนแก้ม โกศเกลา. (ทวาทศมาส).
  30. แง่ ๒ : (โบ) น. ตัว เช่น แต่งแง่. (จารึกสยาม), มิแต่งแง่ให้แม่ชม มิหวีผม ให้แม่เชย. (ลอ).
  31. จรรโจษ : [จันโจด] ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า.
  32. จ่ามงกุฎ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายกะละแมขาว มีไส้เป็นถั่วลิสงเม็ด ห่อด้วย ใบตองอ่อนนาบ เช่น งามจริงจ่ามงกุฎ ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง. (เห่ชมเครื่องคาวหวาน).
  33. จู้ ๑ : (ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.
  34. ชมเปาะ : ก. ชมไม่ขาดปาก, ชมด้วยความจริงใจ.
  35. ชมพู่ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Syzygium วงศ์ Myrtaceae ผลกินได้ เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม [S. samarangense (Blume) Merr. et L.M. Perry] ชมพู่นํ้าดอกไม้ [S. jambos (L.) Alston] ชมพู่สาแหรก [S. malaccensis (L.) Merr. et L.M. Perry].
  36. ชระเมียน : [ชฺระ] (กลอน) ก. ชม, ดู
  37. ชอุ่ม : [ชะ] ว. ชุ่ม, สดชื่น, เช่น เขียวชอุ่ม;ชุ่มด้วยละอองนํ้า จนเห็นเป็นมืดคลุ้มหรือมืดมัว เช่น ท้องฟ้าชอุ่ม.
  38. โชว์ : ก. เปิดอวดให้ดู, แสดงให้คนทั่วไปได้ดูได้ชม เช่น โชว์สินค้า. (อ. show).
  39. ถวาย : [ถะหฺวาย] ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์หรือ เจ้านาย); ให้ดู, ให้ชม, เช่น รําถวายมือ เล่นถวายตัว, แผลงเป็น ดงวาย หรือ ตังวาย ก็ได้.
  40. ถวายกร : ก. ไหว้เจ้านาย, รําให้เจ้านายชม.
  41. ทัศนาจร : ก. ท่องเที่ยว. น. การท่องเที่ยว, การไปเที่ยวชมภูมิประเทศ หรือโบราณสถานเป็นต้น.
  42. นกกางปีก : น. กลอักษรชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า แสนรักร้อน (ร้อนรัก) หนักอกเอ๋ยฉันใดจะได้ชมชิด (ชิดชม) เชย ไม่ลืมเลย (เลยลืม) ปลื้มอาลัย.
  43. นำเที่ยว : ก. พาเที่ยวชมบ้านชมเมือง.
  44. นิทรรศการ : [นิทัดสะกาน] น. การแสดงผลงาน สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรม ให้คนทั่วไปชม. (อ. exhibition).
  45. นิยม : (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.
  46. บรรทับ : [บัน-] (โบ; กลอน) ก. ประทับ เช่น ถนอมบรรทับออมชม ทราบเนื้อ. (ทวาทศมาส).
  47. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  48. ปาสาทิกะ : (แบบ) ว. นํามาซึ่งความเลื่อมใส; น่ารัก, น่าชม. (ป.).
  49. เปาะ : ว. ไม่หยุดปาก (ใช้แก่กริยาชม); เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเคาะไม้.
  50. พิสมัย : [พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่ หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).
  51. [1-50] | 51-76

(0.0540 sec)