Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตื่นกลัว, ตื่น, กลัว , then กลว, กลัว, ตน, ตนกลว, ตื่น, ตื่นกลัว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตื่นกลัว, 608 found, display 1-50
  1. กลัว : [กฺลัว] ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น กลัวเสือ กลัวไฟไหม้.
  2. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  3. กลัวน้ำ : น. โรคพิษสุนัขบ้า เรียกว่า โรคกลัวน้ำ.
  4. กลัวลาน : ก. กลัวจนตั้งสติไม่อยู่.
  5. เกรงกลัว : ก. กลัว.
  6. ผวา : [ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัว เข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาด สะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.
  7. เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
  8. สะพรึงกลัว : ว. น่าพรั่นพรึง ใช้ว่า น่าสะพรึงกลัว เช่น เห็นร่างดำทะมึน น่าสะพรึง กลัว.
  9. มะพร้าวตื่นดก : (สํา) ก. เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี, มักพูดเข้าคู่กับ ยาจกตื่นมี ว่า มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี.
  10. กระดก ๒ : (โบ; กลอน) ก. ตระหนก, กลัว, เช่น ก็กระดกตกใจกลวว แก่มรณภยานตราย. (ม. คําหลวง ชูชก).
  11. กระต่ายตื่นตูม : (สํา) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการ ตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสํารวจให้ถ่องแท้ก่อน.
  12. แกลน : [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร. (สรรพสิทธิ์).
  13. เจ๊กตื่นไฟ : (ปาก) ว. ตื่นตกใจและเอะอะโวยวายเกินกว่าเหตุ.
  14. แยง ๒ : ก. เยง, กลัว, เกรง.
  15. หน้าตาตื่น, หน้าตื่น : ว. มีสีหน้าตื่นเต้นตกใจเป็นต้น เช่น เขาวิ่งหนีไฟ หน้าตาตื่นมา.
  16. หวั่นกลัว, หวั่นเกรง : ก. หวั่นวิตกไปเอง, นึกกลัวไปเอง.
  17. หวาดกลัว, หวาดเกรง : ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.
  18. ตน : น. ตัว (ตัวคน) เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน; ลักษณนามใช้เรียกเทวดา ยักษ์ หรือพวกกายสิทธิ์ เป็นต้น เช่น ยักษ์ตนหนึ่ง เทวดา ๒ ตน.
  19. เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
  20. ฟื้นองค์ : (กลอน) ก. ตื่น (ใช้แก่พระมหากษัตริย์).
  21. ขนหย็อง : น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนก ที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว.
  22. ขี้หดตดหาย : (ปาก) ว. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจน ขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก.
  23. ภีตะ : ก. กลัว. (ป., ส.).
  24. ระลง : (กลอน) ก. ครั่นคร้าม, กลัว.
  25. ลานตา. : ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน.
  26. วาบ : ว. อาการที่รู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น ขึ้นทันทีแล้ว หายไปดับไป เช่น เย็นวาบ ใจหายวาบ เสียววาบ; วับ.
  27. สยอน : [สะหฺยอน] ก. หวาดเสียว, กลัว.
  28. หนาวใจ : ว. สะท้านใจ, เยือกเย็นใจ, คร้ามเกรงภัย, กลัว.
  29. หัวหด : ก. กลัวมาก, ขยาด, เช่น ได้ยินแค่ชื่อก็หัวหดแล้ว. ว. ใช้ประกอบ กับคำ กลัว ในความว่า กลัวจนหัวหด หมายความว่า กลัวมาก.
  30. กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
  31. ข่มขู่ : ก. ทําให้กลัว, ทําให้เสียขวัญ; (กฎ) ทําให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อยร้ายแรงถึงขนาดที่จะพึงกลัว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง การข่มขู่อาจทำให้นิติกรรมเสื่อมเสียได้.
  32. ชาคริต : [–คฺริด] ก. ตื่น, ระวัง. (ส.).
  33. ลืมตัว : ก. ขาดสติไปชั่วคราว, เผลอตัวไปชั่วคราว, เช่น เวลาโกรธ เขาลืมตัวไม่กลัวตาย; ลืมตน, ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, เช่น เมื่อเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา มีคนประจบสอพลอมาก ทำให้เขา ลืมตัว.
  34. หลงใหลได้ปลื้ม : (สำ) ก. ตื่นเต้นยินดีเมื่อตนเองหรือผู้อื่นได้ดิบได้ดีเป็นต้น เช่น อย่ามัวหลงใหลได้ปลื้มกับรางวัลจนลืมหน้าที่การงานของตน.
  35. หลอกหลอน : ก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอก หลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจ ที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมา คอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
  36. กระโชก : ว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทําให้กลัว, ทําให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชก วิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).
  37. กระดี่ได้น้ำ : (สำ) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจ ตื่นเต้นจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ.
  38. กระวาน ๒ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระวานกระแวนแกลนกลัว. (สมุทรโฆษ).
  39. กระหึม, กระหึ่ม : ว. เสียงดังหึ่มอย่างน่ากลัว เช่น พายุพัดกระหึ่ม, เสียงก้องกังวาน เช่น เสียงดนตรีดังกระหึ่ม.
  40. กระอึกกระอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัว หรือประหม่าเป็นต้น, อึกอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า.
  41. กริ่งเกรง : ก. ระแวงกลัวไป.
  42. กล้า ๒ : [กฺล้า] ก. ไม่กลัว, ไม่ครั่นคร้าม. ว. แข็ง เช่น เหล็กกล้า, แรง เช่น เวทนากล้า.
  43. กล้าได้กล้าเสีย : ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน.
  44. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  45. กษัตรี : [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).
  46. กาหล : [-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
  47. กาฬปักษี : [กาละ-] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นเมื่อมารดาออกไฟแล้ว ได้ ๕ เดือน ยังอยู่ในเขตเรือนไฟ มีอาการร้องไห้แล้วหอบ หรือร้องไห้เมื่อหลับสะดุ้งผวาตื่นตกใจ. (แพทย์).
  48. กำราบ : [-หฺราบ] ก. ทําให้เข็ดหลาบ, ทําให้กลัว, ทําให้สิ้นพยศ, ทําให้สิ้นฤทธิ์.
  49. กินบ้านกินเมือง : ก. ตื่นสายมาก ในความว่า นอนกินบ้านกินเมือง; (ปาก) ฉ้อราษฎร์บังหลวง.
  50. กุกะ : ว. ขรุขระ เช่น ทั้งน้ำใจก็ดื้อดันดุกุกะไม่คิดกลัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-608

(0.1578 sec)