Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ถนอมกล่อมเกลี้ยง, เกลี้ยง, กล่อม, ถนอม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ถนอมกล่อมเกลี้ยง, 113 found, display 1-50
  1. ถนอม : [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกิน ของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม). ถนอมอาหาร ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้ อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
  2. กล่อมเกลี้ยง : ก. อบรมเลี้ยงดูให้มีนิสัยดี.
  3. กล่อม : [กฺล่อม] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เป็น ๑ กล่ำ.
  4. กล่อม : [กฺล่อม] ก. ถากแต่งให้กลมงาม เช่น กล่อมเสา กล่อมไม้; โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น น้ำหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น. (ขุนช้างขุนแผน).
  5. กล่อม : [กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทําตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบําเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทํานองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมาย ความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทําให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.
  6. เกลี้ยง : [เกฺลี้ยง] ว. เรียบ ๆ ไม่ขรุขระหรือไม่มีลวดลาย; หมดไม่มีเหลือไม่มีอะไรติดอยู่ เช่น หมดเกลี้ยง กินเสียเกลี้ยง.
  7. เกลี้ยง : น. ส้มเกลี้ยง. (ดู ส้ม๑).
  8. เกลี้ยงเกลา : ว. หมดจดหรือเรียบร้อย เช่น หน้าตาเกลี้ยงเกลา หนังสือเล่มนี้สํานวนเกลี้ยงเกลา.
  9. กล่อมเกลา : [-เกฺลา] ก. ทําให้เรียบร้อย, ทําให้ดี, โดยปริยายหมายความว่า อบรมให้มีนิสัยไปในทางดี.
  10. กล่อมท้อง : ก. ใช้ฝ่ามือคลึงบริเวณท้องเบา ๆ เพื่อให้คลอดง่าย.
  11. กล่อมมดลูก : ก. เร่งให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นโดยการประคบบริเวณท้อง.
  12. กล่อมหอ : ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงาน บ่าวสาวก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว.
  13. กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
  14. กล่าวเกลี้ยง : (กลอน) ก. พูดเพราะ เช่น กล่าวเกลี้ยงไมตรีชวนชัก. (เสือโค).
  15. เลี่ยน ๒ : ว. เตียน, เกลี้ยง, เช่น อายุยังน้อยอยู่เลย หัวล้านเลี่ยนแล้ว ถูพื้นเสีย มันเลี่ยน; มีรสมันเกินไป เช่น แกงใส่กะทิข้นมากมันจนเลี่ยน. น. เรียกแพรที่เป็นมัน ไม่มีดอกหรือลวดลาย ว่า แพรเลี่ยน.
  16. หมดเกลี้ยง : ว. ไม่มีเหลือ เช่น เด็กกินขนมจนหมดเกลี้ยง.
  17. ออม : ก. เก็บหอมรอมริบ เช่น ออมทรัพย์ ออมสิน; ถนอม, สงวน, เช่น ออมแรง.
  18. กลึงกล่อม : [-กฺล่อม] น. ชื่อไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นชนิด Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงด้านบนมีขน กลีบดอกสีเหลืองคล้ำ ผลเป็นกลุ่ม เมื่อสุกสีแดง.
  19. ก้ามเกลี้ยง : น. ชื่อกุ้งน้ำจืดชนิด Macrobrachium sintangense ในวงศ์ Palaemonidae ตัวเล็กกว่ากุ้งก้ามกราม ก้ามเล็กเรียบไม่มีหนาม.
  20. เกลี้ยกล่อม : ก. ชักชวนจูงใจให้ร่วมพวก, พูดจูงใจ ให้คล้อยตามหรือปฏิบัติตาม.
  21. ทะนุถนอม, ทะนุกถนอม : ก. คอยระวังรักษา, คอยประคับประคอง. (ข. ถฺนาก่ถฺนม).
  22. กล่ำ ๑ : [กฺล่ำ] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กล่ำ คือ อัฐ, ๒ กล่ำ เป็น ๑ ไพ. (กล่ำ ได้แก่ มะกล่ำตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกล่ำตาหนู).
  23. ช้า ๓ : น. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละคร อื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
  24. มัฏฐะ : ว. เกลี้ยง. (ป. มฏฺ?; ส. มฺฤษฺฏ).
  25. ราชพฤกษ์ : [ราดชะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia fistula L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ฝักสีดํา เกลี้ยง ใช้ทํายาได้, คูน หรือ ลมแล้ง ก็เรียก.
  26. ลงรัก : ก. เอารักทาลงบนผิวสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อทําให้ผิวเรียบ เกลี้ยง ดํา เป็นมัน.
  27. สนอม : [สะหฺนอม] ก. ถนอม.
  28. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  29. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  30. กระซาบ : (กลอน) ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคําเกลี้ยง. (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.
  31. กระตรกกระตรำ : (โบ; กลอน) ก. ตรากตรํา เช่น หาเลี้ยงและโดยสฤษฎิตน กระตรกกระตรำก็นําพา. (กล่อมพญาช้าง).
  32. กระบูนเลือด : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับน้ำปูนใส หรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูก ให้แห้งสนิท. (กบิลว่าน).
  33. กระเบา ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบาน้ำ (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้น ขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีน้ำตาล ขนาดเท่าผลส้มโอ ขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีน้ำมัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.
  34. กระโบม ๑ : ก. ตระโบม, โลมเล้า, กอด, เช่น ยักษ์ผยองโพยม แลกระโบมถนอมพนิดไคล. (สรรพสิทธิ์).
  35. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  36. กลึงเกลา : ว. งามเกลี้ยงเกลา, เกลากลึง ก็ว่า.
  37. กะลุมพี : น. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลําต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทน กาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. (มลายู ว่า กะลุมปี).
  38. กันดอง : (โบ) น. ถ่องแถว เช่น เทเพนทรพฤกษนุกันดอง. (กล่อมช้างของเก่า).
  39. กันลอง ๒ : ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
  40. กางเกียง : ก. ไม่ลงรูป, ไม่ลงรอย, ไม่ลงที่, รวมกันไม่เข้า, ใช้ว่า กางเกี่ยง ก็มี เช่น เมื่อนั้น พระคาวีเห็นนางยังกางเกี่ยง ยิ้มพลางทางลงไปจากเตียง แล้วกล่าวเกลี้ยงแกล้งปลอบให้ชอบใจ. (คาวี), กังเกียง หรือ กําเกียง ก็ว่า.
  41. กุ้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลําตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและ อกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
  42. เกลา : [เกฺลา] ก. ทําสิ่งที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงหรือได้รูปทรงดีขึ้น เช่น เกลาไม้ไผ่, ทำให้ดีขึ้นหรือเรียบร้อยขึ้น เช่น เกลาสํานวน หนังสือ เกลานิสัย.
  43. เกลากลึง : ว. งามเกลี้ยงเกลา, กลึงเกลา ก็ว่า.
  44. เกาลัด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Sterculia monosperma Vent. ในวงศ์ Sterculiaceae ขอบใบเรียบ ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว เปลือกผลหนา ไม่มีหนาม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง สีน้ำตาลแกมแดง เปลือกไม่แข็ง เนื้อในสีขาว กินได้.
  45. เกาลัดจีน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Castanea mollissima Blume ในวงศ์ Fagaceae ขอบใบจักแหลม ดอกเล็ก สีน้ำตาลอ่อน เปลือกหุ้มผลหนามีหนามแหลม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง เปลือกแข็ง สีน้ำตาลแกมแดง เนื้อในสีขาว กินได้.
  46. ขนแมว : น. รอยเป็นเส้น ๆ อยู่บนสิ่งที่ขัดเงายังไม่เกลี้ยงหรือบนผิว ของเพชรที่เจียระไนแล้ว.
  47. ขลับ : [ขฺลับ] ว. เลื่อม, เกลี้ยงเป็นมัน, เช่น ดําขลับ มันขลับ.
  48. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  49. ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
  50. ขอน : น. ท่อนไม้ใหญ่ที่ยังไม่ได้ถากกล่อมให้เป็นรูปที่ต้องการ; ลักษณนาม เรียกข้างหนึ่งของกำไลที่เป็นคู่ว่า กำไลขอนหนึ่ง; ลักษณนามของสังข์ เช่น สังข์ขอนหนึ่ง สังข์ ๒ ขอน, ลักษณนามของไพ่ตองว่า สำรับหนึ่ง หรือชุดหนึ่งมี ๒ ขอน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-113

(0.0199 sec)