Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ถ้อยคำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ถ้อยคำ, 32 found, display 1-32
  1. ถ้อยคำ : น. คําที่กล่าว.
  2. ถ้อยคำสำนวน : (กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่ง รายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.
  3. ลิ้น : น. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลง ในลําคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวก เช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดย ปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่ เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่อง อาหาร; อุปกรณ์สําหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.
  4. ให้ถ้อยคำ : (กฎ) ดู ให้การ. ให้ท่า ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้รู้ว่ายินดีติดต่อด้วยหรือไม่รังเกียจ(ใช้แก่ผู้หญิง).
  5. ถ้อย : น. คําพูด, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ถ้อยคำ เจ้าถ้อยหมอความ เป็นถ้อยร้อยความ.
  6. -กระเสียน : (โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).
  7. การสื่อสาร : น. วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือเป็นต้น จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีก สถานที่หนึ่ง.
  8. เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  9. ทัณฑ์บน : น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิด ตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทานบน ก็ว่า; (กฎ) คํารับรองที่ทําขึ้นตาม คําสั่งของศาลว่าจะไม่ก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่นตลอดเวลาที่ศาลกําหนด.
  10. ทานบน : (โบ) น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตาม เงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทัณฑ์บน ก็ว่า.
  11. นิรุตติปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
  12. พจนานุกรม : [กฺรม] น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่ว ๆ ไปจะบอกความหมายและที่มา ของคำเป็นต้นด้วย.
  13. ฟุ่มเฟือย : ว. สุรุ่ยสุร่าย, ใช้จ่ายโดยไม่คำนึงถึงความสิ้นเปลือง, เกินความจำเป็น เช่น ใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย.
  14. ภาพพจน์ : [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็น ภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผล ต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  15. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  16. ภาษาถิ่น : น. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะ ตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น.
  17. รักษาคำพูด : ก. ทำตามถ้อยคำที่พูดให้สัญญาไว้.
  18. ร้าวรานใจ : ก. ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ เช่น ถ้อยคำเสียดแทงทำให้ผู้ฟังร้าวรานใจ.
  19. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  20. ลมปาก : น. ถ้อยคำที่กล่าว เช่น อย่าสัญญาเพียงลมปาก, คำพูด ที่จูงใจให้เห็นคล้อยตาม เช่น หลงลมปากจึงตามเขาไป.
  21. ละครพูด : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำ ธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัย ที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำ กลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
  22. ล้างหู : ก. ทำเป็นลืมเสียว่าเคยได้ยินเรื่องหรือถ้อยคำที่ระคายหู.
  23. เลือกสรร : ก. พิจารณาคัดเอาแต่ที่ดี ๆ เช่น เลือกสรรถ้อยคำมา ใช้ให้เหมาะสม.
  24. สบถ : [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ ตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือ ไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
  25. สละสลวย : [สะหฺละสะหฺลวย] ว. ที่กล่าวหรือเรียบเรียงได้เนื้อถ้อยกระทงความ และมีสำนวนกลมกลืนไพเราะระรื่นหู (ใช้แก่ถ้อยคำสำนวน) เช่น บทความนี้มีสำนวนสละสลวย.
  26. สอบทาน : ก. ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับ หรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น.
  27. สะกิดใจ : ก. ฉุกคิดถึงเหตุการณ์หรือถ้อยคำที่เคยได้เห็นหรือได้ยินมา เช่น คำพูดของเขาสะกิดใจฉัน เมื่อได้ยินเขาพูดเรื่องเงิน ก็รู้สึกสะกิดใจ ว่าเขาจะมาทวงหนี้.
  28. หลงลม, หลงลมปาก : (ปาก) ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคน ชวนไปหาลาภทางไกล.
  29. หัวเรื่อง : น. ถ้อยคำหรือวลีที่แสดงสาระสำคัญของเรื่องซึ่งเขียนไว้ที่ต้นเรื่อง.
  30. อมความ : ก. เก็บใจความสําคัญ, ใช้ถ้อยคำน้อยแต่เก็บความสำคัญไว้ ได้มาก; (โบ) จำไว้ในใจ, จำใจความได้.
  31. อื้น : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, เอิ้น หรือ เอื้อน ก็ว่า.
  32. เอื้อน ๑ : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, อึ้น หรือ เอิ้น ก็ว่า.
  33. [1-32]

(0.0135 sec)