Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทราม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทราม, 30 found, display 1-30
  1. ทราม : [ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบ เป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.
  2. ทรามสงวน, ทรามสวาท : [ซาม-] น. หญิงงามน่ารัก, นางงามผู้เป็นที่รัก.
  3. ชั่ว ๒ : ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีต ประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.
  4. ช้า ๒ : ว. หยาบ, ชั่ว, เลว, ทราม, เช่น ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคยลองแต่ตัวชั่วตัวช้า. (ลอ).
  5. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  6. เลว : ว. มีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน เช่น กระดาษเลวเขียนหมึกแล้วซึม; สามัญ เช่น ทหารเลว ไพร่เลว; ต่ำ, ทราม, เช่น มารยาทเลว. ก. รบ, รบศึก, มักใช้เข้าคู่กับคํา รบ เป็น รบเลว.
  7. หิน ๔, หิน- : [หิน, หินนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า, ใช้ว่า หืน ก็มี เช่น โหดหืน. (ป., ส. หีน).
  8. หีน- : [หีนะ-, หีนนะ-, ฮีนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ป., ส.).
  9. หืน ๒ : (กลอน) ว. หิน, เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ดู หิน๔หิน-).
  10. ทรามชม, ทรามเชย : [ซาม-] น. หญิงงามน่ารัก, นางงามผู้เป็นที่รัก.
  11. ถ่อย : ว. ชั่ว, เลว, ทราม.
  12. ขี้ถัง : (ปาก) ว. เลวทราม เช่น จงหลีกเลี่ยงเสียให้พ้นคนขี้ถัง. (สุภาษิตสุนทรภู่).
  13. จังไร : ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จัญไร ก็ว่า. (ข. จงฺไร).
  14. จัญไร : ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จังไร ก็ว่า.
  15. ชั่วช้า : ว. เลวทราม.
  16. ด่า : ก. ใช้ถ้อยคําว่าคนอื่นด้วยคําหยาบช้าเลวทราม.
  17. ทรพล : ว. มีกําลังน้อย, อ่อนแอ, ท้อแท้; เลวทราม.
  18. ทุปปัญญา : [ทุบ-] (แบบ) น. ปัญญาทราม. (ป.).
  19. ทุราจาร : น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
  20. ประทุษ : [ปฺระทุด] ก. ทําร้าย, ทําชั่ว, ทําเลวทราม, ทําผิด, เบียดเบียน. (ส.).
  21. ระยำ : ว. ชั่วช้า, ตํ่าช้า, เลวทราม, อัปมงคล, เช่น คนระยำ เรื่องระยำ ทำระยำ; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ยับเยิน, แหลก, เช่น ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำ ช้ำจิตเจ็บอุรา. (อิเหนา).
  22. ระยำตำบอน : (ปาก) ว. เลวทราม, ชั่วช้า, เหลวไหล.
  23. ลามก : [–มก] ว. หยาบช้าต่ำทราม, หยาบโลน, อันเป็นที่น่ารังเกียจ ของคนดีมีศีลธรรม, เช่น หนังสือลามก พูดลามก ทำลามก. (ป.).
  24. สถุล : [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล).
  25. หยาบช้า : ว. ตํ่าช้า, เลวทราม, เช่น จิตใจหยาบช้า.
  26. หฤโหด : [หะรึโหด] ว. ชั่วร้าย, เลวทราม, ใจร้าย.
  27. หือรือโหด : (กลอน) ก. หฤโหด, ชั่วร้าย, เลวทราม, เช่น แม้อันว่าเฒ่าหือรือโหดหีนชาติ ทาสเมถุน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  28. อภัพผล : [อะพับพะผน] น. ผลที่ไม่สมควร, ผลทราม.
  29. อัปรีย์ : [อับปฺรี] ว. ระยํา, จัญไร, เลวทราม, ตํ่าช้า, ชั่วช้า, ไม่เป็นมงคล. (ส. อปฺริย; ป. อปฺปิย).
  30. อุลามก : ว. เลวทรามต่ำช้า, อุจาดลามก.
  31. [1-30]

(0.0082 sec)