เรือ : น. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทําด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนํา กระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า; ตัวหมากรุกที่เดินตา ตรงได้ตลอด; เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง เอาไม้ไผ่มาเหลาแบน ๆ ดัดให้หัว งอน ใช้พุ่งแข่งกัน; ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ตํ่ากว่าชั้นนาวาหรือนาวาอากาศ เช่น เรือตรี เรืออากาศเอก.
ทหาร : [ทะหาน] น. ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ, นักรบ. (อะหม หาน ว่า นักรบ).
ลูกน้ำเค็ม : (ปาก) น. คนที่เกิดหรือโตอยู่ในแถบชายทะเล; ทหารเรือ.
ลูกประดู่ : (ปาก) น. ทหารเรือ.
เรือยกพลขึ้นบก : น. เรือที่ใช้ในการลำเลียงขนส่งทหาร พัสดุ และอาวุธ ยุทโธปกรณ์ในการรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบก มีหลายขนาด เช่น เรือคอมมานโด เรือยกพลจู่โจม.
สถานี : [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุง ของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการ ปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทาง ขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อ ปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานี ออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มี หน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
หมวด : [หฺมวด] น. กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายหมู่ เช่น หมวดหนังสือวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่หนังสือเคมี หมู่หนังสือฟิสิกส์ เป็นต้น; กำลังพลของ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับ หมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้อง มียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือ หรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท; เรียกสิ่งที่ขมวดไว้เป็น จุกเดียวกัน.
เรือแม่ปะ : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง คล้ายเรือชะล่า แต่มีขนาดใหญ่และ ยาวกว่า ท้ายต่อไม้ยกงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่อง มักใช้ถ่อ, เรือ หางแมงป่อง ก็เรียก.
เรือพระที่นั่งกิ่ง : น. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของ พระมหากษัตริย์ เสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือ พระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่ง กิ่งไกรสรมุข.
ทหารกองเกิน : (กฎ) น. ชายที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน หรือผู้ที่มี อายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ และยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอ พร้อมกับคนชั้นปีเดียวกันเพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ซึ่งได้ลงบัญชีทหาร กองเกินตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่า ด้วยการรับราชการทหารแล้ว.
ทหารกองประจำการ : (กฎ) น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและ ได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์.
ทหารเกณฑ์ : (ปาก) น. ทหารกองประจำการ.
ทหารเลว : (โบ) น. พลทหาร.
เรือกลไฟ : น. เรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในทะเลหรือมหาสมุทร.
เรือกอและ : น. เรือประมงตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ รูปร่างยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง เขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม.
เรือกัญญา : น. เรือหลวงที่จัดตั้งเก๋งประกอบหลังคาทรงกัญญา ใช้เป็น เรือประทับแรม หรือเรือพระประเทียบ.
เรือกัน : น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ.
เรือกำปั่น : น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้าย เรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับ ผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดง ตรงกลางไม่มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ.
เรือกุแหละ : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและ ท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากน้ำ สำหรับ บรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น.
เรือโกลน : [โกฺลน] น. เรือที่ทำจากซุง เพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้าย เป็นเลา ๆ พอให้มีลักษณะคล้ายเรือแต่ยังไม่ได้ขุด.
เรือขนาน : น. เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสําหรับข้ามฟาก; เรือที่จอด เทียบท่าสำหรับรับเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง; เรือที่ใช้ในการทำสังฆกรรม ในน่านน้ำซึ่งจอดขนานไปกับลำน้ำให้ห่างจากฝั่งกว่าชั่ววักน้ำสาด.
เรือขุด : น. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้ เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือให้เรียวเชิดขึ้น ตามส่วน เช่น เรือมาด เรือชะล่า เรือพายม้า.
เรือเข็ม : น. เรือต่อขนาดเล็ก รูปร่างยาวเพรียว หัวท้ายแหลม แล่นเร็ว กินน้ำตื้นพายมีลักษณะพิเศษที่มีใบพาย ๒ ข้าง มีด้ามอยู่ตรงกลาง ใช้พายระยะใกล้ ๆ.
เรือโขมดยา : น. เรือขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้าง เพรียว หัวและท้ายเรียว บนหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยน้ำยาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับ คนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนิน พยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองในกระบวน พยุหยาตราทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้.
เรือคอร์เวต : น. เรือรบที่มีระวางขับน้ำประมาณ ๖๕๐๑,๕๐๐ ตัน มี หน้าที่หลักเป็นเรือเร็วคุ้มกันและปราบเรือดำน้ำ.
เรือคู่ชัก : น. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่น ทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงบรรทม.
เรือจ้าง : น. เรือที่แจวหรือพายรับจ้างข้ามฟาก ปรกติใช้เรือสำปั้น.
เรือฉลอม : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้.
เรือชะล่า : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง ท้องแบน หัวเชิดขึ้นเล็กน้อย หัวตัดท้ายตัด มีขนาดยาวมาก.
เรือชา : น. เรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและน้ำหอมเป็นต้น.
เรือแซ : น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเช่นเดียวกับเรือกราบแต่ เพรียวน้อยกว่า ใช้ในการลำเลียงพล ศัสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ และ เสบียงกรัง อาจใช้เป็นเรือทุ่นหรือทำหน้าที่อื่นได้.
เรือแซง : น. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้าย กระบวน.
เรือดั้ง : น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
เรือดับเพลิง : น. เรือที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง.
เรือโดยสาร : (กฎ) น. เรือที่บรรทุกคนโดยสารเกิน ๑๒ คน.
เรือตรวจการณ์ : น. เรือรบขนาดเล็ก มีความเร็วปานกลาง มีหน้าที่ตรวจ ดูเหตุการณ์เพื่อรักษาฝั่ง มีอาวุธต่าง ๆ ตามภารกิจของเรือแต่ละลำ เช่น เรือตรวจการณ์ (ปืน) เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) เรือตรวจการณ์ ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือตรวจการณ์ลำน้ำ.
เรือต่อ : น. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัย กงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตาม ส่วน เช่น เรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ.
เรือต่อต้านทุ่นระเบิด : น. เรือรบที่มีหน้าที่หลักในการกวาดและทำลาย ทุ่นระเบิด มีหลายขนาดตามภารกิจที่ต่างกัน เช่น เรือกวาดทุ่นระเบิด น้ำลึก เรือกวาดทุ่นระเบิดชายฝั่ง เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น และเรือล่า ทำลายทุ่นระเบิด.
เรือตังเก : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ใช้จับปลาตามชายฝั่งทะเล ทางด้านค่อน มาทางหัวเรือมีเก๋ง ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ชั้นบนเป็นที่ สำหรับผู้ควบคุมเรือใช้ดูทิศทาง มีเสากระโดง บนเสากระโดงมีแป้น กลมสำหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์ เรียกว่า รังกา ด้านท้ายเรือมีที่ สำหรับโรยอวนและด้านหัวเรือมีที่สำหรับกว้านอวน.
เรือติดท้าย : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง หัวแหลมท้ายตัด ติดตั้งเครื่องยนต์ที่ ท้ายเรือ แล่นเร็วมาก, เรือบื๋อ ก็เรียก.
เรือโถง : น. เรือที่ปรกติมีประทุน แต่เปิดประทุนออก.
เรือเท้ง : น. เรือชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายเรือกำปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็น ปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสำหรับชักใบ กลางลำมีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลมและมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่ เจาะรูสมอ; เรือต่อชนิดหนึ่งหัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุนเรือนแพ.
เรือธง : น. เรือที่ผู้บัญชาการกองเรือ ซึ่งมียศตั้งแต่พลเรือตรีขึ้นไปใช้เป็น ที่บังคับบัญชากองเรือ ชักธงตามยศของผู้บัญชาการนั้นไว้บนยอดเสาสูง สุดเพื่อให้เรือลำอื่นในกองเดียวกันสังเกตเห็นได้ชัดเจน.
เรือนำร่อง : น. เรือเล็กที่ใช้นำเรือกำปั่นหรือเรือใหญ่และกินน้ำลึก เช่น เรือสินค้าเข้าหรือออกจากท่าเรือในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ.
เรือบด : น. เรือต่อชนิดหนึ่งรูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียว มี ๓ ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ใช้ได้ทั้งพายและกรรเชียง.
เรือบรรทุกเครื่องบิน : น. เรือสำหรับบรรทุกเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ ที่ใช้ในการโจมตีหรือปราบเรือดำน้ำเป็นต้น มีลานบินและทางสำหรับ เครื่องบินขึ้นลงได้ด้วย.
เรือบื๋อ : (ปาก) น. เรือติดท้าย.
เรือโบต : น. เรือเล็กเป็นส่วนอุปกรณ์ของเรือเดินทะเลขนาดใหญ่.
เรือใบ : น. เรือต่อชนิดหนึ่งที่แล่นด้วยกำลังลมโดยมีเสากระโดงสำหรับ ขึงผ้าใบเพื่อรับลม ถ้าใช้เดินทะเลเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้า จะเป็นเรือขนาดใหญ่ ถ้าใช้เพื่อการกีฬาจะเป็นเรือขนาดเล็กซึ่งมีอยู่หลาย ประเภท เช่น ประเภทโอเค ประเภทซูเปอร์มด ประเภทเอนเตอร์ไพรซ์.
เรือประกอบ : น. เรือชนิดที่ท้องเรือทำด้วยปีกไม้ซุง ขุดเป็นรางแล้วต่อ ข้างขึ้นเป็นตัวเรือโดยอาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึดแล้วเสริมกราบ ได้แก่ เรือยาว เรือเพรียว เรือแซ.