Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทัก , then ทก, ทกฺ, ทัก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทัก, 38 found, display 1-38
  1. ทัก : ก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบ หน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตาม ลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก.
  2. ทัก : (ถิ่น) น. ตะกร้าเก็บเกลือ ทําด้วยไม้ไผ่สาน ตาห่างคล้ายชะลอม ทรงสูงคล้ายชะลอม. (วิทยาจารย์).
  3. ทักขิณาบถ : ดู ทักขิณ.
  4. ทักขิณาบถ : น. เมืองแถบใต้, ประเทศฝ่ายทิศใต้. (ป.).
  5. ทักนิมิต : ก. ถามตอบในการผูกพัทธสีมา.
  6. ทักทิน : [ทักกะทิน] น. วันชั่วร้าย (ใช้ในตําราหมอดู).
  7. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  8. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
  9. กวะกวัก : [กฺวะกฺวัก] ก. กวัก เช่น กวะกวักคือกวักทักถาม. (สรรพสิทธิ์). ว. กวัก ๆ, เป็นเสียงนกกวักร้อง, เช่น นกกวักลักแลเพื่อนพลาง กวักปีกกวักหาง ก็ร้องกวะกวักทักทาย. (สมุทรโฆษ).
  10. กันเมียง : น. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).
  11. ดำหนิ : [-หฺนิ] (แบบ) ก. ติทัก, ติเตียน. (แผลงมาจาก ติ).
  12. ทก ๑ : (โบ) ว. ทุก เช่น ทกพวก ทกพาย.
  13. แน่ะ : ว. คําทักหรือบอกให้รู้ตัว เช่น แน่ะอยู่นี่เอง แน่ะรถมาแล้ว; ใช้ประกอบ คําลงท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ราคาตั้ง ๕ บาทแน่ะ.
  14. ทก ๒ : (แบบ) น. นํ้า. (ป., ส.).
  15. ทลิททก : [ทะลิดทก] (แบบ) ว. ยากจน, เข็ญใจ, เช่น ส่วนออเฒ่าพฤฒาทลิททก. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ทลิทฺทก).
  16. ปริตโตทก : [ปะริดโตทก] น. นํ้าพระปริตร, นํ้าพระพุทธมนต์. (ป.).
  17. ขุทกนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมี ธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
  18. บานีโยทก : น. นํ้าดื่ม.
  19. ปานีโยทก : น. นํ้าควรดื่ม. (ป., ส. ปานีย + อุทก).
  20. ปานีโยทก : ดู ปานีย-, ปานียะ.
  21. พรรโษทก : น. นํ้าฝน.
  22. พรรโษทก : ดู พรรษ, พรรษ.
  23. โทธก : [-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละ ทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตํารากลอน).
  24. มณฑก ๑ : [-ทก] น. กบ (สัตว์), ใช้ว่า มัณฑุก หรือ มณฑุก ก็มี. (ป., ส. มณฺฑูก).
  25. มณฑก ๒ : [-ทก] (โบ) น. เรียกปืนเล็กยาวชนิดหนึ่งว่า ปืนมณฑก. (อ. bundook).
  26. กรวด ๓ : [กฺรวด] ก. หลั่งน้ำ เช่น น้ำพระเต้าสิโตทกธารามารดริน กรวดลงในมืออินทพฤฒาจารย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ). (ข. จฺรวจ).
  27. กลันทะ, กลันทก์ : [กะลันทะ] (แบบ) น. กระแต, กระรอก. (ป. กลนฺท, กลนฺทก; ส. กลนฺทก, กลนฺตก).
  28. โกณก, โกณะ : [-นก] (แบบ) น. มุม, เหลี่ยม, เช่น เปนจดูรโกณก ครรโภทกเพ็ญพยง. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป.).
  29. จริยาปิฎก : น. ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบําเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติ ที่ล่วงแล้วรวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก.
  30. ฉับฉ่ำ : (กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำ ที่ตำนานอนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
  31. ทักษิณ : น. ทิศใต้ ใช้ว่า ทิศทักษิณ. ว. ใต้; ข้างขวา เช่น ฝ่ายทักษิณ. (ส.; ป. ทกฺขิณ).
  32. ทักษิณายัน : น. ทางใต้; (ดารา) จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏ ในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก. (ส.; ป. ทกฺขิณ + ส. อายน).
  33. ทักษิณาวรรต : น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. (ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).
  34. ธรรมบท : น. ข้อแห่งธรรม, ชื่อคาถาบาลีคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย.
  35. นิกาย : น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย '';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
  36. มิคลุท, มิคลุทกะ : [-ลุด, -ลุดทะกะ] น. พรานเนื้อ, คนที่ เที่ยวฆ่าสัตว์ในป่าเป็นอาชีพ. (ป. มิคลุทฺท, มิคลุทฺทก).
  37. ลุทกะ : [ลุดทะกะ] น. นายพราน. (ป. ลุทฺทก; ส. ลุพฺธก).
  38. ลุพธกะ : [ลุบทะกะ] (แบบ) น. นายพราน. (ส.; ป.ลุทฺทก).
  39. [1-38]

(0.0569 sec)