Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทุ่ง , then ทง, ทุ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทุ่ง, 54 found, display 1-50
  1. ทุ่ง : น. ที่ราบโล่ง.
  2. ทุ่ง : น. ขี้. ก. ขี้.
  3. เกษตร : [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; (โบ) แดน เช่น พุทธเกษตร. (ส. เกฺษตฺร; ป. เขตฺต).
  4. เขษตร : [ขะเสด] (โบ) น. เกษตร, ทุ่ง, นา, ไร่.
  5. ลูกทุ่ง : น. ลูกป่า; ผู้ที่ทำมาหากินอยู่ตามท้องทุ่ง; ลูกสัตว์ที่เกิดใน ท้องทุ่ง; เรียกเหล้าเถื่อนว่า เหล้าลูกทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นิยายลูกทุ่ง ภาษาลูกทุ่ง. ว. เรียก เพลงชนิดที่คนในชนบทนิยมว่า เพลงลูกทุ่ง.
  6. เล่นทุ่ง : ก. พายเรือเล่นในท้องทุ่งพร้อมกับเก็บผักกินกับน้ำพริก เป็นต้นหรือเก็บดอกบัวเพื่อเอามาบูชาพระ.
  7. เดินทุ่ง : ก. ตะลุยไป (ใช้ในการอ่าน แต่ง หรือแปลหนังสือ).
  8. น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง : (สํา) ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย.
  9. ปวดท้องทุ่ง : ก. ต้องการถ่ายอุจจาระ.
  10. ไฟลามทุ่ง : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีลักษณะลามออกไป.
  11. ไปทุ่ง : ก. ไปถ่ายอุจจาระ, ไปขี้, ทุ่ง ก็ว่า.
  12. วัปป, วัปปะ : [วับปะ] น. การหว่านพืช เช่น พิธีวัปปมงคล; ฝั่งน้ำ. (ป. วป ว่า ผู้หว่านพืช; ส. วปฺร ว่า ฝั่งน้ำ ทุ่งที่หว่านพืชไว้ ทุ่ง).
  13. ท่ง : (กลอน) น. ทุ่ง.
  14. ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
  15. กระชับ ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xanthium strumarium L. ในวงศ์ Compositae มักขึ้นเป็นวัชพืชในทุ่งนาและริมน้ำ ลําต้นและใบคาย ใบมนเว้า ขอบจักโคนใบแหลม ดอกเล็กรวมเป็นกระจุก ผลรี ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีหนามปลายงอทั่วทั้งผล รากหอมอ่อน ๆ ใช้อบผ้าได้ บางส่วนของไม้นี้ใช้เป็นยาได้ แต่ทั้งต้นเป็นพิษต่อปศุสัตว์, ขี้ครอก หรือ ขี้อ้น ก็เรียก.
  16. กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
  17. กระทา : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากินเมล็ดพืชและ แมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มีหลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus) กระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus).
  18. กระพี้เขาควาย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.
  19. กูปรี : [-ปฺรี] น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli ในวงศ์ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกระทิงและวัวแดง ตัวสีดํา ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ปลายแตกเป็นเส้น ๆ มองเห็นเป็นพู่ ส่วนตัวเมียเขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดศรีสะเกษและตามชายแดนไทย-กัมพูชา หากินในทุ่งหญ้า โดยรวมฝูงอยู่กับกระทิงและวัวแดง เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว, โคไพร ก็เรียก.
  20. เกาะ ๑ : น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ; ละเมาะ, โดยปริยายใช้เรียก ขึ้นพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้เป็นต้นหนาแน่น มีทุ่งหรือที่เตียนล้อมรอบ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  21. ขนาก : [ขะหฺนาก] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Juncellus inundatus C.B. Clarke ในวงศ์ Juncaceae ขึ้นอยู่ในทุ่งนาและริมแม่นํ้าคล้ายกก, กระหนาก ก็เรียก.
  22. ขนำ : [ขะหฺนํา] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระท่อมชั่วคราวในทุ่งนาเป็นต้น.
  23. ขี้แต้ : น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่ตามทุ่งนา มักอูดขึ้นมา จากรอยกีบเท้าวัวเท้าควาย เรียกว่า หัวขี้แต้.
  24. เด้าดิน : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Motacillidae ลําตัวสีนํ้าตาลลายดํา ปากแหลม ขา เรียวยาว หางยาว กินแมลง มีหลายชนิด เช่น เด้าดินสวน (Anthus hodgsoni) เด้าดินทุ่ง (A. novaeseelandiae) เด้าดินอกแดง (A. cervinus) เด้าดินอกสีชมพู (A. roseatus), กระเด้าดิน ก็เรียก.
  25. ตะขาบ ๒ : น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตาม พื้นดิน อยู่ตามลําพัง ทํารังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้ม หรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.
  26. ตะวาง : น. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งคล้ายต้นแขม ขึ้นตามทุ่งนา. (พจน. ๒๔๙๓).
  27. เถียง ๒ : (ถิ่น–อีสาน) น. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สําหรับอยู่เฝ้าข้าว.
  28. ท่วม : ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
  29. ท้อง : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดือ อยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ
  30. ทิวทัศน์ : [ทิวทัด] น. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นตามธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ทุ่งนา ทิวทัศน์ป่าเขา ทิวทัศน์ทางทะเล, เรียกภาพเขียน หรือภาพถ่ายจากทิวทัศน์ว่า ภาพทิวทัศน์.
  31. เนื้อ ๒ : น. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง. เนื้อทราย น. ชื่อกวางชนิด Cervus porcinus ในวงศ์ Cervidae เป็น กวางขนาดกลาง ตัวสีนํ้าตาลเข้มแต่ตอนล่างสีจางกว่า ตามลําตัวมีจุด ขาวจาง ๆ อยู่ทั่วไป ลูกที่เกิดใหม่จุดขาวนี้จะชัดเจนมากเช่นเดียวกับ ลูกกวางดาว ตัวผู้มีเขาผลัดเขาปีละครั้ง อยู่เป็นฝูงตามทุ่งหญ้า กินหญ้า ระบัด ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย, กวางแขม กวาง ทรายหรือ ตามะแน ก็เรียก. เนื้อสมัน ดู สมัน.
  32. ปักหลัก ๒ : น. (๑) ชื่อนกกระเต็นชนิด Ceryle rudis ในวงศ์ Alcedinidae ตัวสีขาวลายดํา ปากหนาแหลมตรงสีดํา มักเกาะตามหัวเสาหรือ ตอไม้ที่ปักอยู่ในนํ้าเพื่อจ้องโฉบปลากิน, กระเต็นปักหลัก ก็เรียก. (๒) ชื่อเหยี่ยวชนิด Elanus caeruleus ในวงศ์ Accipitridae อก สีขาว หลังสีเทา โคนปีกสีดํา อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กินสัตว์เล็ก ๆ, เหยี่ยวขาว ก็เรียก, นกทั้ง ๒ ชนิดมักบินอยู่กับที่ จึงเรียกว่า ปักหลัก.
  33. โป่งวิด : น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ตัวสีนํ้าตาลลาย ขอบและหางตาสีขาว ปากยาวแหลม ตัวเมียขนาดใหญ่และสีเข้ม สวยกว่าตัวผู้ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ.
  34. ม้าลาย : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างเหมือนม้าแต่มีลายสีดําขาวพาดขวางลําตัวตัดกันสะดุดตา เห็นได้ชัดเจน จมูกดํา ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้ากลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหาง ไม่มีขนยาว ดูคล้ายครึ่งหางม้าครึ่งหางวัว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ราบโล่ง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้า ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุด ชนิด E. burchelli เป็นชนิดที่นิยมนํามาเลี้ยงตามสวนสัตว์ ทั่ว ๆ ไป.
  35. แม่ยก : น. หญิงที่เป็นผู้อุปถัมภ์พระเอกลิเกหรือนายวงดนตรีลูกทุ่ง.
  36. ยาง ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดํา นํ้าตาล หรือเขียว หากินตามชายนํ้าและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์นํ้า ขนาดเล็ก มีหลายชนิด เช่น ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) ยาง ควาย (Bubulcus ibis) ยางโทน ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนน้อย (Egretta intermedia) และ ยางโทนใหญ่ (E. alba) ยางเปีย (E. garzetta) ซึ่งในฤดู ผสมพันธุ์จะมีขนฟูยาวขึ้นที่ท้ายทอยเป็นเปียสีขาว๒๓ เส้น, กระยาง ก็เรียก.
  37. รถตีนตะขาบ : น. รถชนิดหนึ่งซึ่งมีสายพานหุ้มล้อ สามารถขับเคลื่อนไป ในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งนาป่าเขาได้ดีกว่ารถที่ใช้ล้อธรรมดา.
  38. ลัด ๑ : ก. ตัดตรงไปเพื่อย่นทางย่นเวลา เช่น เดินลัดตัดทุ่ง, โดยปริยาย หมายถึงการกระทําซึ่งลุล่วงได้โดยตรงและเร็วกว่าการกระทํา ตามปรกติ เช่น เรียนลัด.
  39. ลูกปละ : น. ลูกวัวหรือควายที่ออกในคราวที่เจ้าของปล่อยอยู่ตามทุ่ง ตามป่า ซึ่งพ่อหรือแม่สมจรกับวัวป่าหรือควายป่า.
  40. หญ้าบัว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xyris indica L. ในวงศ์ Xyridaceae ขึ้นตามทุ่งนาและ ที่ลุ่ม ดอกสีเหลือง ใช้ทํายาได้.
  41. หัวขี้แต้ : น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะปํ่าอยู่ตามทุ่งนามักอูดขึ้นมาจาก รอยกีบเท้าวัวเท้าควาย.
  42. หางเครื่อง : น. เพลงที่ออกต่อท้ายจากเพลง ๓ ชั้น หรือ เพลงเถา; กลุ่มบุคคล ที่ออกมาเต้นประกอบจังหวะในการร้องเพลงประเภทลูกทุ่ง.
  43. หางนาค : น. ชื่อนกชนิด Megalurus palustris ในวงศ์ Sylviidae ตัวสีนํ้าตาล มีลาย ตลอดทั่วตัว หางยาว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า หนองนํ้า ทุ่งนา เวลาบินหาง จะกระดกขึ้นลง.
  44. อีลุ้ม ๑ : น. ชื่อนกชนิด Gallicrex cinerea ในวงศ์ Rallidae ตัวขนาดเดียวกับ นกอีโก้ง ขายาว นิ้วยาว ตัวผู้ขนสีดํา หงอนแดง ตัวเมียขนสีนํ้าตาล ไม่มีหงอน นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนคล้ายกัน อาศัย หากินตามแหล่งน้ำและทุ่งนา พบทั่วทุกภาค กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ.
  45. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  46. แท่ง : น. ลักษณะของสิ่งที่ตันและกลมยาวหรือแบนหนา เช่น แท่งทอง แท่งเหล็ก แท่งหิน, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ชอล์กแท่งหนึ่ง ดินสอ ๒ แท่ง; เรียกชายที่หนุ่มแน่นยังไม่มีภรรยาว่า หนุ่มทั้งแท่ง.
  47. ทั่ง : น. แท่งเหล็กสําหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะบางชนิด เช่นเหล็ก ทอง ให้เป็นรูปต่าง ๆ.
  48. ทึ่ง : (ปาก) ก. อยากรู้อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเป็น (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ); รู้สึกว่าน่าสนใจ, น่าอัศจรรย์ใจ, (ใช้ในทางที่ดี).
  49. เทิ่ง : ว. ที่ปรากฏชัดหรือเห็นได้อย่างชัดแจ้ง เช่น เดินเทิ่ง ๆ แบกของ มาเทิ่ง ๆ.
  50. กระบิ ๑ : น. แท่ง แผ่น ชิ้น.
  51. [1-50] | 51-54

(0.0598 sec)