Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทูล , then ทล, ทุล, ทูล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทูล, 26 found, display 1-26
  1. ทูล : ก. บอก, กล่าว, (ใช้แก่เจ้านาย). (ข.).
  2. ทูลกระหม่อม ๑ : ดูใน ทูล.
  3. ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย : (ราชา) ก. ถวาย (ใช้แก่ของที่ยกได้ที่ถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ในการเขียนใช้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย หรือ ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้.
  4. ทูลกระหม่อม ๑ : น. คําสําหรับเรียกเจ้าฟ้าซึ่งมีพระราชชนนีเป็น อัครมเหสีหรือมีพระราชชนนีเป็นพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ รัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง.
  5. ทูลกระหม่อม ๒ : น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Thaipotamon chulabhorn ในวงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด ขาและขาก้ามสีเหลืองอมส้ม ปลายก้ามและขาสีขาว ขุดรูอยู่ พบในป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม.
  6. ทล : [ทน] (แบบ) น. ใบไม้, กลีบดอกไม้. (ป., ส.).
  7. ทำนูล : ก. บอก, กล่าว; ยกขึ้นเทินหัว. (แผลงมาจาก ทูล). (ข.).
  8. กระบี่ลีลา : น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็น เพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและ กลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  9. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  10. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
  11. กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
  12. กรุณา : [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).
  13. กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
  14. ขอเดชะ : น. คําขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ.
  15. ขอพระราชทาน : ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (ใช้กราบบังคมทูล พระเจ้าแผ่นดิน).
  16. ข้าพระพุทธเจ้า : [ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคม ทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  17. ขำ ๒ : น. สิ่งหรือข้อความที่มีนัย ไม่ควรเปิดเผย เช่น แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกาย เข้าไปให้ใกล้ชิด. (คาวี).
  18. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  19. บทามพุช : [บะทามะพุด] (แบบ) น. บัวบาท, เท้า, เช่น ทูลพระ บทามพุช. (ยวนพ่าย). (ป. ปท + อมฺพุช).
  20. ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
  21. มูลิกากร : น. ข้าทูลละอองธุลีพระบาท, เรียกให้เต็มว่า บาทมูลิกากร.
  22. ศารทูล : [สาระ] น. เสือโคร่ง. (ส. ศารฺทูล; ป. สทฺทูล).
  23. สนม ๓ : [สะหฺนม] (โบ) น. เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์ แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่โดยอยู่ในความ ควบคุมดูแลของพวกสนม, เรียกลักษณะที่ถูกกักบริเวณเช่นนั้นว่า ติดสนม.
  24. สรวมชีพ : ก. ขอชีวิต, ขอจงให้ชีวิตหรือปกป้องชีวิต, ใช้ขึ้นต้นคํา กราบบังคมทูลอย่างขอเดชะ.
  25. สะระตะ : (แบบ) ก. เก็งหรือคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก เช่น ข้าพระพุทธเจ้าคิดสะระตะอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี. (หนังสือ เจ้าพระยาพระเสด็จฯ กราบบังคมทูล ร. ๕), สรตะ ก็ว่า.
  26. ทลอึง : [ทนละ-] (กลอน) ก. ตั้งมั่น, มั่นคง.
  27. [1-26]

(0.0680 sec)