นรา : ดู นร.
นรา : (กลอน) น. คน.
นราธิเบนทร์, นราธิเบศร์ : ดู นร.
นราธิเบนทร์, นราธิเบศร์ : น. พระมหากษัตริย์. (ส. นร + อธิป + อินฺทฺร; ป. นร + อธิป + อิสฺสร).
นร : [นอระ] น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคําหน้า สมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์. (ป., ส.).
จำลอง ๑ : ก. ถ่ายแบบ เช่น จําลองจากของจริง. ว. แทน เช่น พระพุทธชินราชจําลอง, ที่ทําให้เหมือนของจริง เช่น ท้องฟ้าจําลอง.
อธิป, อธิป : [อะทิบ, อะทิปะ, อะทิบปะ] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนําหน้า คําที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).
อังกุระ, อังกูร : [กูน] น. หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย; มักใช้ อังกูร เป็นส่วน ท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร. (ป., ส.).
นรชาติ : น. คน, หมู่คน.
นรเศรษฐ์ : [นอระ] น. คนประเสริฐ; พระราชา. (ส.).
นรินทร์, นริศ, นริศร, นริศวร : [นะริน, นะริด, นะริดสวน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร, นร + อีศ, นร + อีศฺร, นร + อีศฺวร).
นเรนทรสูร, นเรศ, นเรศวร, นเรศูร : [นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร + สูร, นร + อีศ, นร + อีศฺวร).
นรากร : ดู นร.
นราธิป : [นะราทิบ] (แบบ) น. พระราชา. (นร + อธิป).
นราธิป : ดู นร.
นรินทร์, นริศ, นริศร, นริศวร : ดู นร.
นเรนทรสูร, นเรศ, นเรศวร, นเรศูร : ดู นร.
นโรดม : ดู นร.
กามภพ : น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของ ผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. (ป.).
เฉนียน : [ฉะเหฺนียน] น. ฝั่งน้ำ. (ข. เฉฺนร ว่า ชายฝั่ง).
นิรเทศ : [ระ] (กลอน) ก. เนรเทศ, ขับไล่ออกจากที่เดิม. (ส. นิรฺ + เทศ).
นิรัติศัย : [รัดติไส] (แบบ) ว. พิเศษยิ่ง, ประเสริฐยิ่ง. (ส. นิรฺ + อติศย). นิรันดร, นิรันตร [รันดอน, รันตะระ] ว. ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป. (ป.).
นิรา : (กลอน) ก. ไปจาก. ว. ไม่มี. (ส. นิรฺ).
วางวาย : ก. ตาย เช่น นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์. (กฤษณา), วายวาง ก็ว่า.
สังขารโลก : [สังขานระ] น. ชุมนุมแห่งสังขารทั้งปวง. (ป.).
อาศิร ๑, อาเศียร : [อาสิระ, เสียนระ] น. การอวยพร. (ส. อาศิสฺ คํานี้เมื่อนําหน้า อักษรตํ่าและตัว ห ต้องเปลี่ยน ส เป็น ร เป็น อาศิร และแผลงเป็น อาเศียร ก็มี; ป. อาสิ ว่า ความหวังดี).
อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).