นะ ๒ : น. ชื่อตัวตั้งธาตุน้ำของเวทมนตร์คาถาทางเมตตามหานิยม เช่น เขาคง มีนะดี ใคร ๆ เห็นก็เมตตา.
นะ ๑ : ว. คําประกอบท้ายคําอื่น บอกความเป็นเชิงอ้อนวอน บังคับตกลง หรือ เน้นให้หนักแน่น เป็นต้น เช่น อยู่นะ ไปละนะ.
ลงนะหน้าทอง : ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและ ปิดทองแล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้ เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.
อานาปาน, อานาปานะ : [นะ] น. ลมหายใจเข้าออก ในคําว่า อานาปานัสสติ. (ป., ส.).
กระแหนะ : [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือ วิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็น หัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
แขนะ : [ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงาน ประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดย ใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.
คัคน-, คัคนะ : [คักคะนะ] (แบบ) น. ฟ้า. (ป., ส. คคน).
ญาณทัสนะ : [ยานะทัดสะนะ, ยานนะทัดสะนะ] (แบบ) น. ความรู้ ความเห็น. (ป.).
เดชน์, เดชนะ : [เดด, เดชะนะ] (แบบ) น. ลูกศร. (ป., ส.).
ทมนะ : [ทะมะนะ] (แบบ) น. การทรมาน, การข่ม, การฝึกสอนตน, การปราบ. (ป., ส.).
ทัปนะ : [ทับปะนะ] (แบบ) น. แว่นส่องหน้า, ทรรปณ์ หรือ ทรรปณะ ก็ใช้. (ป. ทปฺปน; ส. ทรฺปณ).
ปหังสนะ, ปหังสะ : [ปะหังสะนะ, -สะ] น. การรื่นเริง. (ป.).
เมหนะ : [เมหะนะ] น. ของลับชายหญิง. (ป., ส.).
วิเลป, วิเลป, วิเลปนะ : [วิเลบ, วิเลปะ, วิเลปะนะ] น. การทา, การลูบไล้; เครื่องลูบไล้. (ป., ส.).
สันทัสนะ : [สันทัดสะนะ] น. การแสดง, การชี้แจง. (ป. สนฺทสฺสน).
หนนะ : [หะนะนะ] น. การฆ่า, การตี, การกําจัด. (ป., ส.).
อธิวาสนะ : [วาสะนะ] น. ความอดกลั้น, ความอดทน. (ป.).
อาฆาตนะ : [ตะนะ] น. การฆ่า, การตี; สถานที่ฆ่าคน. (ป., ส.).
อาจมนะ : [จะมะนะ] น. การล้าง, การชําระ. (ป., ส.).
อาโลกนะ : [โลกะนะ] น. การดู, การเห็น; การตรึกตรอง.
คณนะ, คณนา : [คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).
มุโขโลกนะ : [-โลกะนะ] ว. เห็นแก่หน้า, เห็นแก่พวก, เช่น เขาเป็นคนมุโขโลกนะ. (ป.).
วิโลก, วิโลกนะ : [วิโลกะนะ] ก. แลดู, ตรวจตรา. (ป., ส.).
เยาวนะ : [วะ] น. ชื่อชนชาติกรีก ซึ่งชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคํา Ionia; ชื่อ เรียกชาวไทยทางล้านนา, ยวน โยน หรือ โยนก ก็เรียก.
โมนะ : น. ความนิ่ง, ความสงบ. (ป.; ส. เมาน).
ศวัสนะ : น. การหายใจ. (ส. ศฺวสน).
หานะ : น. ความเสื่อม, ความทรุดโทรม. (ป.).
อาชานะ, อาชานิ : น. กําเนิด, ตระกูล. (ส.).
อานันทนะ : น. การรื่นเริง, การทําให้เพลิดเพลิน. (ป., ส.).
อาพันธ์, อาพันธนะ : น. เครื่องผูก, การผูก. (ป., ส.).
อายานะ : น. การมา, การมาถึง. (ป., ส.).
กระจายนะมณฑล : (โบ) น. ชื่อกลบทวรรคต้นใช้อักษรสูงนําหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรต่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กําจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา. (ชุมนุมตํารากลอน).
คิมหะ, คิมหานะ : [คิม-] (แบบ) น. ฤดูร้อน. (ป.).
นที : [นะ] (แบบ) น. แม่นํ้า. (ป.).
นรก : [นะ] น. แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทําบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ, โดยปริยายหมายถึงแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
นลิน : [นะลิน] (แบบ) น. ดอกบัว. (ป., ส.). นลินี [นะ] (แบบ) น. หมู่บัว, สระบัว. (ป., ส.).
ปาณ-, ปาณะ : [-นะ] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต. (ป.; ส. ปฺราณ).
พันธน, พันธนะ : [พันทะนะ] น. การผูก, การมัด, การจําขัง; เครื่องผูก, เครื่องมัด, เครื่องจํา. (ป., ส.).
มาทนะ, มาทะ : [มาทะนะ] น. เครื่องทําให้เมา, เครื่องทําให้รื่นเริง. (ส.).
รุจนะ : [รุดจะนะ] น. ความชอบใจ, ความพอใจ. (ป.).
วาทนะ : [วาทะนะ] น. การประโคม, การบรรเลงดนตรี. (ส.).
วิกขัมภนะ : [วิกขําพะ] น. การปลดเปลื้อง, การเลิกถอน; การข่มไว้. (ป.).
อวิโรธน์, อวิโรธนะ : [อะวิโรด, อะวิโรทะนะ] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความ ไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).
อาปาน, อาปานะ : [นะ] น. การดื่ม, การเลี้ยง. (ป., ส.).
กระแหนะกระแหน : [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็น เชิงเสียดสี, กระแนะกระแหน ก็ว่า.
โกญจนะ : [โกนจะนะ] (กลอน) ย่อมาจาก โกญจนาท เช่น เสียงช้างก้องโกญจนสำเนียง. (สมุทรโฆษ).
บุนนะบุนนัง : ก. ซ่อม, เพิ่มเติม.
อาสันนะ : ว. ใกล้, เกือบ. (ป., ส.).
นหาดก : [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
นหารุ : [นะหารุ] (แบบ) น. เส้น, เอ็น. (ป.; ส. สฺนายุ).