Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: น้อง , then นอง, น้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : น้อง, 320 found, display 1-50
  1. น้อง : น. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดทีหลัง, ลูกของอาหรือของน้า, เรียกคนที่มีอายุคราวน้อง เช่น น้องแดง น้องเขียว; ออกทีหลัง, มาทีหลัง, เช่น หมากทะลายน้อง มะพร้าวทะลายน้อง, คู่กับ ทะลายพี่; ลักษณนาม ใช้นับอายุไม้จําพวกไม้ไผ่ เช่น ไม้น้องเดียว คือ ไม้ที่มีอายุ ๒ ปี ไม้ ๒ น้อง คือ ไม้ที่มีอายุ ๓ ปี.
  2. น้อง : ว. จวนจะเป็น, ใกล้จะเป็น, เกือบจะเป็น, เช่น น้อง ๆ อธิบดีเข้าไปแล้ว.
  3. น้องเพล : น. เรียกเวลาก่อนเพล ระหว่าง ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา.
  4. ไม่เอาพี่เอาน้อง : ก. ไม่เอื้อเฟื้อจุนเจือญาติพี่น้อง.
  5. เรียงพี่เรียงน้อง : ว. เป็นลูกพี่ลูกน้องกันตามลำดับศักดิ์ คือผู้เป็นพี่มีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้พี่ น้องมีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้น้อง บุตรทั้งสอง ฝ่ายนั้นเรียกว่า เรียงพี่เรียงน้องกัน.
  6. อะนะ, อะหนะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู) เช่น อันอะหนะบุษบาบังอร. (อิเหนา), อานะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  7. อานะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู), อะนะ หรือ อะหนะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  8. นอง : ก. ค้างขังอยู่บนพื้น (ใช้แก่นํ้า) เช่น นํ้านองถนน นํ้านองบ้าน.
  9. พี่น้อง : น. ผู้เกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมบิดาเดียวกัน หรือร่วมมารดาเดียวกัน; คนในเชื้อสายวงศ์วาน.
  10. รักพี่เสียดายน้อง : (สํา) ก. ลังเลใจ, ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี. รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ (สํา) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิด อาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, ยาวบั่น สั้นต่อ ก็ว่า.
  11. ลูกน้อง : (ปาก) น. บริวาร, ผู้อยู่ในปกครองหรือใต้บังคับบัญชา, ผู้ใกล้ชิดเป็นกําลังสําคัญในการงาน.
  12. ลูกผู้น้อง : น. ญาติที่เป็นลูกของน้าหรืออา.
  13. ลูกพี่ลูกน้อง : น. ญาติที่เป็นลูกของลุง ป้า น้า หรืออา.
  14. ขนิษฐ, ขนิษฐา : [ขะนิด, ขะนิดถา] น. น้อง. (เลือนมาจาก กนิษฐ, กนิษฐา).
  15. นุช : (กลอน; ตัดมาจาก อนุช) น. น้อง (โดยมากใช้แก่ผู้หญิง).
  16. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  17. รำคาญใจ : ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้ พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.
  18. หม่อง : น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายพม่า (พม่า หม่อง ว่า น้อง); เรียกยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่ง ใช้ทา นวด เป็นต้น ว่า ยาหม่อง.
  19. อาเด๊ะ : น. น้อง. (ช.).
  20. ลูกคู่ : น. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับพ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยายหมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่. ลูกฆ้อง น. ทํานองหลักของเพลงไทยที่โดยปรกติจะบรรเลงด้วย ฆ้องวงใหญ่.
  21. กนิษฐ-,กนิษฐ์ : [กะนิดถะ-, กะนิด] ว. ''น้อยที่สุด''. (ส.; ป. กนิฏฺ?), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว.(ส.; ป. กนิฏฺ?).
  22. กนิษฐภคินี : น. น้องหญิง. (-ป., ส. ภคินี ว่า น้องหญิง).
  23. กนิษฐภาดา : น. น้องชาย. (-ป. ภาตา ว่า น้องชาย).
  24. กนิษฐา : (กลอน) น. น้องสาว, คู่กับ เชษฐา คือ พี่ชาย; (ราชา) นิ้วก้อย ใช้ว่า พระกนิษฐา. (ส.).
  25. กระจร ๒ : (กลอน) ก. ฟุ้งไป เช่น ให้กระจรกิจจาในนุสนธิ์. (พาลีสอนน้อง). (แผลงมาจาก ขจร).
  26. กระโฉม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขนขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลําต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกม ชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วน ของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทํายาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน. (เห่เรือ).
  27. กระแตไต่ไม้ ๑ : น. ชื่อกลบท ตัวอย่างว่า หมายหมองมาดสวาท น้องมาดหมองหมาย; ชื่อเพลง เดิมเป็นของชาวเหนือพวกกะเหรี่ยง บัดนี้ใช้เป็นเพลงโหมโรงหรือเพลงเสภา ทําตอนรื่นเริง.
  28. กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  29. กะ ๒ : ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคําว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
  30. กามิศ, กาเมศ : ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ชงครากามิศน้อง ยังยัง ติดแม่. (ทวาทศมาส), โกมลมิ่งโกมุท กาเมศ เรียมเอย. (ทวาทศมาส).
  31. ขมอย : [ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่า ฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่ หรือของน้อง).
  32. จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
  33. จรุง, จรูง : [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
  34. ฉันทา : (กลอน) ก. ลําเอียงเพราะรักใคร่ชอบใจ เช่น พระแก่วันชันษากว่าข้านี้ นึกว่าพี่น้องกันไม่ฉันทา. (อภัย).
  35. ชังคา : (กลอน) น. ราชโองการ เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา. (พาลีสอนน้อง).
  36. เชิงชายา ๑ : [เชดถา] (กลอน) น. พี่ชาย, คู่กับ กนิษฐา คือ น้องสาว.
  37. ทวดน้อย : น. เรียกคนชั้นน้องของทวดว่า ทวดน้อย.
  38. ท้อง : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดือ อยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ
  39. ทายาทโดยธรรม : (กฎ) น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดก ของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา เดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลําดับที่กฎหมาย กําหนดไว้.
  40. ที่รัก : น. คนรัก, คําแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความ นับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก.
  41. ทุมโน : [ทุมมะโน] (แบบ; กลอน) ก. เสียใจ เช่น จะทุมโนโทมนัสน้อยใจ ไปไยนะน้องหญิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป.).
  42. เทครัว : ก. ยกครอบครัวไป, กวาดครอบครัวไป; โดยปริยายเรียก ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้องว่า พระยาเทครัว.
  43. เทวระ : [เทวะ-] (แบบ) น. พี่ผัว, น้องผัว. (ป.).
  44. เทวัน : น. พี่เขย, น้องเขย. (ส.).
  45. เทียมบ่าเทียมไหล่ : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะจนเทียมบ่าเทียมไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมหน้าเทียมตา หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
  46. เทียมหน้าเทียมตา : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะนเทียมหน้าเทียมตากับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
  47. นงนุช : น. นางน้อง.
  48. น้อย ๑ : ว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมาย ถึงลักษณะที่ไม่สําคัญ เช่น ครูน้อยผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึก เป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.
  49. นักเลงโต : น. ผู้เกะกะระราน เช่น น้องชายเขาเป็นนักเลงโต ทำให้เพื่อนบ้าน เดือดร้อนเสมอ ๆ, นักเลง ก็ว่า.
  50. นับ : ก. ตรวจหรือบอกให้รู้จํานวน; ถือเอาว่า เช่น มีเงินนับเป็นน้อง มีทอง นับเป็นพี่.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-320

(0.0653 sec)