Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บังคับ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บังคับ, 242 found, display 1-50
  1. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  2. บังคับบัญชา : ก. มีอํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไป ตามอํานาจหน้าที่. น. อํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็น ไปตามอํานาจหน้าที่, เรียกผู้มีอํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการ นั้นว่า ผู้บังคับบัญชา, เรียกผู้อยู่ใต้อํานาจปกครองควบคุมดูแลและ สั่งการนั้นว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา.
  3. บังคับครุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระ สั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อํา ใอ ไอ เอา เช่น รํา ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
  4. บังคับใจ : ก. ห้ามใจ, ข่มใจ, อดกลั้น; ใช้อํานาจบังคับให้เขาต้องฝืน ใจทํา.
  5. บังคับโท : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์โท.
  6. บังคับลหุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.
  7. บังคับสัมผัส : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําคล้องจอง กัน มีหลายชนิด คือ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระ สัมผัสอักษร.
  8. บังคับเอก : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคําตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้ แทนเอกได้.
  9. กฎข้อบังคับ : (กฎ) น. บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกําหนดขึ้น ไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย, ปัจจุบันนิยมใช้ว่า ข้อบังคับ.
  10. ข้อบังคับ : (กฎ) ดู กฎข้อบังคับ.
  11. ผู้บังคับบัญชา : น. ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจ ปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา.
  12. วิชาบังคับพื้นฐาน : น. รายวิชาพื้นฐานที่บังคับให้เรียนในหลักสูตร. (อ. basic requirement).
  13. วิชาบังคับเลือก : น. รายวิชาเลือกที่ทางภาควิชาบังคับให้เรียนใน หลักสูตร. (อ. elective prescribed course).
  14. วิชาเลือกบังคับ : น. รายวิชาเลือกที่อาจารย์ที่ปรึกษาบังคับให้เรียน เป็นรายบุคคล. (อ. prescribed elective course).
  15. หมายบังคับคดี : (กฎ) น. หมายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อ ศาลเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.
  16. คำบังคับ : (กฎ) น. คําสั่งของศาลซึ่งออกเพื่อสั่งให้คู่ความหรือบุคคล ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง.
  17. เงื่อนไขบังคับก่อน : (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว.
  18. เงื่อนไขบังคับหลัง : (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว.
  19. เจ้าพนักงานบังคับคดี : (กฎ) น. เจ้าพนักงานศาลหรือพนักงานอื่น ผู้มี อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติการเพื่อคุ้มครอง สิทธิของคู่ความในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษา หรือคําสั่งของศาล.
  20. บีบบังคับ : ก. กดขี่.
  21. วิชาบังคับ : น. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในหลักสูตรนั้น จะต้องเรียน. (อ. prescribed course).
  22. ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
  23. เคี่ยวเข็ญ : ก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลําบาก เช่น เคี่ยวเข็ญ เย็นค่ำกรำไปตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับ ให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.
  24. ไล่ขับ : ก. วิ่งตามเพื่อให้ทัน เช่น เด็กวิ่งไล่ขับกันมาบนถนน; บังคับ ให้ออกไปให้พ้น เช่น ไล่ขับคนร้ายออกไปจากบ้าน.
  25. บัง ๒ : คําพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่อ อยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอํา เช่น บําเพ็ญ.
  26. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  27. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  28. กฎหมายเหตุ : น. จดหมายเหตุ. (พงศ. ประเสริฐ); (กฎ;โบ) กฎเกณฑ์การปฏิบัติที่ตราขึ้นหรือเนื่องจากประเพณีซึ่งมีค่าบังคับ.
  29. กฎหมู่ : น. อํานาจกดดันที่บุคคลจํานวนมากนํามาใช้บีบบังคับให้อีก ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือเว้นกระทําสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).
  30. กด ๔ : ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กําลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้ง กักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).
  31. กดขี่ : ก. ข่มให้อยู่ในอํานาจตน, ใช้บังคับเอา, ทําอํานาจเอา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ข่มเหง เป็น กดขี่ข่มเหง.
  32. กดคอ : (ปาก) ก. บังคับเอา.
  33. กบเลือกนาย : (สํา) น. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ.
  34. กรมการ : [กฺรมมะ-] (กฎ;โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่ สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครอง หัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).
  35. กรมธรรม์ประกันภัย : (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของ ผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของ ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
  36. กระทำ ๑ : ก. ทํา, จัดแจง, ปรุงขึ้น, สร้างขึ้น; (กฎ) ทําการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย และหมายรวมถึงละเว้นการที่ กฎหมายบังคับให้กระทํา หรืองดเว้นการที่จักต้องกระทํา เพื่อป้องกันผลนั้นด้วย.
  37. กระบอกสูบ : น. ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรง รูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสําหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อน ไปมา.
  38. กระแหม่ว : [-แหฺม่ว] ก. แขม่ว, ผ่อนลมหายใจให้ท้องยุบลง, บังคับกล้ามเนื้อท้องให้ท้องยุบลง. (แผลงมาจาก แขม่ว).
  39. กราด ๕ : [กฺราด] ก. กวดให้แน่น เช่น กราดลิ่ม, กวดให้อยู่ในบังคับ เช่น กราดควาย กราดเด็ก; พ่นน้ำนกและไก่แล้วเอาออกผึ่งแดด; ตากอยู่กลางแดดกลางลม. ว. ซัดส่ายไปโดยไม่เจาะจง เช่น ยิงกราด, สาดไป เช่น ด่ากราด.
  40. กลั่น : [กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สําคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นน้ำ, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.
  41. กลั้น : [กฺลั้น] ก. บังคับความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่ภายใน ร่างกายไม่ให้แสดงออกหรือหลุดออกมา.
  42. กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  43. กองทัพ : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.
  44. กองทัพน้อย : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหารหลายกองพล มีจํานวนไม่แน่นอน เป็นการจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีแม่ทัพน้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
  45. กองพล : น. หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ๓ กรม เป็นหลัก มีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารปืนใหญ่ หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ทหารขนส่ง หน่วยทหารสารวัตร เป็นส่วนประกอบ มีผู้บัญชาการกองพลเป็นผู้บังคับบัญชา.
  46. กองพัน : น. หน่วยทหารซึ่งประกอบด้วยทหาร ๔ กองร้อย มีผู้บังคับกองพันเป็นผู้บังคับบัญชา.
  47. กองร้อย : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหาร ๔ หมวด มีผู้บังคับกองร้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
  48. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  49. กะกร่อม : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เครื่องมือจับปูทะเล เป็นของชาวประมงตั้งแต่ จังหวัดชุมพรถึงสุราษฎร์ธานี, บางทีเรียกว่า กร่อม หรือ ตะกร่อม, ใช้ไม้ไผ่อันเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ และซี่เหล่านั้นเหลา ให้อ่อน จะเป็นรูปกลมหรือแบนก็ได้ เอาวงแหวนทําด้วยไม้ไผ่ หรือหวายหรือลวดใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก.
  50. กะเกณฑ์ : ก. บังคับ, กําหนดเป็นเชิงบังคับ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-242

(0.0265 sec)