บุษบา : [บุดสะ-] (กลอน) น. ดอกไม้.
บุษบากร : ว. อันเต็มไปด้วยดอกไม้. (ส. ปุษฺปากร).
บุษบาคม : น. ฤดูดอกไม้. (ส.).
บุษบาบัณ : น. ตลาดดอกไม้. (ส.).
บุษบารักร้อย : น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
กระพุ่ม : น. ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, (กลอน) พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน. (ลอ), สองถันกระพุ่มกาญจนแมนมาเลขา. (อนิรุทธ์).
ห่างเห : (กลอน) ว. จากไป, พรากไป, เช่น นิราศร้างห่างเหเสนหา ปาง อิเหนาเศร้าสุดถึงบุษบา. (นิ. อิเหนา).
อะนะ, อะหนะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู) เช่น อันอะหนะบุษบาบังอร. (อิเหนา), อานะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
บุษบ- : [บุดสะบะ-] น. ดอกไม้. (ส. ปุษฺป; ป. ปุปฺผ).
บุษบราค : [-ราก] น. บุษราคัม, ทับทิม, บุษย์นํ้าทอง, พลอยสีเหลือง. (ส. ปุษฺปราค).
บุษบวรรษ : [-วัด] น. ฝนดอกไม้ (เช่นที่ตกพรูเมื่อวีรบุรุษกระทํา การใหญ่หลวง). (ส. ปุษฺปวรฺษ).
บุษย์น้ำทอง : ดู บุษบราค ที่ บุษบ-.
เกิง : (โบ; กลอน) ว. ล่วง เช่น ตกพ่างบุษบนนเกิง ขาดขว้นน. (ทวาทศมาส).