ปรอท : [ปะหฺรอด] น. ธาตุลําดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖?ซ. เดือดที่ ๓๕๗?ซ. ใช้ ประโยชน์นําไปทําเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทําเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury); (ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).
นวโลหะ : น. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคํา ๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคําตัดมาจาก ''เจ้านํ้าเงินว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และ บริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตําราสร้าง พระพุทธรูป).
บารอมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้วัดความกดดันของบรรยากาศ อาจประกอบด้วย ปรอท หรือตลับโลหะสุญญากาศ แล้วแต่ความมุ่งหมายและความ สะดวกที่จะนําไปใช้. (อ. barometer).
เบญจโลห : ะ น. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมา จาก ''เจ้าน้ำเงิน'' ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และ สังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และ บริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้าง พระพุทธรูป).
สัตโลหะ : [สัดตะ] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก ''เจ้าน้ำเงิน'' ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียว เป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).
กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
กะไหล่ : น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบน โลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทอง ด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).
กำแพงขาว : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล. (กบิลว่าน).
ชาดหรคุณ : [ชาดหอระ] น. ชาดประสมกับปรอทและ กํามะถันเพื่อจะให้ชาดจับแน่นกับเนื้อทองดุจกะไหล่และ เพื่อจะให้สุก. (ลัทธิ).
เทอร์โมมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ อาจประกอบด้วยปรอท แอลกอฮอล์ แก๊ส หรือโลหะเป็นต้น แล้วแต่ความมุ่งหมาย ความสะดวกที่จะนํา ไปใช้ และความละเอียดถูกต้องในการวัด, เทอร์มอมิเตอร์ ก็เรียก. (อ. thermometer).
บรรยากาศ : น. อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความ ถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน; หน่วยของความดัน กําหนดว่า ความดัน ๑ บรรยากาศ มีค่าเท่ากับความดันของลําปรอทที่ตั้งตรงสูง ๗๖ เซนติเมตร ที่ ๐?ซ. ณ ระดับทะเลที่ละติจูด ๔๕? หรือเท่ากับความดัน ๑๐๑,๓๒๕ นิวตันต่อตารางเมตร.