Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปล้นทรัพย์, ทรัพย์, ปล้น , then ทรัพย์, ปลน, ปล้น, ปล้นทรัพย์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปล้นทรัพย์, 166 found, display 1-50
  1. ปล้นทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ชิงทรัพย์ร่วม กระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์.
  2. ปล้น : [ปฺล้น] ก. ใช้กําลังลอบมาหักโหมแย่งชิงเอาโดยไม่รู้ตัว.
  3. ทรัพย-, ทรัพย์ : [ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่ถือว่ามีค่าอาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).
  4. ปล้นสะดม : (โบ) ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิท ไม่รู้สึกตัว.
  5. สะดม : ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิทไม่รู้สึกตัว, ใช้เข้าคู่ กับคำ ปล้น เป็น ปล้นสะดม. (ข. สณฺฎํ).
  6. ทรัพย์นอกพาณิชย์ : (กฎ) น. ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และ ทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.
  7. ปล้นบ้านปล้นเมือง : (สำ) ก. โกงกินทรัพย์สมบัติของชาติ.
  8. ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ : (สํา) น. สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติ อันอาจนํามาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้.
  9. ทรัพย์มรดก : (กฎ) ดู มรดก.
  10. ทรัพย์สมบัติ : น. ทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครองอันอาจใช้สอย แจกจ่ายได้.
  11. ปล้นสวาท : (ปาก) ก. ข่มขืนกระทำชำเรา.
  12. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ พิทักษ์ทรัพย์สินและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
  13. ชิงทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานลักทรัพย์โดยใช้ กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลัง ประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือ การพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือ เอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทําความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม.
  14. ทุนทรัพย์ : [ทุนซับ, ทุนนะซับ] น. ทรัพย์ที่เป็นทุน, จํานวนทรัพย์
  15. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  16. บริษัทหลักทรัพย์ : (กฎ) น. บริษัทหรือสถาบันการเงินที่ได้รับใบ อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการ กองทุนรวม.
  17. พสุ : [พะ] น. ชื่อเรียกเทวดาจําพวกหนึ่ง; ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี. ว. ดี, เลิศ, ประเสริฐ; ใจดี, กรุณา. (ป., ส. วสุ).
  18. พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  19. ภารยทรัพย์ : [พาระยะซับ] (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระ บางอย่างที่เกิดจากภาระจํายอม, คู่กับ สามยทรัพย์.
  20. ริบทรัพย์ : ก. ยึดเอาทรัพย์มาเป็นของแผ่นดิน เช่น ถูกริบทรัพย์โดย คำสั่งศาล.
  21. ลักทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาฐานเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือ ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต.
  22. ลักษมี : [ลักสะหฺมี] น. โชคลาภ, ความเจริญ, ทรัพย์; ความงาม, เสน่ห์, สิริ; ชื่อเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม เป็นชายาพระนารายณ์. (ส.).
  23. วางทรัพย์ : (กฎ) น. การที่บุคคลผู้ชำระหนี้นำทรัพย์อันเป็นวัตถุ แห่งหนี้ไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้อง ชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ในกรณีที่เจ้าหนี้บอกปัด ไม่ยอมรับชำระหนี้หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ เพื่อให้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.
  24. วิญญาณกทรัพย์ : [วินยานะกะซับ, วินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, สวิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
  25. สวิญญาณกทรัพย์ : [สะวินยานะกะซับ, สะวินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณ หรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, ตรงข้ามกับ อวิญญาณกทรัพย์, วิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
  26. อริยทรัพย์ : น. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).
  27. อวิญญาณกทรัพย์ : (กฎ; โบ) น. สิ่งที่ไม่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่ง นับเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ทอง ที่ดิน.
  28. ช่วงทรัพย์ : (กฎ) ก. เอาทรัพย์สินอันหนึ่งแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง ซึ่งมีฐานะทางกฎหมายอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน.
  29. เช่าทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่ว ระยะเวลาอันมีจํากัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น.
  30. ฝากทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่ง มอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝากและผู้รับฝาก ตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้.
  31. ยึดทรัพย์ : (กฎ) ก. การที่เจ้าพนักงานเอาทรัพย์สินไปจากการครอบครอง ของบุคคล เพราะเหตุที่กระทําการฝ่าฝืนกฎหมายหรือเพื่อบังคับคดี.
  32. รูดทรัพย์ : (ปาก) ก. ยึดเอาสิ่งมีค่า เช่น แหวน นาฬิกา สายสร้อย ออกจากตัวโดยเจ้าของไม่รู้ตัว หรือโดยถูกขู่บังคับ.
  33. หลักทรัพย์ : (กฎ) น. ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ หน่วยลงทุน.
  34. ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
  35. ทรัพยากร : ดู ทรัพย-, ทรัพย์.
  36. ทรัพยากรธรณี : ดู ทรัพย-, ทรัพย์.
  37. ทรัพยากรธรรมชาติ : ดู ทรัพย-, ทรัพย์.
  38. กฎหมายพาณิชย์ : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
  39. กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
  40. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  41. กลบ : [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ใช้เนื้อ, ทดแทน, เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย. (กฎ. ราชบุรี), กลบลบ ก็ว่าเช่น หักกลบลบหนี้.
  42. กากณึก : [กากะหฺนึก] น. ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกาพาไปได้; ชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด. (ป. กากณิกา).
  43. กายทุจริต : [กายะทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑.
  44. กายสิทธิ์ : ว. มีฤทธิ์เดชต่าง ๆ อยู่ในตัว. กายสุจริต [กายยะสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิด ในกาม ๑.
  45. ขโมย : [ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบทำสิ่ง ที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่ เขา ขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.
  46. ของเก่า : น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็น อาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจําหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
  47. ขายฝาก : (กฎ) น. สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้.
  48. เข้าเนื้อ : ก. ขาดทุน, เสียทรัพย์ไป; เสียหาย, เสียเปรียบ, เช่น พูดให้เข้าเนื้อ; เข้าเลือด หรือ เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก็ว่า.
  49. คดีมโนสาเร่ : (กฎ) น. คดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่าจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมาย.
  50. ครัว ๒ : [คฺรัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้าขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้องจะได้รับทรัพย์มรดก มากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-166

(0.1257 sec)