Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฝ่ายบุคคล, บุคคล, ฝ่าย , then บุคคล, ปุคคล, ฝาย, ฝ่าย, ฝายบคคล, ฝ่ายบุคคล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ฝ่ายบุคคล, 694 found, display 1-50
  1. ฝ่าย : น. ข้าง, พวก, ส่วน.
  2. บุคคล, บุคคล- : [บุกคน, บุกคะละ-, บุกคนละ-] น. คน (เฉพาะตัว); (กฎ) คนซึ่ง สามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา; กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีก ประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ ตามกฎหมาย เรียกว่า นิติบุคคล. (ป. ปุคฺคล; ส. ปุทฺคล).
  3. ตอกลิ่ม : ก. ทำให้แยกโดยใช้ลิ่ม, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้บุคคลฝ่าย แตกแยกกันหรือบาดหมางกันยิ่งขึ้น เช่น ตอกลิ่มให้ทั้ง ๒ ฝ่ายทะเลาะกัน.
  4. คู่กรณี : น. ผู้ที่เกิดพิพาทกัน; (กฎ) บุคคลฝ่ายซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  5. คู่พิพาท : (กฎ) น. บุคคลฝ่ายซึ่งมีกรณีโต้แย้งกัน.
  6. คู่สัญญา : (กฎ) น. บุคคลฝ่ายหรือหลายฝ่ายซึ่งมีความผูกพันตามสัญญา.
  7. บุคคลที่สาม : (กฎ) ดู บุคคลภายนอก.
  8. บุคคลผู้ไร้ความสามารถ : [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มี ความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
  9. บุคคลภายนอก : (กฎ) น. บุคคลที่มิได้เป็นคู่กรณีหรือคู่สัญญา แต่อาจมีสิทธิเกี่ยวข้อง, บุคคลที่สาม ก็เรียก.
  10. บุคคลสิทธิ : [บุกคะละสิด, บุกคนละสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.
  11. ฝ่ายค้าน : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอ ในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทําหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใคร จะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.
  12. ฝ่ายเป็นกลาง : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้นไม่ฝักใฝ่หนักไปทางฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา.
  13. ฝ่ายเสนอ : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นให้ฝ่ายค้านโต้แย้งตามญัตติใน การโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายค้าน.
  14. บุคคลธรรมดา : [บุกคน-] น. คน, มนุษย์ปุถุชน.
  15. บุคคลนิติสมมติ : [บุกคนนิติสมมด] (กฎ; เลิก) น. นิติบุคคล.
  16. ฝ่ายขวา : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยม.
  17. ฝ่ายซ้าย : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้น นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง, โดยทั่วไป ใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์.
  18. ฝ่ายหน้า : น. เจ้านายและข้าราชการซึ่งไม่ใช่ฝ่ายใน.
  19. กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  20. กฎหมู่ : น. อํานาจกดดันที่บุคคลจํานวนมากนํามาใช้บีบบังคับให้อีก ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือเว้นกระทําสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).
  21. กติกา : [กะ-] น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกําหนด ขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล; (กฎ) หนังสือ สัญญา; ข้อตกลง. (ป.; อ. covenant).
  22. กระบวนการยุติธรรม : (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหาร งานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาลกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์.
  23. กำหนด : [-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการ บางจําพวก เช่น พระราชกําหนดเครื่องแบบแต่งกาย ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.
  24. คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
  25. คำบังคับ : (กฎ) น. คําสั่งของศาลซึ่งออกเพื่อสั่งให้คู่ความหรือบุคคล ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง.
  26. ซื้อขาย : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย.
  27. ตั๋ว : น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.). ตั๋วเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงิน ตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค. ตั๋วเงินคลัง น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการ กู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. ตั๋วเงินจ่าย (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องใช้เงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องหนี้สิน. ตั๋วเงินรับ (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องทรัพย์สิน. ตั๋วรูปพรรณ (กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ. ตั๋วแลกเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คํามั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
  28. นายหน้า : ( (กฎ) น. บุคคลผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลฝ่ายได้เข้า ทําสัญญากัน.
  29. มือที่สาม : น. บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยก หรือบ่อนทำลาย.
  30. สัญญา : น. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคลฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ก. ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความ ตกลง, กัน เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).
  31. หนังสือสัญญา : (กฎ) น. ข้อตกลงระหว่างบุคคลฝ่ายหรือหลายฝ่าย ว่าจะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทําขึ้นเป็น ลายลักษณ์อักษร.
  32. หนี้ : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.
  33. หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
  34. ก้ำ : (โบ) น. ด้าน, ฝ่าย, ทิศ.
  35. ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
  36. แขวง : [แขฺวง] น. เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กําหนดไว้เพื่อสะดวก ในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  37. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  38. ปลาก : [ปฺลาก] (โบ) น. ที่, ฝ่าย, ข้าง.
  39. ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
  40. ถูปารหบุคคล : [–ระหะ–] น. บุคคลที่ควรนํากระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา ได้แก่ พระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป.).
  41. ศาสนบุคคล : น. นักบวชในศาสนา เช่น ภิกษุสามเณรเป็น ศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา.
  42. สองฝักสองฝ่าย : (สํา) ว. ที่ทําตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น ประเทศเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มักต้อง ทําตัวสองฝักสองฝ่ายกับประเทศใหญ่เพื่อความอยู่รอดของตน.
  43. สอบประวัติส่วนบุคคล : ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่ง จะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้ง สุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
  44. ปาหุไณยบุคคล : น. คนผู้ควรได้รับของต้อนรับแขก. (ป.).
  45. ฝักฝ่าย : น. พวก, ข้าง. ก. เข้าพวก, เข้าข้าง.
  46. ฝาย : น. ที่กั้นนํ้าเพื่อการชลประทาน.
  47. พยานบุคคล : (กฎ) ดู พยาน.
  48. รถส่วนบุคคล : น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ.
  49. อภัพบุคคล : [อะพับพะบุกคน] น. คนไม่สมควร. (ป. อภพฺพปุคฺคล).
  50. อเสกขบุคคล, อเสขบุคคล : [อะเสกขะ, อะเสขะ] น. ผู้ที่ไม่ต้อง ศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-694

(0.2033 sec)