Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พลับ , then พลบ, พลปฺ, พลับ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พลับ, 19 found, display 1-19
  1. พลับ : [พฺลับ] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros malabarica Kostel. var. siamensis (Hochr.) Phengklai ในวงศ์ Ebenaceae คล้ายตะโก ผลกินได้, มะพลับ ก็เรียก.
  2. พลับเขา : ดู กระดูกค่าง.
  3. พลบ : [พฺลบ] น. เวลายํ่าคํ่า, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เช่น ตะวัน ชิงพลบ, พลบค่ำ ก็ว่า, ในบทกลอนแผลงเป็น พระลบ ก็มี.
  4. มะพลับ : [-พฺลับ] ดู พลับ.
  5. กระดูกค่าง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros undulata Wall. ex G. Don var. cratericalyx (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ, จะเพลิง ชะเพลิง คําดีควาย ดูกค่าง ตะโกดํา พลับเขา ไหม้ หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก.
  6. กระต้อ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระต้อพลอดกิ่งพลับ. (เพชรมงกุฎ).
  7. เข้าไต้เข้าไฟ : ว. เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ, พลบ, ใช้ว่า เวลาเข้าไต้เข้าไฟ.
  8. พลบค่ำ : น. เวลาย่ำค่ำ, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, พลบ ก็ว่า.
  9. พระลบ : (กลอน) น. พลบ.
  10. กาหล : [-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
  11. ชิงพลบ : [พฺลบ] ว. จวนคํ่า, โพล้เพล้.
  12. ปากซ่อม : น. ชื่อนกในวงศ์ Scolopacidae ลําตัวป้อม ลายนํ้าตาลและขาว ปากยาวแหลมเล็ก ขาสั้น หากินในเวลาพลบคํ่าและเวลากลางคืน ใช้ปากแทงหาอาหารจําพวกหนอนและไส้เดือนในดิน มักอยู่ตาม ลําพัง มีหลายชนิด เช่น ปากซ่อมหางเข็ม (Gallinago stenura) ปากซ่อมหางพัด (G. gallinago) ปากซ่อมดง (Scolopax rusticola).
  13. ผีตากผ้าอ้อม : น. แสงแดดที่สะท้อนกลับมาสว่างในเวลาจวน พลบในบางคราว.
  14. แพล็บ, แพล็บ ๆ : [แพฺล็บ] ว. ชั่วระยะเวลาเดี๋ยวเดียวอย่างฟ้าแลบ เช่น โผล่มาแพล็บ เดียว หายไปแล้ว ทำแพล็บเดียวเสร็จ แลบลิ้นแพล็บ ๆ, แผล็บ หรือ แผล็บ ๆ ก็ว่า.
  15. โพล้เพล้ : น. เวลาพลบคํ่า, เวลาจวนคํ่า, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เพล้โพล้ ก็ว่า, ใช้ว่า พี้โพ้ ก็มี.
  16. มืดค่ำ : น. เวลาพลบคํ่าขมุกขมัว เช่น มืดค่ำแล้วเข้าบ้านเสียที.
  17. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  18. สนธยา : [สนทะ] น. เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, บางทีใช้ว่า ยํ่าสนธยา; ช่วงเวลา ที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือ พระอาทิตย์ตก. (ส.).
  19. หมาใน : น. ชื่อหมาชนิด Cuon alpinus ในวงศ์ Canidae ขนสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเทา หางสีคลํ้ายาวเป็นพวง อาศัยอยู่ตามป่าทึบ ออกหากินเป็น ฝูงเวลาเช้ามืดและพลบคํ่า ล่าสัตว์อื่นกิน เช่น เก้ง กวาง หมูป่า สัตว์เล็ก ๆ.

(0.0598 sec)