Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มาศ , then มาศ, มาส .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มาศ, 56 found, display 1-50
  1. มาศ : น. ทอง; กํามะถัน.
  2. กะชามาศ : น. ทองที่เกิดในน้ำ. (ปาเลกัว).
  3. ตรีเกสรมาศ : น. เกสรทอง ๓ อย่าง คือ ผลมะตูมอ่อน เปลือกฝิ่น เกสรบัวหลวง.
  4. ถมปรักมาศ : [–ปฺรักมาด] น. ถมเงินและทอง.
  5. ยานมาศ, ยานุมาศ : [ยานนะมาด, ยานุมาด] น. พระราชยานคานหามสําหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรง ราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคาน หาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราช ดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก.
  6. ลูกระมาศ : ดู มะแข่น.
  7. หมากมาศ : ดู มะแข่น.
  8. กช, กช- : [กด, กดชะ-] (กลอน; ตัดมาจาก บงกช) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอัน บานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล. (อิเหนาคําฉันท์). (ป. ปงฺกช).
  9. กรรณิกา : [กัน-] (แบบ) น. ดอกไม้ เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺณิกา ว่า ฝักบัว, ช่อฟ้า; ป. กณฺณิกา).
  10. กระลาพิม : น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล).
  11. กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
  12. กัณฐี : [กันถี] (แบบ) น. เครื่องประดับคอ เช่น แก้วกัณฐีถนิมมาศนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  13. มะแข่น : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum budrunga Wall. ex Hook.f. ในวงศ์ Rutaceae มีลักษณะทั่วไปคล้ายกําจัดหรือมะข่วง [Z. rhetsa (Roxb.) DC.] ต่างกันที่ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๕ มิลลิเมตร มีกลิ่นฉุนจัด เมล็ดกลม สีนํ้าตาลเข้ม ใช้ผลแห้งเป็นเครื่องเทศหรือตําผสมเป็น เครื่องแกงเพื่อชูรส, พริกหอม ลูกระมาศ หรือ หมากมาศ ก็เรียก.
  14. แมว ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์ เดียวกับเสือ ขนยาวนุ่ม มีหลายสี เช่น ดํา ขาว นํ้าตาล ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ เพื่อความสวยงามและใช้จับหนู แมววิเชียรมาศ และแมวสีสวาด เป็นแมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
  15. ศิลป์ ๒ : [สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวง วาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนง ก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  16. มาส ๑ : น. พระจันทร์, เดือน. (ป., ส.).
  17. มาส ๒ : ดู ราชมาษ, ราชมาส.
  18. ผลคุนีบูรพมาส : [–บูระพะมาด] น. วันเพ็ญในนักษัตรอุตรผลคุนี. (ส. ผาลคุนี + ปูรฺว + มาส).
  19. ไพศาขมาส : [ไพสาขะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ วิศาขะ คือ เดือน ๖ ตกในราวเดือนพฤษภาคม. (ส.; ป. วิสาขมาส).
  20. โปฐปทมาส : [โปดถะปะทะมาด] น. เดือนอันประกอบด้วยวันเพ็ญรวมนักษัตร โปฐปทาคือ เดือนภัทรบท ได้แก่ เดือน ๑๐ หรือเดือนกันยายน. (ป. โปฏฺ?ปทมาส).
  21. ผัคคุณมาส : น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรผลคุนี คือ เดือน ๔ ตกในราวเดือนมีนาคม. (ป.).
  22. ภัทรบทมาส : [พัดทฺระบดทะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวย ฤกษ์ภัทรปทา คือ เดือน ๑๐ ตกในราวเดือนกันยายน.
  23. มฤคศิรมาส : น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์มฤคศิระ คือ เดือนอ้าย ตกในราวเดือนธันวาคม.
  24. ราชมาษ, ราชมาส : [ราดชะมาด] น. ชื่อถั่วชนิด Phaseolus lunatus L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อไม่แตกแขนง, มาส ก็เรียก.
  25. กรรเกด : [กัน-] (กลอน) น. การะเกด เช่น จงกลกรรเกดแก้ว กรองมาลย์. (ทวาทศมาส).
  26. กรอ ๒ : ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางที ก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
  27. กระละหล่ำ : ก. กล้า, เกือบ, เช่น กระละหล่าจกกเป็นแต่กี้. (ทวาทศมาส).
  28. กว้า : [กฺว้า] (โบ) ว. หรือ, อะไร, ทําไม, เป็นไร, บ้างซิ, บ้างเถิด, ว้า, หวามใจ, เช่น ในรลุงนาภี พรั่นกว้า. (ทวาทศมาส).
  29. กามิศ, กาเมศ : ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ชงครากามิศน้อง ยังยัง ติดแม่. (ทวาทศมาส), โกมลมิ่งโกมุท กาเมศ เรียมเอย. (ทวาทศมาส).
  30. การเต : [กาน-] น. กานดา เช่น ธรณีธรณิศแก้ว การเต. (ทวาทศมาส).
  31. เกิง : (โบ; กลอน) ว. ล่วง เช่น ตกพ่างบุษบนนเกิง ขาดขว้นน. (ทวาทศมาส).
  32. โกรย : [โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).
  33. โกศ ๒ : [โกด] น. ฝัก, กระพุ้ง; ดอกไม้ตูม เช่น ชมช่อไม้เหมือนแก้ม โกศเกลา. (ทวาทศมาส).
  34. โกสีย์ : น. พระอินทร์ เช่น ล้าเลอศกรุงโกสีย์ หยาดหล้า. (ทวาทศมาส). (ป. โกสิย).
  35. คู่บารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญบารมีกันมาก่อน และมาสนับสนุน เกื้อกูลกันในปัจจุบัน, สิ่งประดับบารมี.
  36. แครง ๔ : [แคฺรง] ว. ตกแต่ง เช่น ธก็ผลัดแผลงแครงเครื่องอันบริสุทธิ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทําด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจํารัสแครง ใสส่อง. (ทวาทศมาส). น. ผ้า เช่น นางก็ทรงพัสตราภรณ์ พาดแครง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (เทียบ อีสาน แครง ว่า ผ้า, ผ้าพันคอชนิดผืนยาว).
  37. จระลิ่ง, จระลึง : [จะระ-] (กลอน) ก. ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์. (ทวาทศมาส).
  38. จาว ๑ : น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์. (ทวาทศมาส).
  39. จาว ๓ : ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อย ตามคำแนะนำ).
  40. จาว ๔ : น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยาย หมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
  41. จำราย : (กลอน) ก. กระจาย, แผ่ไป, เช่น เสด็จจรจํารายศักดิ์ โสภิต. (ทวาทศมาส).
  42. จิ : (แบบ) ก. จะ เช่น จิปากทั้งลิ้นล้า เพื่อเจ้าเจียรจันทร์. (ทวาทศมาส).
  43. จิตร- ๒ : [จิดตฺระ-] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์จิตรา เรียกว่า จิตรมาส คือ เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน. (ส. ไจตฺร; ป. จิตฺต).
  44. จี : ว. ตูม เช่น สงวนมิ่งมาลยจาวจี แกล่กลํ้า. (ทวาทศมาส), พายัพว่า จี๋.
  45. เจียร ๒ : [เจียน] ก. จร, ไป, จากไป, เช่น วันเจียรสุดาพินท์ พักเตรศ. (ทวาทศมาส).
  46. เชษฐ- ๒ : [เชดถะ] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์เชษฐา เรียกว่า เชษฐมาสคือ เดือน ๗ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือน มิถุนายน, ถ้าพระจันทร์เพ็ญเกี่ยวมาทางดาวฤกษ์มูลา เรียกว่า เชษฐมูลมาส. (ป. เชฏฺฐ; ส. เชฺยษฺฐ, ไชฺยษฐ).
  47. ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
  48. ทุติย- : [ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
  49. บรรทับ : [บัน-] (โบ; กลอน) ก. ประทับ เช่น ถนอมบรรทับออมชม ทราบเนื้อ. (ทวาทศมาส).
  50. ปลวก : [ปฺลวก] น. ชื่อแมลงในอันดับ Isoptera รูปร่างคล้ายมด แต่ส่วนท้อง กับอกมีขนาดไล่เลี่ยกัน หนวดมีลักษณะเป็นปล้องกลมคล้ายลูกปัด ไม่หักงอเป็นข้อศอกเหมือนมด ส่วนใหญ่ตัวสีขาวหรือครีม ไม่ชอบ แสง อาศัยทํารังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนพื้นหรือใต้ดิน มักจะเอา ดินมาสร้างคลุมทางเดิน บางชนิดทําลายไม้ ต้นไม้ ฯลฯ.
  51. [1-50] | 51-56

(0.0568 sec)