Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยับ , then ยบ, ยปฺ, ยับ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยับ, 25 found, display 1-25
  1. ยับ ๔, ยับ : ว. มีแสงแวบ ๆ, ยิบ ๆ.
  2. ยับ : ก. เก็บ. น. เรียกผลหมากสุกที่เก็บไว้กินนาน ๆ โดยทำเป็นหมากหลุม หรือหมากไหว่า หมากยับ.
  3. ยับ : ก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหาย มาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยํา ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ.
  4. ยับ : ก. ขยํ้า.
  5. ยับย่อย, ยับเยิน : ว. ป่นปี้ เช่น เสียการพนันยับย่อย เสียหายยับเยิน, ย่อยยับ ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของ พ่อแม่ยับย่อยหมด หนังสือยับเยินหมดทั้งเล่ม, ย่อยยับ ก็ว่า.
  6. ระยำยับ : ว. แหลกยับเยิน, แตกย่อยยับ.
  7. หมากยับ : น. หมากที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินได้นาน ๆ.
  8. ระยิบระยับ : ว. ยิบ ๆ ยับ ๆ เช่น แสงดาวระยิบระยับ.
  9. ยับ : [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทําท่าว่าจะทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้ เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่น นั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
  10. ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  11. ปู้ยี่ปู้ยำ : ว. ชอกชํ้า, ยับเยิน.
  12. เปิง : ว. ยับเยิน, พัง, ทลาย, เช่น หลังคาเปิง ด่าเสียเปิง.
  13. ยับ : [พะยับ] ว. ครึ้ม, มืดมัว, (ใช้แก่อากาศ) เช่น พยับฟ้า พยับฝน พยับเมฆ.
  14. ฟอน : ก. บ่อน, กินพรุนข้างใน, พลอนทั่ว, เช่น หนอนฟอนชมพู่; ค้นหา เช่น ฟอนจนทั่ว ฟอนหาของสกปรกกิน. ว. ย่อยยับ, แหลก, เช่น ฟันฟอน คือ ฟันให้ยับย่อย ฟันให้แหลก; ที่ไหม้เป็นจุรณ, ที่ไหม้ เป็นขี้เถ้า, เช่น กองฟอน.
  15. ภังค–, ภังคะ : [–คะ–] น. การแตก, การทําลาย; ความยับเยินล่มจม. (ป., ส.); ผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยของหลายสิ่งเช่นผ้าด้ายแกมไหม.
  16. ย่อยยับ : ว. ป่นปี้, เช่น เสียการพนันย่อยยับ เสียหายย่อยยับ, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติ ของพ่อแม่ย่อยยับหมด, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า.
  17. ยู่ยี่ : ว. อาการที่ย่นหรือยับจนเสียรูป เช่น ผ้ายับยู่ยี่ ขยำกระดาษเสียยับยู่ยี่; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นแจ่มใส เช่น ตื่นนอนมาใหม่ ๆ หน้าตายู่ยี่.
  18. ระยำ : ว. ชั่วช้า, ตํ่าช้า, เลวทราม, อัปมงคล, เช่น คนระยำ เรื่องระยำ ทำระยำ; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ยับเยิน, แหลก, เช่น ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำ ช้ำจิตเจ็บอุรา. (อิเหนา).
  19. เรียบ : ว. ไม่ขรุขระ เช่น พื้นเรียบ, ราบ เช่น กระเบื้องแผ่นเรียบ ฝาผนังเรียบ ไม่มีลวดลาย, เป็นระเบียบ เช่น จัดบ้านเรียบ, ไม่ยุ่ง เช่น หวีผมเรียบ, ไม่ยับ เช่น รีดเสื้อเรียบ; (ปาก) เกลี้ยง, หมด, ไม่เหลือ, เช่น กินเรียบ กวาดเรียบ ตายเรียบ.
  20. เศษเหล็ก : น. ชิ้นส่วนของโลหะหรือเครื่องจักรกลเป็นต้นที่ใช้ ไม่ได้แล้ว เช่น ซากรถยนต์ที่ถูกชนพังยับเยินถูกขายเป็นเศษเหล็ก.
  21. หมาก ๑ : น. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu L. ผลมีรสฝาด ใช้เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกว่า กินหมาก และใช้ฟอกหนัง, ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ, ผลที่แก่จัด เรียก หมากสง, เนื้อหมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะ เรียก หมากอีแปะ, ผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนาน ๆ เรียก หมากยับ.
  22. ห้ำหัก : ก. เข้าทําร้ายศัตรูให้แตกหักยับเยิน.
  23. อัดก๊อบปี้ : ก. บีบอัดให้แน่น เช่น อัดก๊อบปี้ผ้าม่วง, (ปาก) ปะทะ อย่างแรง เช่น รถเก๋งถูกรถบรรทุกอัดก๊อบปี้พังยับเยิน.
  24. อาชญัปติ, อาชญัปติ์ : [อาดยับติ, อาดยับ] น. ข้อบังคับ, คําสั่ง, กฎ, ใช้ว่า อาญัปติ์ ก็มี เช่น รัตนาญัปติ์. (ส. อาชฺ?ปฺติ; ป. อาณตฺติ).
  25. ยุ่บ, ยุ่บยั่บ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวกระดุบกระดิบของสัตว์เล็ก ๆ อย่างหนอน มด ปลวก จำนวนมาก ๆ เช่น มดขึ้นยุ่บ หนอนไต่ยุ่บยั่บ, โดยปริยายใช้แก่ คนจำนวนมาก ๆ เช่น ที่สนามหลวงคนเดินขวักไขว่ยุ่บยั่บไปหมด.
  26. [1-25]

(0.0650 sec)