ยืน : ก. ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว, เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรง ขึ้นไป. ว. นาน, ยาว เช่น อายุยืน, ยืด เช่น คบกันยืนนาน; คงอยู่, อยู่ กับที่ ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ยืนคํา; คงเดิม เช่น พิพากษายืน; ยาวเป็น แนวตรงเข้าไป เช่น ที่ดินยืนเข้าไป ๓ เส้น.
ยืนกระต่ายสามขา : (สํา) ก. พูดยืนยันอยู่คําเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิด เดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว.
ยืนกราน : ก. ยืนคําอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็น เป็นอื่น).
ยืนค้ำหัว : ก. ยืนชิดอยู่ข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ ถือว่าแสดงอาการไม่เคารพ เช่น อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่.
ยืนชิงช้า : (โบ) น. เรียกข้าราชการที่เป็นประธานในพิธีโล้ชิงช้าแทน พระเจ้าแผ่นดินว่า พระยายืนชิงช้า.
ยืนแท่น : น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงาน พระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บน แท่นว่า เทวดายืนแท่น.
ยืนพื้น : ก. คงที่อยู่เสมอ, คงยึดหลักหรือแบบเสมอ, เช่น กับข้าวไทยมี น้ำพริกยืนพื้น.
ยืนหยัด : ก. สู้ไม่ยอมถอย เช่น เขายืนหยัดสู้ได้ตลอด ๕ ยก.
ยืนคำ : ก. ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง.
ยืนเครื่อง : น. ตัวพระนางที่แต่งเครื่องกษัตริย์.
ช้างยืนแท่น : น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธาร ยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น.
เทวดายืนแท่น : น. เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บนแท่นว่า เทวดายืนแท่น.
ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
สอนยืน : ว. เรียกเด็กที่เริ่มตั้งไข่ว่า เด็กสอนยืน.
เท้า : น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืน เอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
เทียรฆ- : [เทียนคะ-] ว. ยาว, ไกล, นาน, ยืน. (ส. ทีรฺฆ; ป. ทีฆ).
นอน : ก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง เช่น แนวนอน แปนอน.
อกรรมกริยา : [อะกํากฺริยา, อะกํากะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).
อิริยาบถ : น. อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. (ป.).
กงโก้ : (ปาก) ว. โก่ง ๆ โค้ง ๆ เช่น ยืนกงโก้, หลังโกงไม่น่าดู เช่น ผอมกงโก้, เกะกะไม่เรียบร้อย เช่น กงโก้ กงกก, โกงโก้ ก็ว่า.
กระดานโต้คลื่น : น. กระดานที่มีลักษณะแคบและยาว ใช้เล่นบนคลื่น โดยผู้เล่นยืนทรงตัวบนแผ่นกระดานแล้วให้คลื่นหนุนเคลื่อนไป. (อ. surfboard), เรียกการเล่นเช่นนั้นว่า การเล่นกระดานโต้คลื่น. (อ. surf-riding).
กระต่ายสามขา : (สํา) ว. ยืนกรานไม่ยอมรับ, กระต่ายขาเดียว ก็ว่า.
กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
กล้องวัดมุม : น. กล้องสํารวจชนิดหนึ่ง สําหรับวัดมุมแนวนอนและ แนวยืนได้ในขณะเดียวกัน ไม่ว่าที่หมายเล็งจะอยู่บนพื้นดินหรือ ในท้องฟ้าก็ตาม ประกอบด้วยจานองศาแนวนอนกับแนวยืนเพื่อ ใช้วัดมุม. (อ. theodolite).
กังก้า : ว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียก ข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).
ก๋า ๑ : (ปาก) ว. อาการที่ทําท่าว่าเก่ง เช่น ยืนก๋า เต้นก๋า.
เก้กัง, เก้ๆ กังๆ : ว. ขวาง ๆ รี ๆ, กีดเกะกะ, (ใช้แก่กิริยายืนและเดิน).
โกร้ : ว. ค้า, เช่น ยืนโกร้.
ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
ขว้างจักร : [-จัก] น. กรีฑาประเภทลานอย่างหนึ่ง ผู้แข่งขันจะต้องยืนอยู่ ในวงเขตที่กําหนด แล้วขว้างจานไม้กลมตรงกลางนูนทั้ง ๒ ข้างออกไป ให้ไกลที่สุด.
ข้าง ๆ : ว. ใกล้ด้านข้าง เช่น ยืนอยู่ข้าง ๆ.
ขิด : น. ชื่อผ้าทอชนิดหนึ่ง มีวิธีทําลวดลายโดยใช้ไม้แผ่นแบนบางปากโค้ง ให้ปลายหนึ่งแหลมเป็นเครื่องมือสําหรับสะกิดเส้นเครือหรือเส้นยืน เพื่อเก็บยกขึ้นตามรูปลักษณะลวดลายที่ต้องการในแต่ละแถว แต่ละลาย, เขียนเป็น ขิต ก็มี.
เขย่ง : [ขะเหฺย่ง] ก. ยืนด้วยปลายเท้า, พยุงตัวให้สูงขึ้น.
คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
คา ๒ : ก. ค้างอยู่, ติดอยู่, เช่น ข้าวคาปาก คาถ้วยคาชาม. ว. ยังไม่พ้นไป จากที่นั้น ๆ เช่น ยืนคาประตู สุกคาต้น ตายคาที่.
ค้ำหัว : ก. ยืนชิดข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่หรือด้านหัวผู้ใหญ่ที่นอนอยู่ ถือกันว่าขาดความเคารพ เรียกว่า ยืนคํ้าหัว.
โงเง : ว. อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่, ยังงัวเงียอยู่.
จงกรมแก้ว : น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. (พุทธเจดีย์).
จตุรพิธพร : [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พรขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกําลังแข็งแรง.
จังก้า : ว. ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้, ลักษณะที่ตั้งปืนกลเป็นต้นเตรียม พร้อมที่จะยิง.
จำงาย : (โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).
ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
ชั้นฉาย : น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า เหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้ง โบราณกําหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงาเป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.
ชิงช้า : น. ที่นั่งผูกด้วยเชือกเป็นต้น ๒ ข้าง แขวนตามกิ่งไม้หรือ ที่สูง สําหรับนั่งหรือยืนไกวไปมา.
เซปักตะกร้อ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลําตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตําแหน่ง ที่กําหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. (ม. sepak ว่า เตะ).
ฐิตะ : [ถิตะ] (แบบ) ก. ยืนอยู่, ตั้งอยู่แล้ว. (ป.).
ฐิติ : [ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดํารงอยู่; การเป็นไป, ความมีชีวิต อยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่; ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).
ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
ต่อตัว : ก. อาการที่คนหนึ่งขึ้นไปยืนบนบ่าของอีกคนหนึ่ง เช่น ต่อตัวปีนกำแพง. น. ชื่อการแสดงกายกรรมแบบหนึ่งที่ผู้แสดงคนหนึ่งหรือหลายคนขึ้นไปยืน เลี้ยงตัวบนตัวของผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นต้น.