ราคี ๒ : น. ความมัวหมอง, มลทิน, เช่น หญิงคนนี้มีราคี. (ส. ราคินฺ).
ราคี ๑ : น. ผู้มีความกําหนัด. (ป., ส.).
หมดราคี : ว. ไม่มีมลทิน, ไม่มัวหมอง.
หมดราคีคาว : ว. ไม่มีความมัวหมองทางชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง).
ราคิน : น. ราคี. (ส.).
คาว : น. กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งอย่างกลิ่นปลาสดเนื้อสด; โดยปริยายหมายถึง ความเสื่อมเสีย ความมัวหมอง มลทิน เช่น ราคีคาว คนนั้นยังมีคาว; เรียกกับข้าวว่า ของคาว, คู่กับ ขนม ว่า ของหวาน.
จู้ ๑ : (ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.
ราคจริต : น. แนวโน้มไปในทางกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ ในกามคุณ, ความมีใจเอนเอียงไปในทางรักสวยรักงาม.
ราค, ราคะ : น. ความกําหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. (ป., ส.).
ประทุมราค : [ปฺระทุมมะราก] น. ปัทมราค, พลอยสีแดง, ทับทิม, เช่น แขกเต้าตาก ปีกปาก ประทุมราคแดงฉัน. (เสือโค). (ป. ปทุมราค; ส. ปทฺมราค).
บุษบราค : [-ราก] น. บุษราคัม, ทับทิม, บุษย์นํ้าทอง, พลอยสีเหลือง. (ส. ปุษฺปราค).
บุษปราค : [บุดสะปะราก] น. บุษย์นํ้าทอง.
ปัทมราค, ปัทมราช : น. พลอยสีแดง, ทับทิม.
กระพัด : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลาย ทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะ เดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ดัสกรี : [ดัดสะกะรี] น. หญิงที่มากด้วยราคจริตและโทสจริต. (ส.).
บุษย์น้ำทอง : ดู บุษบราค ที่ บุษบ-.
ปาจรีย์, ปาจารย์ : [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).
ผุสราคา : [ผุดสะ] น. บุษปราค.