Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิจิตรบรรจง, วิจิตร, บรรจง , then บรรจง, พิจิตร, วจตร, วจตรบรรจง, วิจิตร, วิจิตรบรรจง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วิจิตรบรรจง, 35 found, display 1-35
  1. วิจิตรบรรจง : [จิดบันจง] ว. ลักษณะที่ตั้งอกตั้งใจทำอย่างประณีต งดงาม เช่น กวีนิพนธ์บทนี้แต่งอย่างวิจิตรบรรจง.
  2. บรรจง : [บัน-] ก. ตั้งใจทํา เช่น บรรจงเขียน, ทําโดยระมัดระวัง เช่น มีน้อย ใช้น้อยค่อยบรรจง. ว. อย่างประณีต เช่น เขียนบรรจง, ตัวบรรจง.
  3. วิจิตร : [จิด] ว. งามประณีต. (ส.; ป. วิจิตฺต).
  4. วิจิตรตระการตา : [จิดตฺระ] ว. งามน่าตื่นตา เช่น ขบวนแห่รถ บุปผชาติประดับประดาได้วิจิตรตระการตา.
  5. วิจิตรพิศวง : [จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลาย ชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
  6. วิจิตรพิสดาร : [จิดพิดสะดาน] ว. ลักษณะที่ประดิษฐ์หรือตกแต่ง จนบางทีเกินงาม เช่น ปราสาทจำลองในสวนสนุกตกแต่งอย่างวิจิตร พิสดาร.
  7. วิจิตรรจนา : [จิดรดจะนา] ว. งามอย่างประณีตละเอียดซับซ้อน เช่น มาลัยพวงนี้เขาตั้งใจร้อยอย่างวิจิตรรจนา.
  8. วิจิตรศิลป์ : [จิดตฺระสิน, จิดสิน] น. ศิลปะที่มุ่งแสดงในด้าน คุณภาพของความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย.
  9. ผจง : [ผะจง] น. ความตั้งใจ. ก. ตั้งใจทําให้ดี, บรรจง, เช่น ผจงแต่ง ผจงจัด. (ข. ผฺจง่).
  10. พิจิตร : ว. ต่าง ๆ, หลายหลาก; งาม, น่าดู. (ส. วิจิตฺร; ป. วิจิตฺต).
  11. กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
  12. กระบวร : [-บวน] ก. ประดับ, แต่ง. ว. วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร).
  13. บันจอย : (โบ) ก. บรรจง.
  14. อ่าองค์ : (กลอน) ก. แต่งตัว เช่น ลูบไล้สุคนธาอ่าองค์ บรรจง ทรงเครื่องวันอาทิตย์. (อิเหนา).
  15. คัด ๓ : ก. เขียนด้วยตัวบรรจง เช่น เขียนเร็ว ๆ อย่ามัวแต่คัด.
  16. คัดลายมือ : ก. ลอกข้อความออกมาเขียนด้วยตัวบรรจง.
  17. จำเนียม : ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ เช่น บรรจงภาพจําเนียม. (ลอ). (แผลงมาจาก เจียม).
  18. บ้าย : ก. ป้าย, ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการ ประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการ คล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ใน ความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  19. บุปผวิกัติ : น. ดอกไม้ที่ทําให้แปลก, ดอกไม้ที่ทําให้วิจิตรต่าง ๆ. (ป.).
  20. ประจง : ก. บรรจง, ทําให้ดี.
  21. ประดิดประดอย : ก. บรรจงทําให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, ใช้ว่า ประดอย ก็ได้.
  22. ประติมากรรม : [ปฺระติมากํา] น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจําพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการ แกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ. (ส. ปฺรติมา + กรฺม; ป. ปฏิมา + กมฺม).
  23. ป้าย ๒ : ก. ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีต บรรจง, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  24. มือเบา : ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างละมุนละไมหรือ ประณีตบรรจง, ตรงข้ามกับ มือหนัก.
  25. มือหนัก : ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างรุนแรงหรือไม่ประณีต บรรจง, ตรงข้ามกับ มือเบา; มากผิดปรกติ (มักใช้ในการเล่น การพนันหรือตกรางวัลเป็นต้น) เช่น เขาแทงโปมือหนัก เขาตกรางวัลนักร้องมือหนักไป.
  26. ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
  27. ศิลปะสถาปัตยกรรม : น. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ ในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม.
  28. หลวง : ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.
  29. หวัด ๒, หวัด ๆ : ว. ไม่บรรจง เช่น เขียนหวัด, คร่าว ๆ เช่น ร่างภาพอย่างหวัด ๆ, สะเพร่า, ไม่ตั้งใจทําให้เรียบร้อย, เช่น ทํางานหวัด ๆ.
  30. นมพิจิตร : น. (๑) ชื่อพืชอิงอาศัยชนิด Hoya parasitica Wall. ในวงศ์ Asclepiadaceae ใบรี หนา ดอกสีขาวกลางดอกสีม่วง กลิ่นหอม ทุกส่วนมียางขาวคล้าย น้ำนม, นมตำเรีย หรือ นมตำเลีย ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Trichosanthes cucumerina L. ในวงศ์ Cucurbitaceae ผลมีรสขมใช้ทํายาได้, บวบขม ก็เรียก.
  31. ขม ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Amaranthus วงศ์ Amaranthaceae มี หลายชนิด เช่น ผักขมหนาม (A. spinosus L.) ลําต้นมีหนาม ใช้ทํา ยาได้ ผักขมสวน (A. tricolor L.) ผักขมแดง (A. caudatus L.) ใบ สีแดง ปลูกเป็นไม้ประดับ, ผักโขม หรือ ผักโหม ก็เรียก. (๒) บวบขม. [ดู นมพิจิตร(๒)]. (๓) หวายขม. [ดู หวาย(๑)]. (๔) เทียนขม. (ดู เทียนขม ที่ เทียน๓). (๕) ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม.
  32. ท่องสื่อ : น. ตําแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
  33. นมตำเรีย, นมตำเลีย : ดู นมพิจิตร(๑).
  34. บวบ : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Luffa วงศ์ Cucurbitaceae ดอกสีเหลือง ผลกินได้ เช่น บวบเหลี่ยม (L. acutangula L.) บวบกลม หรือ บวบหอม (L. cylindrica L.). บวบขม ดู นมพิจิตร(๒).
  35. ไพจิตร : [จิด] ว. งาม; แตกต่าง, หลายหลาก. (ป. วิจิตฺร; ส. วิจิตฺร, ไวจิตฺรฺย).
  36. [1-35]

(0.3158 sec)