Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิญญาณ , then วญญาณ, วิญญาณ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วิญญาณ, 34 found, display 1-34
  1. วิญญาณ : น. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกาย ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
  2. วิญญาณกทรัพย์ : [วินยานะกะซับ, วินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, สวิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
  3. ส่งวิญญาณ : ก. ทำพิธีเพื่อให้วิญญาณผู้ตายไปเกิดในสุคติตามคติความ เชื่อถือของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน.
  4. สวมวิญญาณ : ก. เอาวิญญาณของผู้อื่นหรือสัตว์อื่นเป็นต้นมาสวมใส่ ในจิตใจของตน เช่น สวมวิญญาณนักรบ สวมวิญญาณสัตว์ป่า.
  5. วิญญาณกทรัพย์ : [สะวินยานะกะซับ, สะวินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณ หรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, ตรงข้ามกับ อวิญญาณกทรัพย์, วิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
  6. วิญญาณ : [อะวินยานะกะ, อะวินยานนะกะ] ว. ไม่มีวิญญาณ, ไม่มีชีวิต, ไม่มีจิตใจ. (ป.).
  7. วิญญาณกทรัพย์ : (กฎ; โบ) น. สิ่งที่ไม่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่ง นับเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ทอง ที่ดิน.
  8. อาตม : [อาดตะมะ] น. ตน, ตัวตน. (ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา ว่า ตน, วิญญาณ, ร่างกาย; ป. อตฺต, อตฺตา).
  9. จักขุวิญญาณ : น. ความรู้อันอาศัยทางตาเกิดขึ้น.
  10. ขันธ์ : น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยก ออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. (ป.; ส. สกนฺธ).
  11. ดวง : น. คําเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปกลม ๆ หรือที่เห็นเป็นวง ๆ เช่น ดวงดาว ดวงไฟ ดวงตรา ดวงกสิณ, และบางสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ดวงชีวิต ดวงวิญญาณ; ลักษณนามเรียก จิต วิญญาณ หรือสิ่งที่มีแสงสว่าง เช่น ดาว ไฟฟ้า ตะเกียง ว่า ดวง; ใช้ประกอบคําอื่นเป็นคําเปรียบเทียบ เช่น ดวงใจ ดวงตา ดวงสมร หมายความถึงสิ่งที่เป็นที่รักยิ่ง หญิงที่รัก หรือ ลูกที่รัก; แบบรูปราศีที่บอก ดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญ เช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคํานวณไว้โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศี เรียกว่า ดวง ซึ่งเป็นคําตัดมาจาก ดวงชะตา.
  12. เบญจขันธ์ : น. กอง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
  13. สังขาร, สังขาร : [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุง แต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
  14. สัญญา : น. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ก. ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความ ตกลง, กัน เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).
  15. จักขุสัมผัส : น. อาการที่ตากับรูปและจักขุวิญญาณประจวบกัน.
  16. เจตภูต : [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า ''อัตตา'' ก็มี ''ชีโว'' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
  17. ชิงเปรต : (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณ บรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า ''เปรต'' ในงาน ทําบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทําบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
  18. ดับ ๑ : ก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ เดือนดับ, ทําให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทําให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับทุกข์, ทําให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทําให้หยุด เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง; เรียกวันสิ้นเดือนตามจันทรคติว่า วันดับ.
  19. ตรีเอกภาพ, ตรีเอกานุภาพ : น. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต (คาทอลิก) หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่งความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง.
  20. ธรรมกาย : น. กายคือธรรม ได้แก่ พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ; พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ตามคติมหายาน เชื่อว่า ได้แก่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. ธมฺมกาย).
  21. ธาตุ ๑, ธาตุ- : [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
  22. นิรมาณกาย : [ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่าเป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.
  23. ผัสสาหาร : น. อาหารคือผัสสะ หมายเอาการประจวบกันแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยแห่ง เจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถีมีเวทนาเป็นต้น เป็นประการหนึ่ง ในอาหารทั้ง ๔ (อีก ๓ อย่าง คือ กวลิงการาหาร อาหารคือ คําข้าว ๑ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ๑ และ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ๑). (ป.).
  24. รูป, รูป– : [รูบ, รูบปะ–] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคน รูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่; ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ป., ส.).
  25. เลี้ยงผี : ก. เลี้ยงวิญญาณของคนที่ตายแล้วเพื่อเอามาใช้ประโยชน์ เช่นการเสี่ยงทายเป็นต้น.
  26. เวทนา ๑ : [เวทะ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกทุกข์สุข, (เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ); ความเจ็บปวด, ทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
  27. สมิง : [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมา สามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่า วิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตําแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
  28. สัมภเวสี : [สำพะ] น. ผู้แสวงหาที่เกิด ในคติของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคน ที่ตายแล้ววิญญาณกำลังแสวงหาที่เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดใด กำเนิดหนึ่ง, ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก. (ป.; ส. สมฺภเวษินฺ).
  29. สัสตทิฐิ : น. ลัทธิที่ถือว่าโลกและวิญญาณเป็นของเที่ยงไม่เสื่อมสูญ. (ป. สสฺสตทิฏฺ??).
  30. หวันยิหวา : น. ชีวิต, ดวงวิญญาณ. (ช.).
  31. อรูป, อรูป : [อะรูบ, อะรูบปะ] ว. ไม่มีรูป, ไม่ใช่รูป; ที่เป็นนามธรรม. (ป., ส.). อรูปฌาน [อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).
  32. อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
  33. อาตมัน : น. อัตตาหรือดวงวิญญาณ ซึ่งศาสนาและปรัชญาฮินดูถือว่า เที่ยงแท้ถาวร. (ส.).
  34. อุจเฉททิฐิ : [อุดเฉทะ] น. ความเห็นว่าตายแล้วสูญ (ไม่มีปฏิสนธิ วิญญาณหรือการเกิดใหม่). (ป. อุจฺเฉททิฏฺ??).
  35. [1-34]

(0.0583 sec)