Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิวาท , then พิพาท, ววาท, วิวาท, วิวาทะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วิวาท, 36 found, display 1-36
  1. วิวาท : ก. ทะเลาะ เช่น เด็กวิวาทกัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทะเลาะ เป็น ทะเลาะวิวาท. (ป., ส.).
  2. พิพาท : ก. โต้แย้งสิทธิ์ เช่น พิพาทเรื่องที่ดิน พิพาทเรื่องมรดก. (ป., ส. วิวาท).
  3. กัด ๑ : ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มี ชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.
  4. ขมิ้นกับปูน : (สํา) ว. ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน, ไม่ถูกกัน.
  5. แขวะ : [แขฺวะ] ก. เอาสิ่งมีคมแหวะคว้านให้กว้าง; พูดชวนวิวาท.
  6. คุมนุม : (โบ) ก. คุม เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน. (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษ ไว้วันหนึ่ง. (กฎ. ราชบุรี).
  7. คู่กัด : น. คู่วิวาท.
  8. ท้าทาย : ก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทําอันตรายแก่ ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลอง ความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.
  9. ประแกก : ก. แตกร้าวกัน, วิวาทกัน. (ข. ปฺรแกก ว่า เถียงกัน).
  10. ป่องร่า : (โบ) น. อาการของคนคะนองไม่กลัวใคร ชวนวิวาทกับผู้อื่น. (ปรัดเล).
  11. พาลรีพาลขวาง : (สํา) ว. ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท.
  12. โย ๑ : (ปาก) ก. พูดแขวะ, พูดชวนวิวาท.
  13. รวน : ก. เอาเนื้อสดหรือปลาสดเป็นต้นที่หั่นเป็นชิ้นแล้วคั่วให้พอสุกเพื่อเก็บ เอาไว้แกงเป็นต้น; แสดงกิริยาหรือวาจาชวนวิวาท เช่น เขาถูกรวน, ตีรวน ก็ว่า. ว. ไม่ตรง, โย้, เช่น ฟันรวน; เบียดดันกันไปมา เช่น แถวรวน.
  14. รำรำ, ร่ำร่ำ : ก. คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่ เช่น รำรำว่าจะไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็ ไม่ได้ไปเสียที ร่ำร่ำจะไปเที่ยวภูกระดึงก็ไม่ได้ไปเสียที. ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่นรำรำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, ลําลํา ก็ว่า.
  15. ล้งเล้งเอากับฉันใหญ่. : ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับทะเลาะ วิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง.
  16. ลำลำ : ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่น ลำลำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, รำรำ หรือ ร่ำร่ำ ก็ว่า.
  17. เลิกแล้วต่อกัน : ก. ยุติการทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน.
  18. โลกวัชชะ : [โลกะ–] น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหาย เหมือนกัน เช่น ทําโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).
  19. วางมวย : ก. ชกต่อยวิวาทกัน.
  20. ศึกหน้านาง : (สํา) น. การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตน หมายปอง.
  21. ห้ามทัพ : ก. ยับยั้งศึก, โดยปริยายหมายความว่า ยับยั้งการทะเลาะวิวาทกัน.
  22. หาเรื่อง : ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้.
  23. คู่พิพาท : (กฎ) น. บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีกรณีโต้แย้งกัน.
  24. กันชน : น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและ ด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ว่า ประเทศกันชน.
  25. ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
  26. คู่กรณี : น. ผู้ที่เกิดพิพาทกัน; (กฎ) บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  27. ประนีประนอมยอมความ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จ ไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
  28. เป็นความ : ว. มีคดีพิพาทหรือฟ้องร้องกันในโรงศาล. (ปาก) ก. สู้คดี, สู้ความ.
  29. เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
  30. วินาศกรรม : [วินาดสะกำ] น. การลอบทําลายหรือเผาผลาญ ทรัพย์สินโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ของนายจ้างหรือของศัตรู เช่น ในกรณีที่เกิดพิพาทกันขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือเพื่อ ตัดกําลังฝ่ายศัตรูเมื่อทําสงครามกันโดยตรงหรือโดยปริยาย.
  31. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  32. ศาลปกครอง : (กฎ) น. ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทาง ปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.
  33. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
  34. ศาลแรงงาน : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่กฎหมายบัญญัติให้ อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือ หน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ การจ้าง หรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ หรือคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสืบเนื่อง จากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้าง แรงงาน.
  35. ศาลล้มละลาย : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่ คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้อง ลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลายนอกจากนั้นยังรวมถึง คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาท กับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจาก การจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.
  36. อนุญาโตตุลาการ : น. บุคคลที่คู่กรณีพร้อมใจกันตั้งขึ้นเพื่อให้ชำระตัดสินในข้อพิพาท; (กฎ) บุคคลคนเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีในสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ชี้ขาด.
  37. [1-36]

(0.0478 sec)