Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สงสาร , then สงสาร, สงสาระ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สงสาร, 37 found, display 1-37
  1. สงสาร ๑, สงสาร : [สงสาน, สงสาระ] น. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด; โลก. (ป., ส. สํสาร).
  2. สงสาร : [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึก สงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  3. สงสารทุกข์ : น. ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด.
  4. โอฆสงสาร : น. การเวียนเกิดเวียนตายในห้วงของกิเลส. (ป.).
  5. ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  6. ส ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.
  7. อาสูร : [สูน] (โบ) ก. สงสาร เช่น อาสูรสองหลานเอย ย่อมเสวยเคย ข้าวสาลี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า); เอ็นดู; กังวล. (ข. อาสูร ว่า สงสาร, น่าอนาถ).
  8. กปณ : [กะปะนะ] ว. กําพร้า, อนาถา, ไร้ญาติ, ยากไร้, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจํานง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป.).
  9. กปณก : [กะปะนก] น. ผู้อนาถา, ผู้ไร้ญาติ, ผู้น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนก ก็มี เช่น เถ้ากปนกแพนกพล้าว มีแม่ย้าวสาวศรหนึ่ง น้นน. (ม. คำหลวง ชูชก). (ป.).
  10. กปณา : [กะปะนา] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป. กปณ)
  11. กระลูน : (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอด กว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).
  12. กระลู่น์ : ว. น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. (สุธน).
  13. กระสินธุ : (โบ; กลอน) น. แม่น้ำ เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. (อุเทน). (กระ + ป., ส. สินฺธุ).
  14. กรีดน้ำตา : ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยาย เป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
  15. กรุณา : [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).
  16. กลูน, กลูน์ : [กะลูน, กะลู] (แบบ) ก. กรุณา เช่นทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูร ยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์. (สมุทรโฆษ). ว. น่าสงสาร เช่น สลดกลูน์ลุงทรวง. (สุธน). (ป.).
  17. กัปนก : [กับปะหฺนก] (แบบ) ว. กําพร้า, น่าสงสาร, เช่น อันว่าพราหมณชรา ชีณกัปนก. (ม. คําหลวง ชูชก). (ป. กปณก).
  18. กำลูน : (โบ) ว. น่ากรุณา, น่าเอ็นดู, น่าสงสาร, เช่น ครั้นเห็นยิ่งระทดกําลูน สลดชีวา. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป. กลูน).
  19. แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
  20. ใจแข็ง : ว. ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, อดกลั้นความเจ็บปวดหรือ ทุกข์โศกไว้ได้.
  21. ใจอ่อน : ว. ยอมง่าย, สงสารง่าย.
  22. เชียบ : ก. เงียบ เช่น เชียบเสียงสงสารองค์. (สมุทรโฆษ).
  23. โถ ๒ : อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือเห็นอกเห็นใจเป็นต้น.
  24. ทยาลุ, ทยาลุก : (แบบ) ว. มีความเอ็นดู, มีความสงสาร. (ป., ส.).
  25. ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  26. ปรานี : [ปฺรา-] ก. เอ็นดูด้วยความสงสาร.
  27. ละห้อย : ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสาร เห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือ คิดถึง เช่น หน้าละห้อย.
  28. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
  29. วรากะ : (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.).
  30. สมเพช : [เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถา แล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).
  31. สรเหนาะ, สระเหนาะ : [สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสารวังเวงใจ อาลัยถึง).
  32. หัวอกหัวใจ : น. สภาพจิตใจที่น่าสงสารหรือน่าเห็นใจเป็นต้น เช่น นั่งก็ไม่ เป็นสุข นอนก็ไม่เป็นสุข หัวอกหัวใจมันร้อนรุ่มไปหมด.
  33. อนาถ : [อะหฺนาด] ก. สงสาร, สังเวช, สลดใจ. (ป., ส. อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).
  34. อนิจจัง ๒, อนิจจา : [อะนิด] อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสารสังเวชเป็นต้น.
  35. อ่อน : ว. ไม่กระด้าง เช่น ลิ้นอ่อน; นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน; ไม่จัด เช่น แดดอ่อน; ไม่แข็ง, ยอมง่าย ๆ, รู้สึกสงสาร, เช่น ใจอ่อน; ไม่แก่ เช่น มะพร้าว อ่อน; หย่อน เช่น อ่อนเค็ม, น้อย เช่น เหลืองอ่อน, ไม่แรง เช่น ไฟอ่อน, อายุยังน้อย เช่น ไก่อ่อน, ยังเล็กอยู่ เช่น เด็กอ่อน; ละมุนละม่อม, ดัดง่าย, เปลี่ยนแปลงง่าย.
  36. อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
  37. อำนาถ : [หฺนาด] ว. น่าสงสาร, น่าสังเวช, น่าสลดใจ. (แผลงมาจาก อนาถ).
  38. [1-37]

(0.0578 sec)