Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สถานกงสุล, กงสุล, สถาน , then กงสุล, สถาน, สถานกงสุล, สถานะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สถานกงสุล, 194 found, display 1-50
  1. สถานกงสุล : น. ที่ทำการของกงสุล.
  2. กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  3. สถาน ๒, สถาน : [สะถานะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, เช่น เขาอยู่ในสถานะ ยากไร้ เศรษฐกิจของประเทศไทยมีสถานะมั่นคง น้ำมีสถานะปรกติ เป็นของเหลว.
  4. สถาน : [สะถาน] น. ที่ตั้ง เช่น สถานเสาวภา สถานพยาบาล สถานพักฟื้น สถานบริบาลทารก, ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง ที่, แหล่ง, เช่น โบราณสถาน ศาสนสถาน ฌาปนสถาน ปูชนียสถาน สังเวชนียสถาน; ประการ เช่น มีความผิดหลายสถาน. (ส.; ป. ?าน).
  5. สถานที่ : น. ที่ตั้ง, แหล่ง, เช่น สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ตากอากาศ สถานที่พักผ่อนย่อนใจ.
  6. สถานบริการ : (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและ ประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับ ปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการ นวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.
  7. สถานประกอบการ : (กฎ) น. สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบ กิจการเป็นประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือ เก็บสินค้าเป็นประจำด้วย.
  8. สถานทูต : น. ที่ทำการของทูต.
  9. สถานธนานุเคราะห์ : น. โรงรับจำนำของกรมประชาสงเคราะห์.
  10. สถานธนานุบาล : น. โรงรับจำนำของกรุงเทพมหานคร, โรงรับจำนำ ของเทศบาล.
  11. นายเวร : ( น. นายตํารวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่ มีตําแหน่งสูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงาน ในบังคับบัญชาเป็นต้น; เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.
  12. กรีฑาสถาน : น. สถานที่เล่นกีฬา.
  13. บูชนียสถาน : [บูชะนียะสะถาน] น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่ง เป็นที่ควรแก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์.
  14. โบราณสถาน : [โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.
  15. พอสถานประมาณ : ว. เพียงระดับปานกลาง เช่น เขามีความรู้พอ สถานประมาณ, พอสัณฐานประมาณ ก็ว่า.
  16. รมณียสถาน : น. สถานที่ให้ความรื่นรมย์, สถานที่ให้ความบันเทิงใจ.
  17. ศาลกงสุล : (เลิก) น. ศาลของประเทศที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่ตั้งขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้กงสุลเป็นผู้พิจารณาคดีคนใน บังคับของตน.
  18. ศาสนสถาน : น. สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา มัสยิดเป็น ศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม.
  19. สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
  20. นฤตยสถาน : น. ที่สําหรับการระบํา. (ส.).
  21. เริงรมย์ : ว. ที่ทำให้รื่นเริงหรือบันเทิงใจ เช่น หนังสือเริงรมย์ สถาน เริงรมย์.
  22. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  23. กักขัง : ก. บังคับให้อยู่ในสถานที่อันจํากัด, เก็บตัวไว้ในสถานที่ อันจํากัด. (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้กักตัวผู้ต้องโทษ ไว้ในสถานที่ซึ่งกําหนดไว้อันมิใช่เรือนจํา.
  24. การสื่อสาร : น. วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือเป็นต้น จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีก สถานที่หนึ่ง.
  25. กาลเทศะ : [กาละ-] น. เวลาและสถานที่; ความควรไม่ควร. (ส.).
  26. กาสิโน : น. สถานการพนันขนาดใหญ่และโอ่โถง มีการพนันหลายชนิด เช่น รูเล็ตต์ ไพ่. (ฝ. casino).
  27. โกลง : [โกฺลง] (โบ) ว. โคลง เช่น โกลงกลึงถึงสถานเปรียบแป้น. (ปฏิสังขรณ์วัดป่าโมก).
  28. เข้านอกออกใน : ก. สนิทสนมกับเจ้าของสถานที่เป็นพิเศษ จนสามารถ เข้าไปถึงข้างในได้ตลอดเวลา.
  29. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  30. คลัง ๑ : [คฺลัง] น. ที่เก็บรักษาและรับจ่ายเงิน เช่น แผนกคลัง, สถานที่เก็บรักษา สิ่งของเป็นจํานวนมาก ๆ เช่น คลังพัสดุ.
  31. คลังสินค้า : น. สถานที่เก็บรักษาสินค้า.
  32. คลินิก : น. สถานรักษาพยาบาล โดยมากเป็นของเอกชน มักไม่รับผู้ป่วยให้พัก รักษาตัวประจํา; แผนกของโรงพยาบาลที่รักษาโรคเฉพาะทาง. (อ. clinic).
  33. คอกช้าง : น. สถานที่ที่ทําขึ้นสําหรับจับช้างป่า มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม คล้ายคอก มีซองและมีปีก ๒ ข้าง.
  34. ค่ายกักกัน : น. สถานที่คุมขังเชลยศึกหรือนักโทษทางการเมือง.
  35. ค่ายเยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการ ดํารงชีวิตเป็นหมู่คณะโดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วยหมู่คณะ รู้จักระเบียบวินัย.
  36. คุ้นเคย : ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกัน มานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทําบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืด ได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.
  37. จำคุก : (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขัง ไว้ในเรือนจำ.
  38. จำเนียม : ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ เช่น บรรจงภาพจําเนียม. (ลอ). (แผลงมาจาก เจียม).
  39. จีน ๑ : น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับ มองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ และ คาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้.
  40. จีนเต็ง : น. หัวหน้าคนงานที่เป็นชาวจีน (ใช้เฉพาะในสถานที่ทําการร่วม กันมาก ๆ เช่น บ่อนหรือโรงสุรายาฝิ่น). (จ.).
  41. จุดยุทธศาสตร์ : น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
  42. จุ้นจ้าน : ก. เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัว จนน่าเกลียด, (ปาก) จุ้น.
  43. เจดียฐาน, เจดียสถาน : น. สถานที่เคารพเช่นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธบาท พระพุทธฉายา และพระบรมสารีริกธาตุ.
  44. เจ๋อ, เจ๋อเจ๊อะ : ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ไม่สมควรเมื่อเขาไม่ต้องการหรือ มิได้เรียกหา.
  45. เจียม ๒ : ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ, เช่น เจียมเนื้อเจียมตัว.
  46. แจกัน : น. ภาชนะสําหรับปักดอกไม้ตั้งเครื่องบูชาหรือประดับสถานที่ มักมีรูปคล้ายขวดปากบาน.
  47. ใจ : น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.
  48. ชักพระ : น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็น ประเพณีสําคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือ ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบก กับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้ว ช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกัน ลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่ พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วย ใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
  49. ชานชาลา : น. บริเวณสถานีรถไฟหรือสถานีขนส่งที่ผู้โดยสาร มารอขึ้นรถ; ที่โล่งหน้าสถานที่สําคัญ ๆ บางแห่ง เช่น ชานชาลาหน้าพระ ที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท.
  50. ชื่อ : น. คําที่ตั้งขึ้นสําหรับเรียกคน สัตว์ สถานที่ และสิ่งของ โดยทั่ว ๆ ไปหรือโดยเฉพาะเจาะจง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-194

(0.1335 sec)