Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สำรวจตลาด, สำรวจ, ตลาด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สำรวจตลาด, 54 found, display 1-50
  1. ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
  2. ตลาดท้องน้ำ : น. ตลาดนํ้า.
  3. ตลาดน้ำ : น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ทางนํ้า มีเรือเป็นพาหนะบรรทุก สิ่งของ, ตลาดท้องนํ้า ก็ว่า.
  4. ตลาดมืด : น. ตลาดที่แอบซื้อขายกันลับ ๆ โดยหลีกเลี่ยงข้อกําหนดที่ทางการ ได้วางไว้.
  5. ตลาดยี่สาน : น. ตลาดที่ขายของแห้งเช่นผ้า.
  6. ตลาดหน้าคุก : (สํา) ว. แพง. น. ตลาดที่ถือโอกาสขายโก่งราคาแพงกว่าปรกติ และผู้ซื้อจําเป็นต้องซื้อ.
  7. ตลาดเงิน : น. ที่แลกเปลี่ยนกู้ยืมเงิน.
  8. ตลาดนัด : น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจํา จัดให้มีขึ้น เฉพาะในวันที่กําหนดเท่านั้น.
  9. ตลาดหุ้น : ปาก) น. ตลาดหลักทรัพย์.
  10. ขาดตลาด : ก. ไม่มีขายในท้องตลาดอย่างที่เคยมี.
  11. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  12. จ่ายตลาด : ก. ซื้อกับข้าวที่ตลาด.
  13. ท้องตลาด : น. ตลาดทั่ว ๆ ไป, ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ.
  14. ปากตลาด : น. ถ้อยคําที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่า กันมาอย่างนี้. ว. ปากจัด.
  15. ราคาตลาด : (กฎ) น. ราคาที่ซื้อขายกันทั่วไปในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง และในขณะใดขณะหนึ่ง, ราคาท้องตลาด ก็เรียก.
  16. ล้นตลาด : ว. มากจนเกินความต้องการของตลาด เช่น สินค้าล้นตลาด.
  17. กลอนตลาด : น. คํากลอนสามัญ โดยมากเป็นกลอน ๘ เช่น กลอนนิราศ นิทานคำกลอน.
  18. เดินตลาด : ก. วิ่งเต้นจําหน่ายสินค้า, เที่ยวเสาะแสวงหาแหล่งจําหน่ายสินค้า.
  19. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  20. วางตลาด : ก. นําสินค้าออกวางขายตามร้านทั่วไป.
  21. กาด ๒ : (ถิ่น-พายัพ) น. ตลาด.
  22. มูลฝอย : น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, หยากเยื่อ, กุมฝอย หรือ คุมฝอย ก็ว่า; (กฎ) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น.
  23. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  24. กลอนสุภาพ : น. กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียกว่า กลอนตลาด.
  25. กำตาก : น. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดิน ยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ.
  26. จรลาด, จรหลาด : [จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).
  27. จอแจ : ว. มีผู้คนคับคั่งและมีเสียงเซ็งแซ่ เช่น ผู้คนจอแจ ตลาดจอแจ; จวนแจ เช่น เวลาจอแจเต็มที.
  28. ชม ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ชม เช่น ชมดง ชมตลาด.
  29. ซบเซา : ว. หงอยก๋อย, เงียบเหงา, ไม่เบิกบาน; ไม่คึกคักเช่นเดิม เช่น ตลาดการค้าเดี๋ยวนี้ซบเซาไป.
  30. ตรลาด : [ตฺระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ.
  31. ตราภูมิ : (โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียง ราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
  32. ตลาดสด : น. ตลาดที่ขายของสด.
  33. ตลาดหลักทรัพย์ : (กฎ) น. ตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์, (ปาก) ตลาดหุ้น.
  34. ทางหลวง : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการ จราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และ หมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือราง ระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมาย สัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้น หรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดา ที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
  35. บุษบาบัณ : น. ตลาดดอกไม้. (ส.).
  36. ใบขนสินค้า : (กฎ) น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและรายการ อื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรต้องการ ซึ่งผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของ ออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนําของใด ๆ เข้ามาในประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ.
  37. ปสาน : [ปะ-] น. ตลาดของแห้ง, ที่ขายของแห้ง.
  38. ผูก : ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือ ติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อ หรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วย เรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่นผูกเวร; ตรงข้าม กับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
  39. ยาปนมัต : น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิต ให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต).
  40. ยี่สาน, ยี่ส่าน : น. ตลาดของแห้ง, ที่ขายของแห้ง. (เทียบเปอร์เซีย bazaar).
  41. รอบ : น. การบรรจบถึงกัน, การเวียนไปบรรจบถึงกัน; ช่วง เช่น ภาพยนตร์ รอบเช้า รอบบ่าย, วาระ เช่น รอบสุดท้าย รอบชิงชนะเลิศ; ลักษณนาม เรียกลักษณะที่มาบรรจบกันเป็นต้น เช่น รอบหนึ่ง ๒ รอบ. บ. อาการ ที่เวียนมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์รอบบ้าน เดินรอบตลาด.
  42. รุ่ง : น. ระยะเวลาตอนเริ่มแรกแห่งวัน เช่น รุ่งอรุณ รุ่งเช้า ยันรุ่ง ตลาดโต้รุ่ง, เวลาสว่าง เช่น ใกล้รุ่ง. ว. สว่าง เช่น ฟ้ารุ่ง, อรุณรุ่ง.
  43. เลหลัง : [–หฺลัง] ก. ขายสิ่งของโดยวิธีที่ผู้ต้องการประมูลราคากันให้สูงขึ้น โดยลําดับ ใครให้ราคาสูงสุดก็เป็นผู้ซื้อได้; ขายทอดตลาด. (โปรตุเกส = leilao).
  44. วนเวียน : ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่ ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหา อยู่หลายรอบ.
  45. วาย ๑ : ก. ค่อยสิ้นไปตามคราวหรือกําหนดอายุเวลา เช่น มะม่วงวาย ตลาดวาย หัวใจวาย.
  46. เว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
  47. แวะ : ก. หยุดชั่วคราวระหว่างทาง เช่น แวะตลาดก่อนกลับบ้าน แวะรับส่ง คนโดยสาร.
  48. โว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า.
  49. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  50. ส่องกระจก : ก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง.
  51. [1-50] | 51-54

(0.0169 sec)