Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หวัด , then หวด, หวัด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หวัด, 41 found, display 1-41
  1. หวัด ๒, หวัด : ว. ไม่บรรจง เช่น เขียนหวัด, คร่าว ๆ เช่น ร่างภาพอย่างหวัด ๆ, สะเพร่า, ไม่ตั้งใจทําให้เรียบร้อย, เช่น ทํางานหวัด ๆ.
  2. หวัด : น. อาการที่เยื่อของอวัยวะที่เป็นเครื่องหายใจอักเสบ มักทําให้เสียงแห้ง และนํ้ามูกไหล.
  3. กระหวัด : ก. ตวัด, วัดเข้ามาโดยเร็ว, รัดรึง; ย้อน เช่น เจ้าหวนคิดกระหวัดวน. (พากย์นางลอย).
  4. โกรกหวัด : ก. โกรกหัวโดยใช้น้ำต้มกับหัวหอมและ ใบมะขามเพื่อแก้หวัด.
  5. ไข้หวัด : น. ไข้ที่เป็นในขณะที่เป็นหวัด มีนํ้ามูกและเสมหะมาก บางที ก็ไอด้วย. (อ. common cold, coryza, acute catarrhal rhinitis).
  6. จับหวัด : (โบ) ก. ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอก กระหม่อมแก้หวัด.
  7. เบี้ยหวัด : น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรม วงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด เงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจํา การ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
  8. กระหวัดเกล้า : น. วิธีรําละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน).
  9. ไข้หวัดใหญ่ : น. โรคติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจาก เชื้อไวรัส ผู้ป่วยมีไข้สูงมาก มีอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อและ อ่อนเพลีย. (อ. influenza).
  10. นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ : [นากคะบอริพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  11. ชุ่ย ๑, ชุ่ย ๆ : ว. หวัด ๆ, มักง่าย, ไม่ได้เรื่องได้ราว, เช่น เขียนชุ่ย ๆ ทําชุ่ย ๆ พูดชุ่ย ๆ.
  12. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  13. กระหม่อมบาง : (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกน้ำค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.
  14. กระหมุดกระหมิด : ว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัด กระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  15. กระแหร่ม : [-แหฺร่ม] ก. กระแอม คือ ทําเสียงขึ้นมาจากคอ เช่นเพื่อ มิให้น้ำมูกลงคอเมื่อเป็นหวัด หรือเพื่อให้หายเสลดติดคอ.
  16. กำเดา : น. เลือดที่ออกทางจมูก เรียกว่า เลือดกําเดา. (ข. เกฺดา ว่า ร้อน); แพทย์แผนโบราณเรียกไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัดว่า ไข้กําเดา.
  17. เก่ง : ว. สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคํานวณ เรียนเก่ง, เป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ, มักเป็นเช่นนั้น, เช่น เป็นหวัดเก่ง หลับเก่ง ลืมเก่ง.
  18. ไก่เขี่ย : ว. หวัด, ยุ่งจนเกือบอ่านไม่ออก, (มักใช้แก่ลายมือ).
  19. ขม่อมบาง : (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนขม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อย ก็เป็นหวัด, กระหม่อมบาง ก็ว่า.
  20. เขี่ย : ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือ วาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือ เป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.
  21. ไข้ : น. ความเจ็บป่วย เช่น ไข้จับสั่น ไข้ทรพิษ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่; อาการ ที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดจากระดับปรกติเนื่องจากความเจ็บป่วย. (อ. fever, pyrexia, pyrexy).
  22. ไข้กำเดา : (โบ) น. ไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัด.
  23. เงินปี : (กฎ) น. เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือ ข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสํานัก พระราชวัง, โบราณเรียก เบี้ยหวัดหรือ เบี้ยหวัดเงินปี.
  24. ยาสุมหัว : น. ยาที่ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอก กระหม่อมเด็กแก้หวัด.
  25. ไวรัส : น. เชื้อจุลินทรีย์ที่เล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้อง จุลทรรศน์ธรรมดา ไม่จัดเป็นเซลล์ มีทั้งที่ก่อโรคและไม่ก่อโรค เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่เป็นไวรัสชนิดหนึ่ง. (อ. virus).
  26. สะเพร่า : [เพฺร่า] ว. อาการที่ทําอย่างหวัด ๆ ลวก ๆ, ขาดความรอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขียนหนังสือสะเพร่าตก ๆ หล่น ๆ ล้างแก้วสะเพร่า ไม่สะอาด.
  27. อุตตานภาพ : [อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัด ทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอ ล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).
  28. หวด ๑ : น. ภาชนะอย่างหนึ่งสําหรับนึ่งของ ทำด้วยดินเผา ไม้ไผ่สาน เป็นต้น.
  29. หวด ๒ : ก. ฟาด, ตีแรง ๆ, โบย.
  30. มีดหวด : น. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว ด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า, พร้าหวด ก็เรียก.
  31. ซื่อเหมือนแมวนอนหวด : (สํา) ว. ทําเป็นซื่อ.
  32. กร่ำ ๒ : [กฺร่ำ] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน.
  33. ขวับ ๑, ขวับเขวียว : [ขฺวับ, ขฺวับเขฺวียว] ว. เสียงหวดไม้เรียว.
  34. ตร่ำ : [ตฺรํ่า] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน, กรํ่า ก็ว่า.
  35. นึ่ง : ก. ทําให้สุกหรือร้อนด้วยไอนํ้าร้อนในหวดหรือลังถึงเป็นต้น เช่น นึ่งข้าวเหนียว นึ่งขนม.
  36. พร้า : [พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสําหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสําหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สําหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สําหรับขุดดิน ได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.
  37. ฟาด : ก. หวด, เหวี่ยง, เช่น ฟาดด้วยไม้เรียว ฟาดผ้า จระเข้ฟาดหาง; (ปาก) กินอย่างเต็มที่เช่น ฟาดข้าวเสีย ๓ ชาม.
  38. แหวด : [แหฺวด] น. ชื่อเรือแจวชนิดหนึ่ง มีเก๋งรูปยาว ๆ ท้ายโตและสูง เรียก เรือแหวด.
  39. โหวด ๑ : [โหฺวด] (โบ) น. เครื่องเปิดไอนํ้าให้มีเสียงดังเช่นนั้น. ว. เสียงดังเช่นนั้น อย่างเสียงเปิดโหวด.
  40. โหวด ๒ : [โหฺวด] (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าชนิดหนึ่งของภาคอีสาน.
  41. โหวต : [โหฺวด] (ปาก) ก. ออกเสียงลงคะแนน. (อ. vote).
  42. [1-41]

(0.0622 sec)