Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หวีดร้อง, หวีด, ร้อง , then รอง, ร้อง, หวด, หวิด, หวีด, หวีดร้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หวีดร้อง, 503 found, display 1-50
  1. ร้อง : ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คํา แวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
  2. หวีด : น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังเช่นนั้น เรียกว่า นกหวีด. ว. มีเสียงร้อง ดังเช่นนั้น โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง.
  3. ร้องเพลง : ก. ขับลําเป็นทํานองต่าง ๆ, บางทีก็ใช้ว่า ร้อง คําเดียว.
  4. ร้องงอแง : ก. ร้องอ้อน (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ).
  5. ร้องฎีกา : ก. ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์.
  6. ร้องโยนยาว : ก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพาย เรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
  7. ร้องระเบ็งเซ็งแซ่ : ก. ร้องดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.
  8. ร้องเรือ : (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ก. ขับหรือกล่อมเพลงให้เด็กฟัง. น. เรียกเพลง กล่อมเด็กว่า เพลงร้องเรือ.
  9. ร้องแรก, ร้องแรกแหกกระเชอ : ก. ร้องเอ็ดตะโร, ส่งเสียงโวยวายให้ผู้อื่นรู้.
  10. ร้องส่ง : ก. ร้องเพลงให้เครื่องดนตรีรับ.
  11. ร้องสด : ก. ร้องโดยไม่มีดนตรีรับ, ร้องโดยคิดกลอนด้นหรือกลอนสด, ร้องออกอากาศทันที.
  12. ร้องห่ม : ก. ร้องรํ่าไรอย่างน้อยอกน้อยใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ร้องไห้ เป็น ร้องห่มร้องไห้ หรือ ร้องไห้ร้องห่ม.
  13. ร้องห่มร้องไห้ : ก. ร้องรํ่าไรอย่างน้อยอกน้อยใจ, ร้องไห้ร้องห่ม ก็ว่า.
  14. ร้องกระจองอแง : ก. อาการที่เด็กหลาย ๆ คนร้องไห้พร้อม ๆ กัน.
  15. ร้องทุกข์ : ก. บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ.
  16. ร้องบอก : ก. เปล่งเสียงบอกให้รู้.
  17. ร้องเรียก : ก. เปล่งเสียงเรียกเพื่อให้มาหรือเพื่อมุ่งหมายอย่างอื่น.
  18. ร้องเรียกร้องหา : ก. ต้องการตัว.
  19. ร้องเรียน : ก. เสนอเรื่องราว.
  20. ร้องสอด : (กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาล ด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมาย เรียกให้เข้ามาในคดี.
  21. กระดูกร้องได้ : (สํา) น. ผลสะท้อนของฆาตกรรมที่ทําให้จับตัว ผู้กระทําผิดมาลงโทษได้ คล้ายกับว่ากระดูกของผู้ตายร้องบอก.
  22. ขับร้อง : ก. ร้องเพลง.
  23. ช้างร้อง : น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จุดมีเสียงดังเหมือน เสียงช้างร้อง.
  24. เนื้อร้อง : น. คําประพันธ์สําหรับขับร้อง, คำร้อง บทเพลง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
  25. ป่าวร้อง : ก. ร้องบอกให้รู้ทั่วกัน.
  26. ร่ำร้อง : ก. พร่ำร้องขอ, พูดอยู่บ่อย ๆ, เช่น ลูก ๆ ร่ำร้องจะไปเที่ยวเขาดิน.
  27. เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
  28. ละครร้อง : น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจา ตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตาม สมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
  29. หวิด : ว. เฉียด, จวนเจียน, เกือบ, เช่น หวิดถูกลอตเตอรี่, หวุดหวิด ก็ว่า.
  30. ฟ้องร้อง : ก. กล่าวโทษ, กล่าวหา.
  31. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  32. ซะซิบ : (กลอน) ว. เสียงเช่นเสียงนกเล็ก ๆ ร้อง.
  33. ร้อง : [พฺร้อง] ก. พูด, กล่าว, ร้อง.
  34. ร้องไห้ : ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น เจ็บปวด เศร้าโศก ดีใจ,บางทีใช้ว่า ร้อง คําเดียว หรือใช้เข้าคู่กับคำ ร้องห่ม เป็น ร้องห่มร้องไห้หรือ ร้องไห้ร้องห่ม ก็ได้.
  35. หงิง ๆ : ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
  36. ไห้ : (วรรณ) ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น ไห้รํ่า รักลูกไท้ ไห้บ่รู้กี่ไห้ ลูกแก้วกับตน แม่เอย. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคํา ร้อง เป็น ร้องไห้.
  37. อึ่งยาง, อึ่งอ่าง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาว ประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน ร้อง เสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ ชนิด K. pulchra และอึ่งอ่างหลังขีด (K. mediolineata).
  38. อุแว้ : ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ) เช่น เด็กคนนี้ พออุแว้ออกมาก็มีเงิน เป็นล้านแล้ว, แว้ ก็ว่า. ว. เสียงอย่างเสียงเด็กแดง ๆ ร้อง เช่น เสียงลูกร้องอุแว้, แว้ ก็ว่า.
  39. คดี : [คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคําศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทาง กฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมาย กำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).
  40. ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
  41. ละครเพลง : น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกาย แบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่อง เปลวสุริยา.
  42. อุปกาศ : [อุปะกาด, อุบปะกาด] (กลอน) ก. แจ้งข่าว เรื่อง หรือข้อความ เช่น เขือไปอุปกาศแล้ว เขือมา. (ลอ), ร้องอุปกาศสารแก่กรุงสญชัยปิตุราช. (ม. ร่ายยาว หิมพานต์).
  43. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  44. กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
  45. กบบัว : น. ชื่อกบชนิด Rana erythraea ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว ขนาดเล็กกว่ากบนา มักอาศัยอยู่ตามกอบัว จึงมีผู้เรียกว่า เขียดบัว และร้องเสียงจิ๊ก ๆ บางครั้งจึงเรียกว่า เขียดจิก.
  46. กรรตุสัญญา : [กัดตุ-] น. นามที่เป็นคําร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺ?า = นาม, ชื่อ).
  47. กรรแสง ๑ : [กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระแสง) ก. ส่งเสียงร้อง เช่น เทพฤๅษีสรรเสริญแชรง ชัยชัยรบแรง กรรแสงแลสาธุการา. (สมุทรโฆษ).
  48. กรรโหย : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. โหย, คร่ำครวญ เช่น มีกระเรียนร้องก้อง กรรโหย. (สมุทรโฆษ).
  49. กระกรี๊ด : (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  50. กระเกรียว : (โบ; กลอน) ว. เสียงดังเกรียว ๆ เช่น ก็ร้องกระเกรียวเฉียวฉาว. (สุธน).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-503

(0.1429 sec)