Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, ประเทศไทย, โทรศัพท์, องค์การ, แห่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, 588 found, display 1-50
  1. โทรศัพท์ : น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็น เครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนํา โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอํานาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสําคัญ. (อ. telephone), คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียน ย่อว่า โทร. ออกเสียงว่า [โท]. (ปาก) ก. พูดติดต่อกันทางโทรศัพท์.
  2. แห่ง : น. ที่, มักใช้ซ้อนกับคำอื่น ในคำว่า แห่งหนตำบลใด ตำแหน่งแห่งที่, ลักษณนาม เช่น มีที่ดินอยู่หลายแห่ง. บ. ของ เช่น หอสมุดแห่งชาติ.
  3. องค์การ : น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็น หน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. (อ. organization).
  4. สหภาพแรงงาน : (กฎ) น. องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหา และคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความ สัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน เช่น สหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต.
  5. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  6. องค์การสหประชาชาติ : ดู สหประชาชาติ.
  7. กระทู้ ๒ : น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิก สภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบ เป็นหนังสือ. (อ. question).
  8. ทุนสำรองเงินตรา : (กฎ) น. กองทุนสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยรักษาไว้ เพื่อดํารงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา.
  9. ไทยน้อย : น. ชนชาติไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งมาเป็นไทยแห่งประเทศไทย.
  10. เนตรนารี : น. เด็กหญิงที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้นำในทางความประพฤติ, สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยเด็กหญิง ให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติ และความรับผิดชอบตัวเอง และต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  11. บัตรธนาคาร : (กฎ) น. บัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกใช้เป็น เงินตรา.
  12. ลูกเสือ : น. สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรม บ่มนิสัยเด็กชายให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติและ ความรับผิดชอบตัวเองและต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  13. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
  14. สภา : น. องค์การหรือสถานที่ประชุม เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาสตรี แห่งชาติ สภามหาวิทยาลัย วุฒิสภา. (ป., ส.).
  15. สมัช, สมัชชา : [สะมัด] น. การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ไปร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติ; ที่ประชุม เช่น สมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติ. (ป.).
  16. สันนิบาตเทศบาล : น. องค์กรของเทศบาลทั่วประเทศรวมทั้งเทศบาล เมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายช่วย เหลือสนับสนุน และติดต่อประสานงานเทศบาลทั่วประเทศ โดยไม่มี จุดประสงค์ทางการเมือง เรียกว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย.
  17. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  18. อารยธรรม : น. ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง ศีลธรรม และกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี.
  19. กฎแห่งกรรม : น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรม ที่ผู้กระทําจักต้องได้รับ.
  20. คู่สายโทรศัพท์ : น. สายที่ใช้ประกอบการสื่อสารทางโทรศัพท์ ๒ เส้น ต่อจากห้องเครื่องชุมสายโทรศัพท์ไปยังบ้านผู้ใช้โทรศัพท์, คู่สาย ก็ว่า.
  21. ชุมสายโทรศัพท์ : น. ศูนย์กลางคู่สายโทรศัพท์ และเป็นที่ ที่สายโทรศัพท์หมายเลขต่าง ๆ เชื่อมติดต่อกัน.
  22. ต่อโทรศัพท์ : ก. เดินสายเพื่อติดตั้งโทรศัพท์; ติดต่อสื่อสารโดยการหมุนหรือกด เลขหมายบนหน้าปัดเครื่องโทรศัพท์.
  23. ใน : บ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ, เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).
  24. ป่าสงวนแห่งชาติ : (กฎ) น. ป่าที่กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น.
  25. รับโทรศัพท์ : ก. รับการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์.
  26. วิทยุโทรศัพท์ : น. การเรียกติดต่อโทรศัพท์โดยใช้คลื่นวิทยุ.
  27. แหล่ง : [แหฺล่ง] น. ถิ่น, ที่อยู่, บริเวณ, ศูนย์รวม, บ่อเกิด, แห่ง, ที่.
  28. อุทยานแห่งชาติ : (กฎ) น. พื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ได้สงวน รักษาไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม เพื่อให้เป็นประโยชน์ แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกา ประกาศกําหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วย อุทยานแห่งชาติ.
  29. ทุกหนทุกแห่ง, ทุกแห่ง : ว. ทุกที่ทุกทาง, ทุกตําบล.
  30. สหภาพ : น. การรวมตัวขององค์การตั้งแต่ ๒ องค์การขึ้นไป เพื่อทํา กิจการทั่วไปหรือกิจการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหภาพศุลกากร สหภาพรัฐสภา; ชื่อรูปแบบหนึ่ง ของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า; องค์การ ของลูกจ้าง เช่น สหภาพแรงงาน. (อ. union).
  31. ของ : น. สิ่งต่าง ๆ. บ. แห่ง (ใช้สําหรับนําหน้านามที่เป็นผู้ครอบครอง).
  32. คอคอด : น. แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน ตรงที่ กิ่วคอดจะเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่าง แผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดกระ.
  33. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  34. จิตรลดาวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. จิตฺตลตาวน).
  35. ฉพีสติม- : [ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่ง เดือนสุริยคติ). (ป.).
  36. ณ ๒ : [นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคําบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้ นําหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.
  37. ดุกลำพัน : น. ชื่อปลาชนิด Prophagorus nieuhofii ในวงศ์ Clariidae ครึ่งบน ของลําตัวมีจุดสีขาวเรียงอยู่ในแนวตั้ง ๑๓-๒๐ แถว พบทางภาคใต้ของ ประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร.
  38. นันทวัน : [นันทะ] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. นนฺทวน).
  39. บู่ : น. ชื่อปลาจําพวกหนึ่งในหลายสกุลและหลายวงศ์ มีตั้งแต่ขนาด เล็กจนถึงขนาดใหญ่ ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก รูปร่าง ลักษณะ สีสัน ถิ่นอาศัย พฤติกรรมและขนาดแตกต่างกัน มีทั้งใน ทะเล นํ้ากร่อยและนํ้าจืด เช่น บู่จาก หรือ บู่ทราย (Oxyeleotris marmorata) ในวงศ์ Eleotridae ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย คือมีขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, บู่ทอง บู่หิน บู่ทราย หรือ บู่ลูกทราย (Glossogobius spp.) ในวงศ์ Gobiidae, บู่รําไพ (Vaimosa rambaiae) และ บู่ทะเล หรือ บู่ขาว (Acentrogobius caninus).
  40. โบนัส : น. เงินพิเศษที่รัฐวิสาหกิจ องค์การ บริษัท ห้างร้าน เป็นต้น จ่ายให้ เป็นบําเหน็จรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตน นอกเหนือจาก เงินเดือนค่าจ้าง, เงินที่ให้เป็นส่วนแบ่งพิเศษแก่ผู้ถือหุ้น. (อ. bonus).
  41. ปรนิมมิตวสวัตดี : [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่ง สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุ มหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.
  42. ปารุสกวัน : [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
  43. มิสกวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. มิสฺสกวน; ส. มิศฺรกวน); ป่าที่มีไม้ต่าง ๆ ระคนกัน.
  44. แม่ม่ายลองไน : น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีลําตัวและปีกสีฉูดฉาด เช่น ดํา ขาว เหลือง หรือส้ม สีเหล่านี้เป็นลายหรือเป็นแถบพาดตามหัว ลําตัว หรือปีก มีอวัยวะทําเสียงซึ่ง เสียงจะเป็นเสียงห้าว ก้องกังวานได้ยินไปไกล ๆ มีหลายชนิด ชนิดที่โตที่สุดใน ประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera, ลองไน ก็เรียก.
  45. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  46. ลีซอ : น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของ ประเทศไทย.
  47. สถานี : [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุง ของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการ ปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทาง ขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อ ปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานี ออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มี หน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
  48. สมาชิก ๑ : [สะมา] น. ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือกิจกรรม ใด ๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสมาคมศิษย์เก่า สมาชิก วารสาร, (ปาก) ลูกค้า, ขาประจำ, เช่น หมู่นี้สมาชิกไม่ค่อยมาอุดหนุน ที่ร้านเลย. (ป., ส.).
  49. สยามรัฐ : [สะหฺยามมะ] น. แคว้นไทย, ประเทศไทย.
  50. สหประชาชาติ : (กฎ) น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็น ทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แทนสันนิบาตชาติตามมติของที่ประชุมผู้แทนประเทศ ๕๐ ประเทศ ในการประชุมใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมี วัตถุประสงค์สําคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจาก สนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การ สหประชาชาติ (United Nations Organization).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-588

(0.0425 sec)