อั้น : ก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กําหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กําหนดจํานวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้น ทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่ กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.
อั้นตั้น : ว. อ้วนเตี้ย.
อั้นตู้, อั้นอ้น : ว. นิ่งอึ้ง, อํ้าอึ้ง, จนปัญญา, คิดไม่ออก.
อน :
[อะนะ] เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์ บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ๒ประกอบ).
อัดอั้น, อัดอั้นตันใจ : ก. เก็บอัดความรู้สึกแน่นอยู่ในใจ เพราะไม่ สามารถพูดหรือกระทำตามต้องการได้เนื่องจากอยู่ในภาวะจำทน.
กลั้นใจ : ก. อั้นลมหายใจ.
กลุ้ม : [กฺลุ้ม] ก. รวมประดังคับคั่ง เช่น พูดกันกลุ้ม, ปกคลุมอยู่ทําให้มืดคลุ้ม เช่น ควันกลุ้ม เมฆกลุ้ม; รู้สึกอัดอั้นยุ่งใจ เช่น คิดไม่ออกกลุ้มเหลือเกิน; ชุลมุน, ขวักไขว่, เช่น วิ่งกันให้กลุ้ม.
คอแข็ง : ว. อาการที่นิ่งอั้นเพราะเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น; ทนต่อรสอันเข้ม หรือรุนแรงของเหล้าได้, ตรงข้ามกับ คออ่อน.
คั่งแค้น : ก. โกรธอัดอั้นอยู่ในใจ.
คับใจ, คับอกคับใจ : ก. อึดอัดใจ, รู้สึกอัดอั้นตันใจ, รู้สึกคับแค้นอยู่ในอกในใจ.
อกแตก : ว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลํานํ้าหรือทางผ่า กลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความ รู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คําพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจ เป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
อ้ำอึ้ง : ก. นิ่งอั้นไม่ยอมพูด, พูดไม่ออกด้วยจนใจหรือจนปัญญา, ไม่รู้จะพูดอะไร.
อึ้ง : ว. นิ่งอั้นอยู่.
อึด : ก. ทน, อดกลั้น, อั้นไว้.
อุ่น : ก. ทําให้ร้อน เช่น อุ่นแกง. ว. ค่อนข้างร้อน เช่น ตัวอุ่น, ไม่ร้อนนักไม่หนาวนัก เช่น อากาศอุ่น, อุ่น ๆ ก็ว่า.
อื่น : ว. นอกออกไป, ต่างออกไป.
เอ้แอ่น, เอ้ ๆ แอ่น ๆ : ก. ทําให้เสียเวลา, ทําชักช้า, ทําจริตกิริยาโอ้เอ้; อาการที่ยืนโอนไป โอนมา เอนไปเอนมา หรือ เดินถอยหน้าถอยหลัง.
แอ่น : ก. ทําให้โค้งหรือนูนจากแนวหรือระดับ เช่น แอ่นอก. ว. ลักษณะ ของสิ่งที่โค้งหรือนูนจากแนวหรือระดับ เช่น อกแอ่น สะพานแอ่น.
อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
กบูร : [กะบูน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนม อนนกบูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), คํานี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร.
กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
กษิดิ, กษีดิ : [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์).
กำเนียจ : [กำเหฺนียด] ว. เกียจ, คด, ไม่ซื่อ, โกง; คร้าน; (โบ) เขียนเป็น กำนยจ ก็มี เช่น อนนว่าพระโพธิสัตว์ก็ใส่กลกล่าว กํานยจกยจแก่นางพญาด่งงนี้. (ม. คําหลวง กุมาร).
แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
ฉาทนะ : [ฉาทะนะ] น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกําบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
ช้า ๓ : น. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละคร อื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
ตระดาษ : [ตฺระ-] (กลอน) ว. ขาว, เผือก, เช่น อนนขาวตระดาษดุจสังข์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
นิรมาณกาย : [ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่าเป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.
ปร- : [ปะระ-, ปอระ-] ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).
ปรอท : [ปะหฺรอด] น. ธาตุลําดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖?ซ. เดือดที่ ๓๕๗?ซ. ใช้ ประโยชน์นําไปทําเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทําเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury); (ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).
ประปา : น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).
ปิโตรเลียม : น. นํ้ามันดิบ ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์ อื่น ๆ อีกมาก องค์ประกอบไม่แน่นอนแล้วแต่แหล่งที่พบ. (อ. petroleum).
ผงขาว : น. ยาเสพติดร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบส่วนใหญ่ เป็นสารประเภทแอลคาลอยด์ คือ มอร์ฟีน เฮโรอีน และแอลคาลอยด์ อื่น ๆ ที่ได้จากฝิ่น ลักษณะเป็นของแข็ง เมื่อทําให้ร้อนจะแปร สภาพเป็นไอ.
พะโล้ : น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศ อื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจน น้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรส หวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้.
เพชร, เพชร : [เพ็ด, เพ็ดชะ] น. ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่าพลอย อื่น ๆ ใช้ทําเครื่องประดับหรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม; โดยปริยายหมายความว่า แข็งที่สุด เช่น เหล็กเพชร ใจเพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
มะกะโรนี : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําจากแป้งสาลีเป็นเส้นกลวงยาวหรือเป็นรูป อื่น ๆ เวลาจะนํามาปรุงต้องต้มให้สุก มักใช้ผัดหรือทำแกงจืด, มักกะโรนี ก็เรียก. (อ. macaroni).
มักกะโรนี : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีเป็นเส้นกลวงยาวหรือเป็นรูป อื่น ๆ เวลาจะนำมาปรุงต้องต้มให้สุก มักใช้ผัดหรือทำแกงจืด, มะกะโรนี ก็เรียก. (อ. macaroni).
ยาหม้อ : น. ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยา อื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค.
เรไร ๑ : น. ชื่อจักจั่นสีนํ้าตาลหลายชนิดในสกุล Pomponia, Tosena และสกุล อื่น ๆ ในวงศ์ Cicadidae ส่วนใหญ่ตัวค่อนข้างโต ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษ ทําให้เกิดเสียงสูงและตํ่ามีกังวานสลับกันไปได้หลายระดับ ชนิดที่โต ที่สุดซึ่งพบได้ง่ายในประเทศไทย คือ ชนิด P. intermedia.
ไร่ : น. ที่ปลูกพืชและต้นไม้บนไหล่เขาหรือในที่ดอน, พื้นที่ราบที่ใช้ปลูกพืช อื่น ๆ นอกจากข้าว เช่น ไร่ฝ้าย ไร่องุ่น ไร่แตงโม; จํานวนเนื้อที่ ๔ งาน หรือ ๔๐๐ ตารางวา หรือ ๑,๖๐๐ ตารางเมตร.
ศ : พยัญชนะตัวที่ ๓๘ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และเป็นตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษา อื่น เช่น ศาลา อากาศไอศกรีม วงศ์.
อนัญคติ : [อะนันยะคะติ] น. หนทางเดียว; ความจําเป็น. (ป. อน?ฺ?คติ).
อนัญสาธารณ์ : [อะนันยะสาทาน] ว. เป็นพิเศษไม่ทั่วไปแก่คนอื่น. (ป. อน?ฺ?สาธารณ).
อนัญ, อนัญ : [อะนัน, อะนันยะ] ว. ไม่ใช่อื่น. (ป. อน?ฺ?).
อัญ, อัญญะ : [อันยะ] ว. อื่น, ต่างไป, แปลกไป. (ป. อญฺ?; ส. อนฺย).
อันตร : [อันตะระ] น. ช่อง. ว. ภายใน, ชั้นใน; ใกล้เคียง, เกือบ; ระหว่าง; อื่น, ต่างไป. (ป., ส.).
ไอ้ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่าง นายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความ สนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คําใช้ประกอบหน้าชื่อ ผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคําบางคําที่ ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความ เอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คํา ประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อ เน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คําใช้แทนสิ่งที่ กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.