อิดโรย : ก. อ่อนเพลีย, ละเหี่ย.
มลาน ๑ : [มะลาน] ว. เหี่ยว, แห้ง; อ่อน, อิดโรย; ตาย; โศกเศร้า, หมอง. (ส. มฺลาน).
มิลาต : ว. เหี่ยว, โรย; อิดโรย, เมื่อย. (ป.).
ละเหี่ย : ก. อ่อนใจ, อิดโรย, เช่น กินยาลมแก้ใจละเหี่ย, ละเหี่ยใจ ก็ว่า.
กระอิด : (กลอน) ว. อิดโรย เช่น อกกระอิดกว่าชื่นแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
เหนื่อย : ก. รู้สึกอ่อนแรงลง, อิดโรย.
ฉาตกภัย : [ฉาตะกะไพ] น. ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง, ภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง. (ป. ฉาต, ฉาตก, ว่า หิว, อิดโรยเพราะการอดอาหาร).
ระโหย : ก. อิดโรยเพราะหิวหรืออดนอนเป็นต้น.
โรย : ก. อาการที่ดอกไม้ค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรย ดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อย ๆ หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย เกสรบัวโรย; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นเพราะอดนอน หรือเพิ่งหายไข้เป็นต้น เช่น หน้าตายังโรยอยู่ อดนอนตาโรย; หย่อน กำลัง, เพลีย, ในคำว่า อิดโรย; ค่อย ๆ ผ่อนลง เช่น โรยเชือก โรยอวน; ค่อย ๆ โปรยลงไป, โปรยลงไปทีละน้อย, เช่น เอาแป้งโรยตัว โรย อาหารให้ปลา โรยพริกไทย โรยผักชี.
หน้าเซียว : ว. มีสีหน้าแสดงความอิดโรยไม่สดใสเพราะอดนอนมาก เป็นต้น.
หย็องกรอด : [หฺย็องกฺรอด] ว. ซูบผอมมีท่าทางคล้ายคนอิดโรย.
โหลเหล : [-เหฺล] ว. ดูซูบซีดอิดโรย เช่น หน้าตาโหลเหล.